คำอำนวยพร 17 ตุลาคม 2564
Updated: Oct 18, 2021

** ไม่ว่าอยู่ในวัยใด การจัดการชีวิตของตนให้ดีมิใช่เรื่องง่าย ความคิดเห็นของผู้อื่นอาจไม่ได้ถูกต้องเสมอไป การลองผิดลองถูกด้วยตนเองก็อาจพลาดได้ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่เราลองผิดลองถูกครั้งแล้วครั้งเล่า เราจะค่อย ๆ ค้นพบสิ่งที่ตนไม่ชอบและสิ่งที่ทำให้มีความสุข ซึ่งความสับสน การกระทบทระทั่ง ความเจ็บปวด และการเติบโตนี้คือกระบวนการในการค้นพบตนเองและค้นหาปรัชญาแห่งชีวิต
อรุณสวัสดิ์ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 45 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเกิดใหม่
[มีเพียงการฝึกฝนความสงบนิ่งเท่านั้น จึงจะเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า]
ประเด็นที่ 1 สงบนิ่งเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า และยังเป็นภูมิปัญญาที่สมบูรณ์แบบอีกด้วย
1.1 ผู้ที่ยึดติดกับความสำเร็จย่อมล้มเหลว ผู้ยึดถือความเต็มเปี่ยมย่อมพังทลาย มีความสงบนิ่งเสมอจึงจะหวนคืนสู่วิถีที่ถูกต้องได้
คำว่า “การเล่นกีฬา” ในประโยคที่ว่า “การเล่นกีฬาชนะความหนาวเหน็บ” หมายถึง การเคลื่อนไหว “ชนะ” หมายถึงสภาวะสูงสุด ประโยคที่ว่า “การเล่นกีฬาชนะความหนาวเหน็บ” หมายถึง ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนพลังชีวิตหยางจะเจริญงอกงามขึ้นมาจากดิน สรรพสิ่งได้รับพลังชีวิตหยางจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเจริญเติบโตจนถึงที่สุดแล้ว การเคลื่อนไหวจะเปลี่ยนเป็นความหนาวเหน็บ เมื่อความหนาวเหน็บมาเยือนสรรพสิ่งจะโน้มสู่ความเสื่อมโทรมและความตาย ด้วยเหตุนี้ ท่านเหลาจื่อจึงใช้ “การเล่นกีฬาชนะความหนาวเหน็บ” เพื่อเตือนเราว่า การเล่นกีฬาคือมูลฐานของความตาย ความรุ่งเรืองคือแหล่งที่มาของความเสื่อมโทรม
ส่วน “นิ่งชนะร้อนแรง” ย่อมหมายถึง ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวเป็นฤดูเก็บรักษาและมีความหนาวเหน็บมาก พลังชีวิตหยางจะอยู่ในดินนิ่ง ๆ แต่เมื่อนิ่งจนถึงที่สุดแล้วกลับจะก่อเกิดความร้อน “ความร้อน” นี้เกิดจากพลังชีวิตที่สมดุล ครั้นแล้วสรรพสิ่งจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้ เนื่องจาก “การเกิด” นี้ต้องอาศัย “ความสงบนิ่ง” ดังนั้น ท่านเหลาจื่อจึงกล่าวว่า ความสงบนิ่งคือมูลรากของการเกิด และเป็นตัวสยบความหุนหันพลันแล่น
