top of page

คำอำนวยพร 12 ตุลาคม 2564


** เป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือ  มีชีวิตที่ดี  และจากไปด้วยดี  การจากไปด้วยดีคือวิชาบังคับที่สำคัญที่สุดของมนุษย์!  ในชีวิตประจำวัน  มักมีคนกระตือรือร้นทำการกุศล  เป็นอาสาสมัคร  และทำความดี  แต่สุดท้ายกลับไร้ประโยชน์!  เพราะเหตุใด?  การทำความดีมิใช่การสั่งสมคุณธรรมหรอกหรือ  จะไม่มีประโยชน์ได้อย่างไรเล่า?  เราต้องรู้ว่า   ความเร้นลับของแก่นแท้แห่งชีวิตคืออะไร?  ความเร้นลับนี้ก็คือ  เมื่อเราทำความดีเพื่อทุกคนในสังคม  แต่ในใจกลับไม่มีความคิดเรื่องการ "ทำความดี"  จึงจะเป็นการสั่งสมคุณธรรม  ในทางกลับกัน  ทันทีที่ในใจมีความคิดว่า "ฉันกำลังทำความดี"  ความคิดนี้ทำให้คุณงามความดีรั่วไหลไปหมดแล้ว  ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการสั่งสมคุณธรรม  ดังนั้น  สิ่งสำคัญที่สุดมิใช่รูปแบบ  แต่เป็นความคิด ณ ขณะนั้นในจิตใจ!


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 45 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเกิดใหม่


[“หลักแหลมมากคล้ายโง่งม” คือระเบียบการเคลื่อนไหวและพัฒนาของสรรพสิ่งทั่วหล้า]


2.3 “หลักแหลมมากคล้ายโง่งม” คือระเบียบการเคลื่อนไหวและพัฒนาของสรรพสิ่งทั่วหล้า


“หลักแหลมมากคล้ายโง่งม” ที่ท่านเหลาจื่อกล่าว คือระเบียบการเคลื่อนไหวและพัฒนาของสรรพสิ่งและทุกชีวิตในโลก อันที่จริง นี่คือลักษณะของเต๋า ท่านลองดูว่า สรรพสิ่งทั่วหล้ามีรูปลักษณ์มากมายนับพันหมื่น ต่างก็มีพรสวรรค์ที่แตกต่างกันไป นั่น ล้วนเป็นการเกิดขึ้นโดยรวมตัวกันตามเหตุปัจจัยโดยไม่ได้ตั้งใจ


ขอยกตัวอย่าง ตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดจนโตเป็นผู้ใหญ่ จากนั้นเข้าสู่วัยชราและตายไป การเกิดแก่เจ็บตายคือกระบวนการที่ทุกคนต้องผ่าน แม้ร่างกายที่มีรูปของมนุษย์จะสลายไป แต่การถ่ายทอดพันธุกรรมของยีนกลับใช้รูปแบบอันมหัศจรรย์ ทำให้สื่อข้อมูลชีวิตของเราสืบทอดต่อไปยังรุ่นต่อไปได้ เมื่อกล่าวจากมุมมองนี้ อันที่จริง เรามิได้ตายไป นอกจากนั้น กระบวนการนี้ยังเกิดขึ้นเป็นวัฏจักรอยู่ตลอด เป็นกฎคงที่ของธรรมชาติ ซึ่งไม่อาจฉวยโอกาสใช้วิธีฉลาดแกมโกงแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัวได้เลย


ในความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องคิดแผนการหรือเสแสร้งว่า “หลักแหลมมาก” ดังเช่นฟ้าดินที่ให้เติบโตโดยไม่ครอบงำ หยินหยางให้กำเนิดแต่ไม่ถือครอง ผู้นำสร้างคุณโดยไม่อวดตน ความ “หลักแหลมมาก” เช่นนี้ เมื่อมองแวบหนึ่ง ย่อมเห็นได้ชัดว่าโง่งม แต่อันที่จริงกลับเป็นความหลักแหลมมากที่สุด ดังนั้น จึงจะไม่ถือความหลักแหลมเป็นความหลักแหลมได้ ความ “หลักแหลม” ที่แท้จริงคือ ใช้คนตามความสามารถ ประสบความสำเร็จตามสิ่งที่เลือก และได้ตามความต้องการ ซึ่งเหมาะสมมาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีเพียงความ “หลักแหลมมาก” เท่านั้นที่จะไม่เห็นความสามารถได้ ไม่อวดผลงาน และสะท้อนให้เห็นกลิ่นอายของความ “คล้ายโง่งม”


