คำอำนวยพร 14 กุมภาพันธ์ 2565

** การหาแบบอย่างที่ถูกต้อง และนับถืออาจารย์ถูกคน สามารถประหยัดแรงได้มาก เต๋าไร้ความเป็นตาย ดำรงอยู่ตลอดกาล การศึกษาเต๋าคือวิธีการที่ดีที่สุดในการศึกษาชีวิตที่ยืนยาว ครูบาอาจารย์ไม่มีสูงต่ำและมิได้อยู่ภายนอก แต่อยู่ในใจเรา ขอเพียงเชื้อเชิญอาจารย์ออกมาจากจิตภายใน ชั่วชีวิตนี้ก็ไร้กังวลแล้ว -- เขามีนามว่า : เต๋า
คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์
จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 49 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์
[เบื้องหลังของความเชื่อถือคือการเคลื่อนไหวของเต๋า]
2.2 เมื่อมีเต๋าจึงมีสัจจะ ไร้เต๋าย่อมไร้สัจจะ เบื้องหลังสัจจะคือการเคลื่อนไหวของเต๋า
ผู้มีสัจจะข้าให้ความเชื่อถือ ผู้ไร้สัจจะข้าก็จริงใจ เรียกว่า เชื่อถือความมีคุณธรรม
ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” บทที่ 17 และ 23 มีการกล่าวถึงแนวคิด “ขาดความซื่อสัตย์ จึงมีคนไม่เชื่อถือ” แล้ว “ความเชื่อถือ” คืออะไรกันแน่เล่า
ในบทที่ 21 ท่านเหลาจื่ออธิบายว่า เต๋าคือการดำรงอยู่ของวัตถุที่รวมคุณสมบัติ 3 ประการเป็นหนึ่งเดียวคือ การสร้างสรรค์ กว้างใหญ่ และสมดุล ในนั้นมีรูป วัตถุ แก่น ความจริง และความเชื่อถือ คำว่า “เชื่อถือ” นี้คือสื่อข้อมูล แม้จะดูราวกับไร้รูป แต่เบื้องหลังของความไร้รูปย่อมต้องมีรูปรองรับอยู่แน่นอน จึงจะถูกสัมผัสได้ เช่นเดียวกับการมีพลังงาน จึงสามารถแปลงพลังงานได้ มีวัตถุจึงจะสามารถสร้างวัตถุได้ ความ “ไม่มี” ของเต๋า มิใช่ไม่มีอะไรเลย กลับมีสรรพสิ่งครบครัน ดังนั้น มีเต๋าจึงมีความเชื่อถือ ไร้เต๋าย่อมไร้ความเชื่อถือแน่นอน เบื้องหลังของความเชื่อถือคือการเคลื่อนไหวของเต๋า บทบาทในตัวคนเราคือคุณธรรม นี่คือการ “เชื่อถือความมีคุณธรรม”
เหตุใดจึงมีการ “ไม่เชื่อถือ” ดำรงอยู่เล่า เป็นเพราะแต่ละคนมาจากจุดลงทะเบียนที่แตกต่างกัน มีชิ้นส่วนหน่วยความจำของประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาแตกต่างกัน พรสวรรค์และอุปนิสัยจึงต่างกัน เมื่อคนเราเกิดมาแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากทางด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ดังนั้น รูปแบบการคิดจึงไม่เหมือนกัน เมื่อทัศนคติต่างกัน การทำงานจึงไม่เหมือนกัน และปรากฏความแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดี เชื่อถือกับไม่เชื่อถือขึ้น
อันที่จริง การที่บางคนไม่รักษาคำพูด ทำงานไม่มีสัจจะ มิใช่เขาเป็นคนไม่ดี แต่เป็นเพราะคุณสมบัติความน่าเชื่อถือของเขาถูกสิ่งปฏิกูลบดบังไว้ ขอเพียงชำระล้างให้ทันเวลา สัญชาตญาณเดิมของมนุษย์ล้วนแต่ดีกันทั้งนั้น แม้ในตอนนี้เขาจะเป็น “ผู้มีระดับต่ำรับฟังเต๋าจะหัวเราะเยาะเย้ย” ก็ตาม อริยบุคคลยังคงเชื่อว่าในสัญชาตญาณธรรมชาติของเขามีเต๋าอยู่ ต้องมีสักวันที่เขาจะกลายเป็นเต๋าได้ นี่คือการ “เชื่อถือความมีคุณธรรม” ที่อริยบุคคลพึงมี
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565
(เผยแพร่วันที่ 1470)
* * *
** 找准榜样、拜对师父,能省很多力气。道无生死,永恒存续,学道是学长生最好的方法;师无高下,不在外面,而在心中,只要把内心的老师请出来,此生就无虞了——它的名字叫:道。早安!
早安!* * *
14信的背后是道在流动
《道德经》第49章分享暨播种月祝福》连载14
五、有道才有信,无道肯定无信,信的背后是道在流动。
信者,吾信之;不信者,吾亦信之。德信
《道德经》第十七章、第二十三章中皆有“信不足焉,有不信焉”的说法,到底什么是“信”呢?
老子在第二十一章中说,道是创造、广大、平衡三大功能合一的物质性存在,其中有象、有物、有精、有真、有信。所谓“信”就是信息,虽然看似无形,但无形的背后一定要有形来承载,才能被感受到。就像有能量才能转化能量,有物质才能形成物质一样,道的“无”不是什么都没有,而是万物俱全。所以,有道才有信,无道肯定无信,信的背后是道在流动,作用在人身上就是德,这就是“德信”。
为什么有“不信”存在呢?这是因为每个人都来自不同的注册地,生命长河中流淌的记忆碎片不同,天赋秉性就不同。人出生以后,还要受环境、教育、经历等方面的影响,所以思维方式也不同。观念不同,行事就不同,就会出现善与不善、信与不信的区别了。
其实,有人说话不算数,做事不诚信,不是那个人不好,而是因为他诚信的品质,被污染屏蔽了。只要及时清理,所有人的本性都是好的。即使他现在是“下士闻道大笑之”,圣人也相信他天性中有道,总有一天会成为道,这就是圣人该有的“德信”。
赵妙果,2022年2月14日,第1470天