ประโยคที่ว่า “การเล่นกีฬาชนะความหนาวเหน็บ นิ่งชนะร้อนแรง” ท่านเหลาจื่อต้องการให้เราใช้ธรรมชาติเป็นครู มองเห็นเบื้องหลังของการหมุนเวียนสับเปลี่ยนของทั้ง 4 ฤดูว่าเป็นการผลักไสและส่งเสริม ก่อเกิดและข่มซึ่งกันและกันระหว่างความสงบนิ่งกับการเคลื่อนไหว และความเย็นกับความร้อน มองเห็นปัจจัยของความหนาวเหน็บในความร้อนแรง และเมล็ดพันธุ์ของความร้อนแรงในความหนาวเหน็บ ทั้งนี้ในความร้อนยังมีส่วนประกอบของความนิ่ง อันที่จริง ภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอน สรรพกิจสรรพสิ่งล้วนสามารถเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นและลดลง หรือสลับสับเปลี่ยนระหว่างกันได้ นี่เรียกว่า “ความเป็นคือมูลฐานของความตาย ความตายคือมูลรากของความเป็น”
อริยบุคคลอาศัยการสังเกตการเพิ่มและลดของพลังชีวิตหยาง พบว่าฟ้าดินรักษาความสมดุลของการเติมเต็มและบกพร่องเสมอจึงคึกคักมีชีวิตชีวา เต๋าที่ยิ่งใหญ่รักษาการกระทำของฟ้า จึงใช้ความนิ่งสยบการเคลื่อนไหวได้ ดังนั้น ข้อสรุปของท่านเหลาจื่อคือ มีเพียงการฝึกฝนความสงบนิ่งเท่านั้น จึงจะเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า ซึ่งการฝึกฝนความสงบนิ่ง มิใช่ไม่ขยับเขยื้อนเลย แต่หมายถึงสรรพสิ่ง ไม่อาจรบกวนได้ ดังนั้น “ความสงบนิ่ง” ของอริยบุคคลคือการฝึกฝนความสงบที่แท้จริงท่ามกลางความวุ่นวาย ฝึกฝนความนิ่งที่แท้จริงท่ามกลางการเคลื่อนไหว นี่คือการไม่เคลื่อนไหวอย่างแท้จริงในการฝึกฝนหลอมหล่อโดยผ่านบททดสอบจากการดำเนินชีวิต
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 17 ตุลาคม 2564
(เผยแพร่วันที่ 1351)
* * *
** 无论在哪个年纪,要理清自己的人生都不是一件易事,他人的建议不一定对,亲自的试炼也会有差错,然而,正是在一次次吸收和试错中,我们一点点确定自己不想做的事,一点点发现让自己开心的事,这些迷茫、碰撞、受伤、成长,本身就是找到自我,寻得人生理念的过程。
早安!* * *
17唯有修清静,才是天下的正道
《道德经第45章分享暨新生月祝福》连载17
第四层面,清静是天下的正道,也是大圆满的智慧。
十、执成者必败,持满者必倾,常清静才能回归正轨。
“躁胜寒”中的“躁”是动的意思;“胜”表示极致的状态。所谓“躁胜寒”是指春夏阳气生发于地上,万物得了阳气就不断壮大;当生发到极致时,动极转寒,寒来万物就趋向衰败死亡。因此,老子用“躁胜寒”来告诉我们:躁为死之本,盛为衰之源。
而“静胜热”则是指秋冬主收藏肃杀,阳气蛰伏于地下;但静到极致反而生热,这个“热”就是和气生发所致。于是,万物又因之以生——由于这个“生”是依托于“静”而起,所以老子说:静,既为生之本,也为躁之君。
“躁胜寒,静胜热”这句话是老子让我们以自然为师,看到四季交替的背后是静与躁、凉与热的相反相成、相生相克;看到燥中有寒的因子,寒中有热的种子,热中也有静的成分。实际上,万事万物在一定条件下都可以发生消长变化,实现相互转化。这就是所谓“生者死之本,死者生之根”。
圣人正是通过观阳气的进退,发现了天地常保冲缺才能生机勃勃,大道常保无为才能以静制动。因此,老子的结论是:唯有修清静,才是天下的正道。而修静,不是一动不动,而是万物都不足以扰心,所以圣人的“清静”是在浊中修出的真清、在动中修出的真静——这是经过生活的考验而磨砺出的真正的如如不动。
赵妙果,2021年10月17日,第1351天