คำอำนวนพร 16 กุมภาพันธ์ 2565

** ชีวิตคือแม่น้ำยาวสายหนึ่ง บรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นมักมีผลลัพธ์ที่ดีเสมอ ในที่นี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการมีคุณธรรม คิดดี พูดดี และทำดีย่อมนำสู่ผลที่ดีงามแน่นอน ชะตาชีวิตของคนเราได้รับผลกระทบที่แตกต่างกันของยีนพันธุกรรม สภาพแวดล้อมทั้งก่อนและหลังกำเนิด ก่อเกิดเป็นสนามพลังงานแม่เหล็กของตนเอง แม้สนามพลังงานนี้จะไร้รูปลักษณ์ แต่สามารถกำหนดชะตากรรมของคนให้ “อยู่ดี” และ “ไปดี” ได้ นี่คือแก่นแท้ที่ผู้ฝึกฝนหลอมหล่อต่างแสวงหามานับพันปี ความเร้นลับในนี้คือการ “รู้รักษาชีวิต” ผู้ปฏิบัติตามเต๋าจะรักษาความอ่อนนุ่ม ผู้ที่รักษาความอ่อนนุ่มจะมีพลังชีวิตยืนยาว
คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์
จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 49 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์
[การให้อภัยผู้อื่น คือกระบวนการเปลี่ยนส่วนตนไปเป็นส่วนรวม]
ประเด็นที่ 3 การให้อภัยผู้อื่น คือกระบวนการเปลี่ยนส่วนตนไปเป็นส่วนรวม
3.1 อริยบุคคลเปลี่ยนความปรารถนาตามความต้องการของมวลชน ดังนั้น จึงปฏิบัติดี เชื่อถือ และสอนประชาชนได้
“เปลี่ยนความปรารถนา” คือคุณสมบัติตามธรรมชาติของเต๋าที่ยิ่งใหญ่ “จิตแห่งอริยบุคคล” คือ “ตามความต้องการของมวลชน”
คำว่า “เปลี่ยนความปรารถนา” หมายถึง ไม่มีรูปแบบการคิด ปรับตัวรับสิ่งที่เข้ามา ปล่อยวางสิ่งที่ผ่านไป รักษาความว่างเปล่าบริสุทธิ์ไว้ตลอดเวลา ในจักรวาล ความเป็นความตาย ความสำเร็จ ความล้มเหลว การรวบรวม การกระจาย การจาก และกลับมาพร้อมหน้ากัน ทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง นี่คือการ “เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน” สิ่งเดียวที่คงที่แน่นอนคือเต๋า ซึ่งดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ มีความกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมไปทุกที่ เล็กและละเอียดจนเข้าถึงได้ทุกหนทุกแห่ง นี่คือการ “ไม่เปลี่ยนแปลง”
การเปลี่ยนความปรารถนาหรือจิตที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนนี้ คือภูมิปัญญาสูงสุด ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ทำงานได้ ในชีวิตคนเรา มีเพียงผู้ที่ทำจิตให้สงบและเก็บอารมณ์ไว้ได้ จิตใจจึงไม่เฉื่อยชา มองเห็นความจริงชัดเจน จัดการความสัมพันธ์ได้ราบรื่น และเลือกสรรได้ถูกต้องทุกครั้ง บนเส้นทางชีวิต สิ่งสำคัญที่สุดมิใช่การมองเห็นผู้อื่นได้ชัดเจน แต่เป็นการมองเห็นตนเองชัดเจน จึงจะสามารถพบตนเองที่ดียิ่งขึ้นได้
คำว่า “ตามความต้องการของมวลชน” หมายถึง การปกครองทั่วหล้าด้วยจิตใจที่เปลี่ยนความปรารถนาได้ เคารพยำเกรงทุกสิ่ง นำพาทุกคนเดินสู่วิถีทางที่ถูกต้องอย่างเงียบ ๆ อันที่จริง อริยบุคคลก็เป็นคน เขามีอารมณ์ มีอุปนิสัย และมีจุดอ่อนเช่นเดียวกับมนุษย์ทั่วไป แต่เขารู้ว่าจะอยู่ร่วมกับจุดอ่อนอย่างไร และสามารถปล่อยวางความต้องการส่วนตนได้ อยู่ร่วมกับทั่วหล้าอย่างเข้าอกเข้าใจ ดำเนินวิถีการก่อเกิดและเจริญเติบโต อริยบุคคลมีวิธีการอยู่ 3 ประการดังนี้
