คำอำนวยพร 17 ธันวาคม 2564

** “การปกครองทั่วหล้าต้องไม่หยุมหยิม” หมายถึง ไม่ทำตามอำเภอใจและไม่ก่อปัญหา ความวุ่นวายมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองในชีวิต หากไม่ทำตามอำเภอใจ เดิมทีชีวิตคนเราจะมีความผาสุกและอิสรเสรี พละกำลังทั้งหลายมีไว้เพื่อบริหารจัดการตนเอง มิใช่เพื่อไปแทรกแซงผู้อื่น ความสงบสุขคือการได้รับในระดับสูงสุด ความสงบสุขคือการได้รับในระดับสูงสุด ไม่หยุมหยิมคือความผาสุกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
อรุณสวัสดิ์ * * *
โดย อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 47 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งความสงบสุข
[ความแตกต่างระหว่างอริยบุคคลกับผู้ยิ่งใหญ่]
1.2 อะไรคือจุดร่วมและความแตกต่างระหว่างอริยบุคคลกับผู้ยิ่งใหญ่
“อริยบุคคล” คือแนวคิดหลักของคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ทั้งเล่ม อริยบุคคลมิใช่เที่ยวค้นหาเต๋า และมิใช่แสวงหาให้มีคุณงามความดี แต่รักษาไว้ซึ่ง “ความเป็นหนึ่ง” อยู่เสมอ คำว่า “ความเป็นหนึ่ง” นี้ หมายถึง “เต๋า” และยังเป็นแหล่งกำเนิดของพลังที่มนุษย์สามารถแผ่อิทธิพลจากตนเองสู่ภายนอกได้อีกด้วย
ความรู้อันลึกซึ้งสูงสุดของเต๋าคือการให้กำเนิดอริยบุคคล สรรพสิ่งทั่วหล้าล้วนมีเต๋า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรี หมากกระดาน หนังสือ ภาพวาด กวี สุรา ดอกไม้ ชา ข้าว น้ำมัน เกลือ ซอสปรุงรส หรือน้ำส้มสายชู ล้วนให้กำเนิดอริยบุคคลได้ทั้งสิ้น ความแตกต่างระหว่างคนธรรมดากับอริยบุคคลมิได้อยู่ที่กุมความรู้ได้มากน้อยเท่าใด แต่อยู่ที่อริยบุคคลรักษาความอิสระทางความคิดอย่างมีสติไว้ตลอดเวลา
มีคนถามว่า “อริยบุคคลกับผู้ยิ่งใหญ่แตกต่างกันอย่างไร” ไม่ว่าจะเป็นอริยบุคคลหรือผู้ยิ่งใหญ่ล้วนเป็น “คนธรรมดา” ที่มีอารมณ์และอุปนิสัยเฉพาะตัว ข้อดีเด่นร่วมกันของพวกเขาคือ ล้วนมีความเพียรความกล้าหาญและสติปัญญาที่เหนือกว่าคนทั่วไป สามารถทุ่มเทความพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และทนต่อความทุกข์ยากลำบากได้ แต่เมื่อมองจากประวัติศาสตร์ สิ่งที่ผู้ยิ่งใหญ่ทำล้วนเป็นเรื่องทางด้านสังคม พวกเขาคือผู้ที่สามารถเอาชนะผู้อื่นได้ แต่อริยบุคคลจะแตกต่างออกไป พวกเขาคือผู้ที่สามารถเอาชนะตนเองได้
