คำอำนวยพร 10 กุมภาพันธ์ 2565

** การเชื่อถือผู้อื่นคือความสามารถอย่างหนึ่ง เพราะเบื้องหลังการเชื่อถือผู้อื่นคือความเชื่อมั่นในตนเอง แท้จริงแล้วมิใช่การเชื่อผู้อื่น แต่เป็นการกล้าเชื่อตนเองและกฎแห่งกรรม กฎแห่งกรรมคือกฎพื้นฐานของจักรวาล กฎหมายในวิถีของมนุษย์คือการแสดงออกของกฎแห่งกรรม ผู้ใดทำผิดกฎหมาย ผู้นั้นต้องรับผิดชอบ วิถีธรรมชาติก็เช่นเดียวกัน ใครเพาะเหตุปัจจัย ผู้นั้นย่อมได้รับผลตอบสนอง การศึกษาเต๋ามิใช่การศึกษาสิ่งปาฏิหาริย์ แต่เป็นการเรียนรู้กฎแห่งกรรม การฝึกปฏิบัติ มิใช่การฝึกฝนให้มีความงมงาย แต่เป็นการฝึกฝนให้เกิดภูมิปัญญา
คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์
จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 49 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์
[อริยบุคคลมีโลกุตรจิต ทั้งยังมีโลกิยปัญญา]
ประเด็นที่ 1 อริยบุคคลมิได้มีเพียงโลกุตรจิต ยังมีโลกิยปัญญาด้วย
1.1 เต๋าคือ ขั้นท้ายสุดของ “ความปรารถนา”
อริยบุคคลเปลี่ยนความปรารถนาตามความต้องการของมวลชน
คำว่า “ความปรารถนา” ที่ท่านเหลาจื่อกล่าวในประโยคที่ว่า “อริยบุคคลเปลี่ยนความปรารถนาตามความต้องการของมวลชน” มีความหมายแฝง 3 ด้าน ได้แก่
1) ประสาทสัมผัส อันได้แก่ ความปรารถนาของตา หู จมูก ลิ้น และกาย
2) อารมณ์ความรู้สึก อันได้แก่ ความดีใจ โกรธ เศร้าโศก กังวล ครุ่นคิด หวาดกลัว และตกใจ
3) จิตวิญญาณ หมายถึง ความคิดและจิตสำนึก ตลอดจนจิตใต้สำนึก
คัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” กล่าวถึงเฉพาะกฎและความเป็นจริง ท่านเหลาจื่อกล่าวถึงการก่อเกิดและเจริญเติบโตของจักรวาลไว้ในบทที่ 42 ว่า “เต๋าให้กำเนิดหนึ่ง หนึ่งให้กำเนิดสอง สองให้กำเนิดสาม สามให้กำเนิดสรรพสิ่ง” พื้นฐานของความยั่งยืนคือ “สรรพสิ่งประกอบด้วยหยินและหยาง หยินและหยางประสานเกิดสมดุล” จะเห็นได้ว่า เต๋าคือต้นกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งยังเป็นขั้นท้ายสุดของ “ความปรารถนา” อีกด้วย จิตคือนายของเทพ หากฟ้าดินไร้เต๋า ทั่วหล้าจะวุ่นวาย หากสังคมไร้เต๋า จะเกิดความแตกแยก ทำนองเดียวกัน หากมนุษย์ไร้เต๋า จะขาดความจริงใจ สูญเสียต้นธาร และไม่มีพลัง
ใจความสำคัญของคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” คือการฝึกฝนจิตใจ “หลักธรรมทางใจ” ในการศึกษาประยุกต์ใช้ล้วนอยู่ในระดับที่ 3 ซึ่งอยู่เหนือประสาทสัมผัสและอารมณ์ความรู้สึก “ความปรารถนา” นี้หมายถึง เต๋าที่เคลื่อนไหวอยู่ท่ามกลางส่วนทั้งหมด ความรักที่ยิ่งใหญ่ และจิตสำนึกของส่วนรวม นี่คือ “ความปรารถนา” ที่อยู่ในระดับท้ายสุด
