คำอำนวยพร 16 ธันวาคม 2564

** ความอยุติธรรมทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นกระจกเงาให้เราสอดส่องตนเอง เพื่อให้ตระหนักรู้ในตน ว่า “อู๋เหวย สงบนิ่ง ไม่หยุมหยิม และไร้ทะยานอยาก” ได้หรือไม่ มีเพียงการทำตนให้ดี จึงจะทำให้โลกรอบตัวดีได้ มีเพียงคุณธรรมที่เที่ยงธรรมจึงจะไม่หยุมหยิม เมื่อไม่หยุมหยิมจึงจะเข้าสู่สภาวะของเต๋าได้
อรุณสวัสดิ์ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 47 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งความสงบสุข
[สภาวะและความสามารถของอริยบุคคล]
ตอนที่ 2 มีเนื้อความว่า “อริยบุคคล ไม่ต้องเดินทางก็รู้ได้ ไม่ต้องดูก็รู้มูลเหตุ ไม่กระทำตามใจกลับได้ผล” แบ่งการอธิบายออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
- ประเด็นที่ 1 จินตนาการและความสามารถของอริยบุคคลคือการรู้แจ้งที่มีเงื่อนไขพร้อม
- ประเด็นที่ 2 การฝึกปฏิบัติที่มีแต่แนวคิดยังไม่เพียงพอ ยังต้องมีการกระทำที่เป็นจริงอีกด้วย
- ประเด็นที่ 3 เมื่อเข้าใจเต๋าแล้ว มองเห็นเค้านิดหน่อยก็รู้ธาตุแท้แนวโน้มการพัฒนา และเห็นต้นสายปลายเหตุของสิ่งต่าง ๆ ได้
ประเด็นที่ 1 จินตนาการและความสามารถของอริยบุคคลคือการรู้แจ้งที่มีเงื่อนไขพร้อม
1.1 “ไม่ต้องเดินทางก็รู้ได้ ไม่ต้องดูก็รู้มูลเหตุ ไม่กระทำตามใจกลับได้ผล” คือสภาวะและความสามารถของอริยบุคคล
อริยบุคคลไม่ต้องเดินทางก็รู้ได้ ไม่ต้องดูก็รู้มูลเหตุ ไม่กระทำตามใจกลับได้ผล
ประเด็นสำคัญที่อธิบายในที่นี้คือทฤษฎีว่าด้วยการรับรู้ของอริยบุคคล การศึกษาที่เราได้รับตั้งแต่วัยเด็กคือ “การปฏิบัติเกิดการรู้จริง” กล่าวคือ หากต้องการรู้รสชาติของสาลี่ ก็ต้องลองชิมด้วยตนเอง แต่ท่านเหลาจื่อกลับเสนอมรรควิธีที่เราไม่ต้องออกจากบ้าน ไม่ต้องมองเห็น และไม่ต้องทำตามอำเภอใจแต่กลับประสบความสำเร็จได้
“ไม่ต้องเดินทางก็รู้ได้ ไม่ต้องดูก็รู้มูลเหตุ” ประโยคนี้ค่อนข้างเข้าใจง่าย หากเราเคยอ่านหนังสือหมื่นเล่มและเดินทางไกลหมื่นลี้แล้ว ขณะเดียวกันยังมีสติปัญญาดี เช่นนี้การ “ไม่ต้องเดินทางก็รู้ได้ ไม่ต้องดูก็รู้มูลเหตุ” ย่อมไม่ใช่เรื่องยาก
แต่ประโยคต่อมาที่กล่าวว่า “ไม่กระทำตามใจกลับได้ผล” จะเข้าใจได้ยากกว่า คนมากมายกล่าวว่า “หากไม่ทำอะไรเลย ขนมพายจะหล่นลงมาจากฟ้าหรืออย่างไร นี่มิใช่การฝันกลางวันหรือเป็นเรื่องลึกลับมหัศจรรย์หรอกหรือ” ถูกต้องแล้ว นี่มิใช่สิ่งที่ทุกคนจะทำได้ แต่มีเพียงอริยบุคคลเท่านั้นที่มีสภาวะที่สามารถบรรลุความสำเร็จได้
ประโยคที่ว่า “ไม่กระทำตามใจกลับได้ผล” มิใช่การไม่ทำอะไรเลย แต่เป็นการเตรียมการทุกอย่างไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว และกุมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ได้ รอคอยเหตุการณ์มาถึง กลับจะไม่ต้องเหนื่อยแรงมาก ดังนั้น จึงดูเหมือนมิได้ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จแล้ว กล่าวอย่างง่าย ๆ คือเตรียมเงื่อนไขให้พร้อม และประสบความสำเร็จตามธรรมชาติ ดังนั้น จึงกล่าวว่า “ไม่ต้องเดินทางก็รู้ได้ ไม่ต้องดูก็รู้มูลเหตุ ไม่กระทำตามใจกลับได้ผล” คือสภาวะของอริยบุคคล และสภาวะนี้ได้ก่อเกิดความสามารถขึ้น
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 16 ธันวาคม 2564
(เผยแพร่วันที่ 1410)
* * *
** 世间所有不平事都是我关注自己的镜子,是为了让我觉知自己:是否做到了“无为、好静、无事、无欲”?只有做好自己,才能好了周围的世界。只有德正才能无事,只有无事才能进入道的境界。
早安!* * *
16圣人的境界和能力
《道德经第47章分享暨平安月祝福》连载16
是以圣人,不行而知,不见而明,不为而成。
第二段共十六个字,也分三个层面来阐述:
1) 第四层面,圣人的意境与能力是水到渠成的证悟。
2) 第五层面,修行光有理念是不够的,还要有实际的行动。
3) 第六层面,领略了道,才能见微知著、睹始知终。
第四层面,圣人的意境与能力是水到渠成的证悟。
十、“不行而知,不见而明,不为而成”是圣人的境界和能力。
是以圣人不行而知,不见而明,不为而成
这里讲的主要是圣贤的认识论。我们从小受的教育是“实践出真知”,即要知道梨子的滋味,就得亲口尝一尝。但老子在这里却推出了一种不需要您出门、不需要您看见、不需要您去妄为就能成功的方法论。
“不行而知,不见而明”这八个字比较好理解。如果我们已经读万卷书、行万里路了,同时又有很好的悟性,那么做到“不行而知,不见而明”并不困难。
但后面“不为而成”这四个字就不好理解了!很多人说:“什么都不做,天上会掉下馅饼吗?这岂不是白日做梦、神乎其神吗?”是的,没错!这的确不是所有人都能做到的事情,而是唯有圣人才能达成的境界。
这里的“不为而成”并不是不作为,而是事先已经充分做好了各种准备,一切尽在掌握中,等事到临头,反而不需要大费周章,所以好像什么也没做就成功了似的。简单说,就是水到渠成,自然天成。所以说“不行而知,不见而明,不为而成”是圣人的境界,以及因为境界而产生的能力。
赵妙果,2021年12月16日,第1410天