top of page

คำอำนวยพร 17 พฤศจิกายน 2564


**  การปฏิบัติตนต้องมีเต๋า แต่อย่ากล่าวว่าตนมีเต๋าเด็ดขาด แม้ผู้อื่นจะชื่นชมว่าเรามีเต๋า ก็ต้องถือว่าเป็นการให้กำลังใจจากผู้อื่น มีเพียงการฝึกฝนปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเท่านั้น จึงจะเป็นวิถีที่ถูกต้อง บนโลกนี้ไม่มีใครคู่ควรที่จะกล่าวว่าตนเป็นผู้มีเต๋าทั้งนั้น การคิดว่าตนสูงศักดิ์ คิดว่าตนมีเต๋า มักห่างไกลเต๋านับหมื่นลี้ ตั้งใจศึกษา "เต๋า" เต๋าที่ "เกิดก่อนฟ้าดิน" จึงจะเป็นการศึกษาอย่างจริงจัง ความยอดเยี่ยมที่สุดของคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" คือ อ่านแล้วคล้ายคำพูดธรรมดา ไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อน แต่กลับสื่อเชื่อมกับต้นธารได้โดยตรง การ "ศึกษาและประยุกต์ใช้" คัมภีร์เต้าเต๋อจิงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะพื้นฐานการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[ปฏิบัติตามกฎเต๋าจึงจะเป็นการรู้จักพอและอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง]


ตอนที่ 2 มีเนื้อความว่า “ผิดหนักที่สุดคือเห็นแก่ตัวและทะยานอยาก ภัยใหญ่หลวงคือไม่รู้จักพอ ไม่มีผิดใดยิ่งกว่าความโลภ ดังนั้น รู้จักพอย่อมสมบูรณ์ยั่งยืน จะมีพอเพียงนิรันดร์”


ประโยคที่ว่า “ผิดหนักที่สุดคือเห็นแก่ตัวและทะยานอยาก ภัยใหญ่หลวงคือไม่รู้จักพอ ไม่มีผิดใดยิ่งกว่าความโลภ” ทั้งสามประโยคนี้เป็นการตอบสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังของประโยคที่ว่า “ไร้ธรรมะปกครองทั่วหล้า แม้ลูกม้ายังเกิดในสมรภูมิ” ในตอนที่ 1 ส่วนประโยคสุดท้ายที่ว่า “รู้จักพอย่อมสมบูรณ์ยั่งยืน จะมีพอเพียงนิรันดร์” คือวิธีการและข้อสรุปที่ท่านเหลาจื่อบอกแก่เรา


ตอนที่ 2 แบ่งการอธิบายออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้


- ประเด็นที่ 1 ความเลวร้ายที่น่ากลัวที่สุดมักเริ่มจากความทะยานอยากที่ไร้รูป


- ประเด็นที่ 2 สิ่งที่สามารถต่อต้าน “ความทะยานอยาก” ได้ มีเพียง “รู้จักพอจะมีพอเพียงนิรันดร์” เท่านั้น


- ประเด็นที่ 3 ปฏิบัติตามกฎเต๋าจึงจะเป็นการรู้จักพอและอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง


ประเด็นที่ 1 ความเลวร้ายที่น่ากลัวที่สุดมักเริ่มจากความทะยานอยากที่ไร้รูป


1.1 มูลเหตุแห่งความทะยานอยากของมนุษย์ล้วนมาจาก “จิตแห่งการครอบครอง”


ประโยคที่ว่า “ผิดหนักที่สุดคือเห็นแก่ตัวและทะยานอยาก ภัยใหญ่หลวงคือไม่รู้จักพอ ไม่มีผิดใดยิ่งกว่าความโลภ” คือการคัดค้านอย่างรุนแรงต่อความโลภอันไม่มีที่สิ้นสุดของท่านเหลาจื่อ เพราะสาเหตุที่ทั่วหล้ามีความเห็นแก่ตัวคือ “ความทะยานอยาก ไม่รู้จักพอ และโลภ” ทั้ง 3 ภาวจิตนี้สวนทางกับเต๋า คำสำคัญที่อยู่เบื้องหลังทั้ง 3 ประการนี้คือ ความทะยานอยากและการครอบครอง


“ผิดหนักที่สุดคือเห็นแก่ตัวและทะยานอยาก”


คำว่า “ทะยานอยาก” ที่ท่านเหลาจื่อกล่าวในประโยคที่ว่า “ผิดหนักที่สุดคือเห็นแก่ตัวและทะยานอยาก” นี้ หมายถึง ความหุนหันพลันแล่นที่อยากจะครอบครอง นี่คือความทะยานอยากที่กำลังก่อหวอดอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ แต่คนรอบข้างไม่มีทางรับรู้ได้เลย ณ เวลานี้สามารถใช้สติสัมปชัญญะระงับยับยั้งไว้ได้ มิฉะนั้น “ความทะยานอยาก” จะทำให้จิตใจของเราสับสนวุ่นวาย และหันหลังให้กับกมลสันดานเดิมที่จิตผ่องใส สงบนิ่ง และอู๋เหวย จากนั้นพัฒนาไปเป็นคำพูดการกระทำและอากัปกิริยาที่ไร้ธรรมะ ทำให้สภาพแวดล้อมอันสงบสุขสับสนวุ่นวาย และเบี่ยงเบนความเรียบง่ายของชีวิตไป