มนุษย์คือส่วนประกอบของร่างกายที่มีรูปกับจิตวิญญาณที่ไร้รูป “กายใจแข็งแรง” คือพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง โดยร่างกายต้องไร้โรค และยิ่งจิตใจต้องสงบนิ่ง คนเราต่างมีโลกของตน อาทิ ร่างกาย ครอบครัว ธุรกิจการงานและชีวิต เป็นต้น ทุกสิ่งนี้ได้รับการคุ้มครองจากฉันและเกิดขึ้นจากฉัน ทั้งยังฝากฝังต่อฉัน จึงล้วนเป็นโลกของฉัน คนเราต้องมีความสามารถในการปกครองโลกของตนให้ดี
ทั่วหล้าเปรียบเสมือนน้ำ น้ำสามารถรองรับและจมเรือได้ มีเพียงผู้ที่ครองใจประชาชนได้เท่านั้น จึงจะปกครองทั่วหล้าได้ ประโยคที่ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า “เปลี่ยนความปรารถนาตามความต้องการของมวลชน” คือการยึดถือประชาชนเป็นพื้นฐาน ทำเพื่อความสุขของประชาชน แต่นี่มิใช่การสนองความพอใจหรือเอาใจข้อเรียกร้องทุกอย่างโดยง่ายดาย ประเด็นสำคัญยังคงอยู่ที่คำว่า “ความปรารถนา” กล่าวคือ ต้องปลุกจิตแห่งเต๋าในใจของผู้คนให้ตื่นขึ้น กระตุ้นให้จิตเพื่อส่วนรวมทำงาน เมื่อจิตใจของประชาชนได้รับการฟื้นฟูสู่ความเรียบง่ายและดีงาม สังคมย่อมเจริญรุ่งเรือง ทั่วหล้าอยู่เย็นเป็นสุขเองตามธรรมชาติ
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565
(เผยแพร่วันที่ 1466)
* * *
** 相信别人是一种能力,因为信他的背后是自信。实际上,不是去相信别人,而是敢相信自己、相信因果。因果律是宇宙的基本法,人道上的法律就是因果的体现,谁犯法,谁担责;天道也一样,谁种因,谁受报。学道不是学神奇,而是学因果;修行,不是修迷信,而是修智慧。早安!
早安!* * *
10 圣人有出世的心胸,还有入世的智慧
《道德经》第49章分享暨播种月祝福》连载10
第一层面,圣人不但有出世的心胸,还有入世的智慧。
一、道是最终层面上的“心”。
圣人无常心,以百姓心为心。
老子说“圣人无常心,以百姓心为心”里的“心”有三个层面的含义:
第一是指感官,即眼耳鼻舌身层面的心;
第二是指情感,即喜怒忧思悲恐惊层面的心;
第三是指心灵,即思想与意识,乃至潜意识层面的心。
《道德经》只讲规律,讲真相。老子在第四十二章中说,宇宙化生的过程是“道生一,一生二,二生三,三生万物”,天长地久的基础是“万物负阴而抱阳,冲气以为和”。由此可知,道是一切的源头,也是最终层面上的“心”。心乃神之主,天地若没有道,将乾坤淆乱;社会若没有道,将分崩离析;同样,人若没有道,也就丢了真心,失了本源,没了力量。
《道德经》的核心是修心,学用中的“心法”都处于超越感官与情感的第三层面,这个“心”就是指能在整体中、在长情大爱中、在集体意识中运行的道,这就是那个最终层面上的“心”。
人类是有形身体与无形心灵的组合,身心健康是一切的基础,既需要肉体无病,更需要精神安宁。人都有自己的天下,身体、家庭、事业、人生等,所有受我庇护、因我而生、托我而起的,都是我的天下。人,一定要有治理好天下的本事。
天下如水,水能载舟,亦能覆舟,只有得民心者才能得天下。老子说的“以百姓心为心”,就是以民为本,为民谋福。但这不是简单地满足或迎合一切要求,其重点还是一个“心”字,也就是要让人人心中的道心被唤醒,公心被激活。当百姓心恢复淳朴善良,社会必然繁荣,天下必然大治。
赵妙果,2022年2月10日,第1466天