ทำนองเดียวกัน การปฏิบัติตนและจัดการปัญหาในสังคม ไม่อาจตั้งอยู่บนความหลักแหลม เดิมทีบรรดาเรื่องราวล้วนเป็นเรื่องง่าย ทันทีที่คิดในสิ่งที่ไม่ควรคิด กลับจะเร่งให้เกิดความยุ่งยากที่ไม่จำเป็นขึ้น เช่น ในการดำเนินชีวิต บางคนมักคิดเดินทางลัดอยู่เสมอ โดยไปดูดวง ดูโหงวเฮ้ง อยากรู้อนาคตล่วงหน้า แต่การยึดติดกับกลวิธีในการวิเคราะห์คนและแยกแยะเหตุการณ์เหล่านั้น ยังมิสู้การกุมกฎพื้นฐานของการกำเนิดพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งไว้ เปรียบเสมือนเราติดหนี้ผู้อื่น มัวใส่ใจหาวิธีหลบเลี่ยงเจ้าหนี้ ไม่สู้เรารีบคิดหาวิธีว่าจะใช้หนี้อย่างไร และอนาคตจะทำอย่างไรให้ไม่ต้องเป็นหนี้อีก...


ไม่ว่าเรื่องใด ๆ ขอเพียงได้กลับสู่ต้นธาร ทุกสิ่งจึงจะกระจ่างชัด เข้าใจ และมีความเป็นระเบียบ ในโลกนี้ มูลรากของสรรพสิ่งล้วนเป็น “เต๋า” มีคุณสมบัติเป็น “เต๋อ” (คุณธรรม) ขอเพียงใส่ใจ “เต๋อ” (คุณธรรม) ย่อมกระตุ้นพลังของฟ้าดินที่เรามองไม่เห็นได้แน่นอน นำพาการเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่สอดคล้องกับความคิดของเรา อันที่จริง เต้าเต๋อในตัวเราคือ “ยันต์คุ้มภัย” ที่ยอดเยี่ยมที่สุด ระดับของเต้าเต๋อคือเพดานความสำเร็จชั่วชีวิตของบุคคล หากไม่ยกระดับสภาวะของตน ในที่สุดความสำเร็จจะมีขีดจำกัด


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 12 ตุลาคม 2564

(เผยแพร่วันที่ 1346)

* * *


** 人生最高的目标就是四个字:活好、走好。求得好死,对人类来说是最重要的必修课!生活中,经常有人在积极地做公益、做志愿者、做善事,但最后却没有用!为什么?做善事不是积德么,怎么会没有用呢?我们要知道:命运最本质的奥秘是什么?这个奥秘就是:当您为社会、为大家做好事时,自己心中却完全没有“做善事”的概念,这才是累积玄德。相反,心中只要有“我在做善事”的想法,这一念就把功德都漏光了,更谈不上累积玄德了。所以,形式不是最重要的,心中那一念才是最关键的!

早安!* * *


12“大巧若拙”是天地万物运动与发展的秩序

《道德经第45章分享暨新生月祝福》连载12


六、“大巧若拙”是天地万物运动与发展的秩序。


老子说的“大巧若拙”是指天地万物及所有生命的运动发展秩序,这其实是一个道相。你看,天地万物形态万千、禀赋各异,那都是因缘汇聚而生的无为之作。


比如,人从出生到成年,再到年老而死亡,生老病死是每个人必经的过程。人类有形的身体虽然会消逝,但基因传导却以神奇的方式,让我们的生命信息在下一代身上继续传承——从这个角度上说,实际上,我们并不会死亡。而且,这个过程一直在循环往复,是一个恒定的自然法则,没有任何投机取巧的可能。


实际上,这正是自然而然、不费心机、不矫揉造作的“大巧”。就像天地长而不宰,阴阳生而不有,人君为而不恃,这种“大巧”乍一看之下,确实显得很笨拙——但实际上却是大巧至巧,所以才能不以巧为巧。真正的“大巧”就是因材致用、任物成功,又不失时宜、恰如其分。因此,也只有“大巧”才能不见其能、不显其功,体现出了“若拙”的味道。


同样,为人处世也不能建立在智巧之上。所有事情本来都很简单,一旦动了不该动的心思,反而会催生出不必要的麻烦。比如生活中,有些人总想走走捷径,去卜个卦、看个相,预知一下未来。但与其执着于那些识人辨物的小术,还不如把握住万物生发运化的根本规律呢!就像你欠了别人钱,与其把关注点放在怎么躲避债主上,还不如赶紧研究现在怎么还债、未来怎么不再欠债呢……


任何事,只有回到本源,一切才清清楚楚、明明白白、井然有序。天地间,万物的根都是“道”,性都是“德”,只要关注“德”就必然触发我们看不见的天地力量,带来与我们思想吻合的生命改变。实际上,最厉害的“护身符”就是我们身上的道德——道德水平也是一个人毕生成就的天花板,境界不提高,成就终归有限。


赵妙果,2021年10月12日,第1346天

0 views0 comments
bottom of page