ดังนั้น อย่าดูแคลนความคิดที่มองไม่เห็นประเภทนี้ ความเลวร้ายที่น่ากลัวที่สุดของมนุษย์มักเริ่มจากความคิดที่อยากถือครอง


มูลเหตุแห่งการก่อเกิดความทะยานของมนุษย์อยู่ที่ “จิตอยากครอบครอง” จริงอยู่ มนุษย์จำเป็นต้องมีข้อมูลในการเอาตัวรอดเพื่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ว่าใครก็อยากมีชีวิตที่ดีหน่อย ดังนั้น อยากให้ผู้คนไม่มีจิตสำนึกแห่งการครอบครองเลย เกรงว่าจะเป็นไปไม่ได้... และตัวจิตสำนึกเองก็เสพติดได้ เมื่อมีจิตสำนึกที่เห็นแก่ตัวมากเกิน และจิตสำนึกส่วนรวมอ่อนแอเกินไป “ฉัน” จะกดทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ทุกคนจะมองเห็นแต่สมบัติส่วนตนที่มีบทบาทต่อตนเองเท่านั้น เลือกที่จะมองข้ามความหมายของ “ส่วนทั้งหมด” และประเมินบทบาทของสมบัติร่วมกันที่มีต่อชีวิตต่ำเกินไป


แต่หลายสิ่งหลายอย่างเป็นได้เพียงครอบครองร่วมกันเท่านั้น เช่น แสงแดด สายฝน อากาศ แหล่งน้ำ และระบบนิเวศตามธรรมชาติ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ไม่อาจทำให้เป็นสมบัติส่วนตนได้ มิฉะนั้น จะนำภัยพิบัติมาสู่โลกมนุษย์อย่างแน่นอน


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1382)

* * *


** 做人做事要有道,但千万不要自称有道,即便得到他人赞美说自己有道,也要当作是别人对自己的鼓励,只有不断地修正完善自己才是正道。这世上没有什么人有资格自称有道的。自以为正宗,自以为有道往往是离道万里。专注研究“道”,“先天地而生”的道。此为不虚之学。《道德经》最厉害的就是看似都是大白话,没有什么深奥,但它直达本源。道德经“学与用”很重要,特别是以行而知之为实修基础。

早安!* * *


17遵循大道法则才是真正的知足富足

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载17


“罪莫大于可欲,祸莫大于不知足,咎莫大于欲得”这三句话是在回答第一段“天下无道,戎马生于郊”背后的原因;而最后一句“知足之足,常足矣”,则是老子在告诉我们方法和结论。


第二段共二十七个字,分为三个层面来阐述:


- 第四层次,最可怕的罪恶往往都是从无形欲望开始的;


- 第五层次,能对治“欲望”的只有“知足常足”;


- 第六层次,遵循大道法则才是真正的知足富足。


第四层面,最可怕的罪恶往往都是从无形欲望开始的。


十、人产生贪欲的根源都在“占有心”上。


“罪莫大于可欲,祸莫大于不知足,咎莫大于欲得”这十九个字无异是老子对贪得无厌的一个强烈抗议!因为,天下有私的原因就是“可欲、不知足、欲得”这三个背道而驰的心态——这三者背后的关键词就是:欲望与占有。


“罪莫大于可欲”


老子说的“罪莫大于可欲”中的“可欲”就是指想要得到的冲动——这是内心的贪欲在蠢蠢欲动,但旁人还无从得知,此时是可以靠理智将其压下来的。否则,“可欲”就会扰乱人的心神,让人背离清静无为的本性,进而落实到言行举止上,用自己这种不道扰乱了祥和的环境、带偏了淳朴的生命。


所以,不要小看这个看不见的念头:人类最可怕的罪恶往往都是从占有的念头开始的!


人产生贪欲的根源就在“占有心”上。确实,人要活着,生存资料是必须的;尤其是大家都想活得好一些,所以,想让人们没有占有意识恐怕不可能……可意识本身也会成瘾!当私有意识太重、共有意识太弱时,“我”就会压倒一切——每个人都只能看到私有财产对自己所起的作用,而选择性忽视了“整体”的意义,低估了共有财产对人生所起的作用。


但很多东西只能是共有的,比如阳光、雨露、空气、水源、自然生态等,这些东西绝不能被私有化,否则,必将引发人类世界的大灾难!


赵妙果,2021年11月17日,第1382天

0 views0 comments
bottom of page