อริยบุคคลจะกลายเป็นอะไร เขาจะเป็นเต้าเต๋อ เป็นแบบอย่างของสุขภาพและอิสรเสรี เป็นแบบฉบับระดับสูงสุดของกายใจรวมเป็นหนึ่ง นอกในรวมเป็นหนึ่ง และฟ้าคนรวมเป็นหนึ่ง ขอถือโอกาสกล่าวสักประโยคว่า ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ภาพลักษณ์ของอริยบุคคลคือผู้มีอายุยืนยาวที่แม้ร่างกายจะตายไปแล้วแต่เจตนารมณ์คงอยู่นิรันดร์ หรือก็คือเหล่าผู้แบกรับที่สร้างความสุขเพื่อผู้อื่นอยู่เสมอโดยไม่เรียกร้องชื่อเสียงและผลประโยชน์
สิ่งที่อริยบุคคลทำคือเรื่องราวทางด้านเต๋าที่ยิ่งใหญ่ กล่าวคือ สิ่งที่พวกเขาทำคือเรื่องที่สอดคล้องกับกมลสันดานของมนุษย์ และสร้างความสงบและมั่นคงอย่างยั่งยืน สิ่งที่พวกเขาทำจะเป็นเรื่องราวที่สามารถก้าวข้ามกาลเทศะนับหลายพันปี ส่งผลกระทบต่อประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และใช้สัจธรรมสร้างความอบอุ่นใจให้ผู้คนตลอดมา
คำสอนที่อริยบุคคลหลงเหลือไว้ อีกหลายพันปีให้หลังก็ยังคงเป็นสัจธรรม และยังส่องเส้นทางให้ความสว่างแก่มนุษย์ อริยบุคคลต้องการสร้างโลกทัศน์ ชีวทัศน์ และค่านิยมที่ “ใช้เต๋าเป็นฐาน” อริยบุคคลทั้งหลายเริ่มต้นจากการทำตนให้ดี เป็นแสงอาทิตย์ของโลกทางจิตที่มอบความอบอุ่น แสงสว่าง และพลังงานแก่ผู้อื่น ขณะเดียวกันยังทำให้ตนอยู่ท่ามกลางโลกที่เปี่ยมด้วยความอบอุ่น แสงสว่าง และพลังงาน
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 17 ธันวาคม 2564
(เผยแพร่วันที่ 1411)
* * *
** “取天下常以无事”说的就是不妄为造作、无事生非。烦恼不是生命里自带的,如果不作(zuō),人生原本就是幸福、就是自在。所有精力都是用来管理自己,而不是去干涉他人的。平安是最高的得到,无事是最大的幸福!
早安!* * *
17圣人与伟人的区别与共同点
《道德经第47章分享暨平安月祝福》连载17
十一、圣人与伟人的区别与共同点是什么?
“圣人”是整部《道德经》的核心概念。圣人不是四处寻找道,也不是追求有功德,而是始终抱持着“一”——这个“一”就是“道”,也是人类能够向外辐射自身影响力的根源。
道之极致,圣人乃生,天下万物皆有道,琴棋书画诗酒花,茶米油盐酱醋茶,都可以诞生圣人。圣人与常人的区别并不在于知识掌握的多少,而在于圣人始终保持清醒的独立思考。
有人问:“圣人与伟人有什么区别?”不论是圣人还是伟人,都是有脾气、有个性的“平常人”。他们的共同特点就是:都拥有过人的毅力和胆识,都能为目标付出全部努力,都能挨得起苦难磨砺。不过,从历史来看,伟人做到的多是社会层面上的事,他们是能够战胜他人的人;而圣人不同,他们是能够战胜自己的人。
圣人要成为什么?他要成为道德本身,成为健康自在的楷模,成为身心合一、内外合一、天人合一的最高层次的典范。顺便说一句,在《道德经》中,圣人的形象就是那些身死而精神永存的长寿者,也是那些一心为他人造福而不求名利的担当者。
圣人做的事是大道层面上的事。也就是说,他们做的是符合人类本性和长治久安的事;他们做的是能穿越几千年时空,影响人类历史,并用真理一直温暖人心的事。
圣人留下的教诲,几千年后还是真理,还在照亮着人类的路。圣人要为世界建立“以道为本”的世界观、人生观和价值观;圣人们就是从做好自己开始,成为精神世界的太阳,为他人提供温暖、提供光明、提供能量,同时也让自己置身于充满温暖、光明、能量的世界中。
赵妙果,2021年12月17日,第1411天