1) จิตแห่งการปฏิบัติดีต่อมวลชน ผู้อื่นไม่ดี เป็นเรื่องของเขา ฉันปฏิบัติดีต่อผู้อื่น เป็นเรื่องของฉัน ทุกคนต่างรับผลกรรมของแต่ละคน อริยบุคคลจะไม่ฝืนใจเสแสร้งทำดีต่อผู้อื่น การที่เขาทำได้ เป็นเพราะเขาบรรลุถึงสภาวะนั้นแล้ว การปฏิบัติดีต่อผู้อื่นคือความต้องการและสัญชาตญาณของเขา
2) จิตแห่งการเชื่อถือมวลชน ไม่ว่าผู้อื่นจะมีสัจจะหรือไม่ก็ล้วนเชื่อถือเขา การเชื่อถือผู้อื่นเป็นความสามารถอย่างหนึ่ง เพราะเบื้องหลังการเชื่อถือผู้อื่นคือความเชื่อมั่นต่อตนเอง อันที่จริง มิใช่การเชื่อผู้อื่น แต่เป็นความกล้าต่อการเชื่อมั่นในตนเองและกฎแห่งกรรม กฎแห่งกรรมคือกฎพื้นฐานของจักรวาล กฎหมายในวิถีของมนุษย์คือการแสดงออกของกฎแห่งกรรม ผู้ใดทำผิดกฎหมาย ผู้นั้นต้องรับผิดชอบ วิถีธรรมชาติก็เช่นเดียวกัน ใครเพาะเหตุปัจจัย ผู้นั้นย่อมได้รับผลตอบสนอง การศึกษาเต๋ามิใช่การศึกษาสิ่งปาฏิหาริย์ แต่เป็นการเรียนรู้กฎแห่งกรรม การฝึกปฏิบัติ มิใช่การฝึกฝนให้มีความงมงาย แต่เป็นการฝึกฝนให้เกิดภูมิปัญญา
3) จิตแห่งการสอนประชาชน การให้การศึกษาคือการไม่ละทิ้งสัญชาตญาณเดิม โดยอาศัยการระงับความทะยานอยากของตนมาลดความทะยานอยากของทุกคน เต๋าคือ “วัตถุ” “บทบาท” ที่เกิดจากการปฏิบัติตามเต๋าคือ “คุณธรรม” อริยบุคคลสอนโดยใช้การขัดเกลาคุณสมบัติของตนให้เป็นอัตลักษณ์ พลังนี้เหนือกว่าทุกพลังในโลก ไม่จำเป็นต้องเอ่ยวาจา ก็สามารถทำให้คนเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตนเองได้โดยไม่รู้ตัว
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565
(เผยแพร่วันที่ 1472)
* * *
** 生命是一条长河,所有发生都会有一个好的结局,前提是只要有善德、善信、善言、善行,就一定会有善果。人的命运受先天和后天的共同影响形成了自身的能量场。能量场虽然无形无相,但产生的作用将决定一个人的走好与活好,这是千百年来所有修炼者追求的核心。其中的奥秘就是“善摄生”:善为道者,永保柔弱;常柔弱者,永保生机。
早安!* * *
16包容他人,就是化小我为大我的过程
《道德经》第49章分享暨播种月祝福》连载16
第三层面,包容他人,就是化小我为大我的过程。
七、圣人无常心,所以能善待、相信和教化百姓心。
“无常心”是大道的自然属性,“圣人心”则是“以百姓心为心”。
所谓“无常心”表示没有思维定势,物来则应,物去不留,始终保持空灵清澈。宇宙中,生死成败、聚散离合,一切都是变化的,这就是“无常”;唯一恒定的是道,它永恒存在,广大到无所不覆,精微到无所不至,这就是“常”。
无常心是极高的智慧,是可以激发出来的。人生中,只有那些能静得下心、稳得住情绪的人,才能心无凝滞,看清真相,理顺关系,每次都作出正确选择。人生路上,最重要的不是看清别人,而是看清自己,这样才能遇见更好的自己。
所谓“以百姓心为心”,就是用无常心治理天下、敬畏一切,在无声无息中引导大家走上正道。其实,圣人也是人,他有脾气和个性,也有人类共有的弱点,只不过他懂得如何与弱点共存,能把私欲放下,将心比心地与天下相处,行化育之道。圣人有三个方法:
第一,善待百姓心。他人不好,是他的事;我善待他人,是我的事,各人承担各人的因果。圣人不会憋着委屈去假意善待,他能做到,是因为他已经达到了那个境界,善待别人是他自己的需要和本能。
第二,相信百姓心。无论他人有没有信用,都相信他。相信别人是一种能力,因为信他的背后是自信。实际上,不是去相信别人,而是敢相信自己、相信因果。因果律是宇宙的基本法,人道上的法律就是因果的体现,谁犯法,谁担责;天道也一样,谁种因,谁受报。学道不是学神奇,而是学因果;修行,不是修迷信,而是修智慧。
再次,教化百姓心。教化就是不离本性,通过熄灭自己的欲望来降服大家的欲望。道是“体”,道行所发生的“用”,就是“德”。圣人的教化,是通过顺道而行来亮化自身品质,这股力量远超世间一切力量,甚至无需言语,就能让人在不知不觉中自化自育。
赵妙果,2022年2月16日,第1472天