คำอำนวยพร 14 ตุลาคม 2564

** หากทำการใดไม่สำเร็จ ต้องทบทวนตนเองให้มาก การทบทวนตนเองคือการอบรมสั่งสอนที่หยั่งรากในจิตใจคนเรา ทั้งยังเป็นเส้นทางลัดที่ช่วยให้ตนเองเติบโตด้วย การทบทวนตนเองคือจุดเริ่มต้นของการเจริญเติบโต และเป็นสูตรเด็ดในการสร้างความสำเร็จให้ชีวิต หากรู้จักพิจารณาตนเอง สำรวจความผิดพลาดของตนอยู่เสมอ จะรู้ข้อด้อย และเติมเต็มส่วนที่บกพร่องนั้นได้
อรุณสวัสดิ์ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 45 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเกิดใหม่
[สรรพสิ่งมีข้อบกพร่อง จึงพึ่งพาอาศัยและก่อเกิดร่วมกันอย่างปรองดองได้]
3.2 คำว่า “มาก” หมายถึง “สอดคล้องเต๋า”
ในโลกนี้มีเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น คัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ทั้งเล่มจึงพูดคุยโดยล้อมรอบ “การเปลี่ยนแปลง” อันเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นเอกภาพ สรรพสิ่งในโลกล้วนเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ขอเพียงสามารถรักษาสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงไว้ได้ จะสามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงบรรลุจุดมุ่งหมายติดต่อกันได้อย่างไม่ขาดสาย
อะไรคือสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงเล่า นั่นคือ ความ “บกพร่อง คดงอ ว่างเปล่า โง่งม และซื่อ ๆ ” สภาวะเหล่านี้คือความขาดแคลนและไม่สมบูรณ์แบบ บางคนรู้สึกว่าช่างห่างไกลจากสภาวะสมบูรณ์ของความสบายอกสบายใจเต็มที่อย่างความ “สมบูรณ์เลิศ เที่ยงตรงมาก เปี่ยมล้น หลักแหลมมาก และมีคารมคมคาย” เหลือเกิน อันที่จริง หลักการของจักรวาลคือ สิ่งที่ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ และสมบูรณ์แบบมาก ล้วนมีข้อบกพร่องพอสมควรตามธรรมชาติอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ คนและสิ่งจะประสบความสำเร็จอย่างไรย่อมมีข้อบกพร่องทั้งนั้น แต่ข้อบกพร่องของเขามิได้ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของเขา ทั้งยังกลับทำให้เขาสื่อเชื่อมกับโครงข่ายของสรรพสิ่งในจักรวาลนี้อย่างแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
กล่าวได้ว่า เป็นเพราะสรรพสิ่งล้วนมีข้อบกพร่อง จึงร่วมกันประกอบเป็นส่วนทั้งหมดของจักรวาลที่พึ่งพาอาศัยและก่อเกิดร่วมกันอย่างปรองดองได้ บนโลกใบนี้ ไม่มีคนหรือสิ่งใดไร้ข้อบกพร่อง มีความสมบูรณ์แบบเกินไปก็คือข้อบกพร่องที่ใหญ่ที่สุดในตัว และข้อดีเด่นของเรามักเป็นอุปสรรคที่ฟันฝ่าไปได้ยากที่สุด มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเพราะความบกพร่อง และมีหลายเรื่องราวที่เป็นเพราะความไม่สมบูรณ์ จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้มากมาย
“สมบูรณ์เลิศคล้ายบกพร่อง เปี่ยมล้นคล้ายว่างเปล่า ความเที่ยงตรงมากคล้ายคดงอ หลักแหลมมากคล้ายโง่งม และมีคารมคมคายดุจซื่อ ๆ ” คือความมหัศจรรย์ในการเคลื่อนไหวของเต๋า คำว่า “มาก” ในที่นี้ คือการเรียกร้องให้เราก้าวข้ามจุดยืนส่วนตน แล้วยืนอยู่ในจุดของส่วนทั้งหมด จับตามองประวัติศาสตร์ แล้วขบคิดปัญหาให้รอบด้าน เช่นนี้จึงจะบรรลุประสิทธิผลได้ดีที่สุด ดังนั้น คำว่า “มาก” นี้ จึงมีความหมายว่า “สอดคล้องเต๋า”
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 14 ตุลาคม 2564
(เผยแพร่วันที่ 1348)
* * *
** “行有不得,反求诸己。”意思是事情做不成的时候,要多多自我反省。反躬自省,是一个人根植于内心的教养,也是帮助自己成长的一种绝佳途径。自省,是成长的开始,也是成就人生的良方。懂得审视自己,常思己过,方可知己短,补不足。
早安!* * *
14万物有缺,才能相互依存、和谐共生
《道德经第45章分享暨新生月祝福》连载14
八、“大”就是“合道”之意。
这个世界唯一不变的就是变化,所以整部《道德经》都在围绕一个统一的主旨——“变化”而谈。世间万物皆由变化而生,只要能守住变化之因,就能实现让变化源源不绝的目的。
什么是变化之因呢?就是“缺、屈、冲、拙、讷”——这些状态都是不足、不完美的样子,有人觉得这好像与“大成、大直、大盈、大巧、大辩”那种酣畅淋漓的圆满状态相差甚远啊?实际上,宇宙的原则就是:大成功、大圆满的东西,天然都存在着相当的缺陷!因此,再有成就的人事物也都有缺点,但他的缺点非但没有影响到他的成就,反而还让他与宇宙万物这张大网联接得更紧密了!
可以说,正是因为万物都有残缺,才能共同构成一个相互依存、和谐共生的宇宙整体。这个世界上,没有缺点的人和物是不存在的,过分完美本身就是最大缺陷,而你的优点往往也正是你最难突破的卡点——许多东西反倒是因为残缺,所以才能更显完美;很多事情也是因为不足,所以才能变化万千。
“大成若缺,大盈若冲,大直若屈,大巧若拙,大辩若讷”正是大道运转的奇妙所在——这个“大”字,就是要求我们要超越个人的立场,而立足于整体、着眼于历史,来全面考虑问题,这样才可能达到最好的效果。因此,这个“大”就是“合道”之意。
赵妙果,2021年10月14日,第1348天