top of page

คำอำนวยพร 17 มกราคม 2565



** อริยบุคคลก็เป็นมนุษย์ ที่มีอารมณ์ มีอุปนิสัย และมีจุดอ่อนเช่นเดียวกับมนุษย์ทั่วไป แต่เขารู้ว่าจะอยู่ร่วมกับจุดอ่อนอย่างไร สามารถปล่อยวางความต้องการส่วนตนได้ อยู่ร่วมกับทั่วหล้าอย่างเข้าอกเข้าใจ  เดินบนเส้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโต ในสายตาของอริยบุคคล ในจิตใจของทุกคนล้วนมีกุมารศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ เขามองทุกชีวิตเป็นลูกของตน ซึ่งจะถนอมรัก สนับสนุน และรอคอยพวกเขา โดยไม่มีวันตั้งตัวเป็นศัตรู


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 48 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการอำนวยพรปีใหม่


[ไม่หยุมหยิมคือการฝึกฝนหลอมหล่อความสงบระหว่างการทำงาน และฝึกฝนความนิ่งท่ามกลางโลกีย์]


ประเด็นที่ 1 ไม่หยุมหยิมคือการฝึกฝนหลอมหล่อความสงบระหว่างการทำงาน และฝึกฝนความนิ่งท่ามกลางโลกีย์


1.1 จะ “ปกครองทั่วหล้า” ได้หรือไม่ สิ่งสำคัญอยู่ที่ “ไม่หยุมหยิม” หรือเปล่า


“การปกครองทั่วหล้าต้องไม่หยุมหยิม หากบ้านเมืองวุ่นวาย ย่อมไร้คุณสมบัติการปกครอง”


ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ห้าพันคำ มีอยู่ 2 บทที่สื่อความหมายถึงการ “ปกครองทั่วหล้า” แต่ความหมายกลับไม่เหมือนกันทั้งหมด


ในบทที่ 29 กล่าวว่า “คิดจะใช้กำลังยึดครองโลก ไม่อาจบรรลุเป้าหมายได้ เพราะโลกอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจใช้กำลัง ถ้าใช้ต้องล้มเหลว ถ้ายึดต้องสูญเสีย” ในที่นี้จะเห็นได้ว่า ท่านเหลาจื่อไม่สนับสนุนการ “ยึดครองโลก” ประโยคนี้เปรียบเสมือนการออก “หนังสือแจ้งเตือนโรควิกฤติ” เพื่อเตือนผู้ที่พยายามยึดครองโลกเหล่านั้นว่า ความเห็นแก่ตัวและทะยานอยากในจิตใจคนไม่อาจควบคุมโลกอันศักดิ์สิทธิ์นี้ได้ หากใช้กำลังบีบบังคับจะเข้าใกล้ความสูญเสียมากขึ้น


ในบทนี้ท่านเหลาจื่อกล่าวอีกว่า “การปกครองทั่วหล้าต้องไม่หยุมหยิม” คำว่า “ต้องไม่หยุมหยิม” คือสูตรยาขนานเอกในการรักษาให้รอดพ้นจากอันตราย ได้ชี้เป็นกุญแจสำคัญว่าจะ “ปกครองทั่วหล้า” ได้หรือไม่ อยู่ที่ว่า “ไม่หยุมหยิม” ได้หรือเปล่า


“ไม่หยุมหยิม” ที่ว่า คือไม่เสแสร้ง ไม่ทำอย่างประมาทเลินเล่อ ไม่ก่อปัญหา ทำแต่สิ่งที่ควรทำ ไม่ทำตามอำเภอใจ กระบวนการ “ปกครองโดยไม่ก่อปัญหา” คือการปลุกความรู้สึกร่วม และสลายความขัดแย้ง กล่าวคือการทำงานตามความยินยอมของทุกคน มิใช่ทำตามความยินยอมของ “ฉัน” เท่านั้น เช่นนั้นทั่วหล้ายังคงเป็น “โลกอันศักดิ์สิทธิ์” ที่สรรพสิ่งทั้งหลายพึ่งพิงอาศัย ทุกคนต่างเดินบนเส้นทางของตน ใช้ชีวิตอย่างสงบสุข เป็นโลกที่เพื่อส่วนรวมมีความเสมอภาคและอิสรเสรีที่คนทั่วไปใฝ่ฝัน


หากคนเราควบคุมและทบทวนตนเองได้ ใช้จิตปกติรับความเป็นจริง ใช้จิตบริสุทธิ์ผ่องใสตื่นรู้ในตนเอง ใช้จิตวิริยะก้าวหน้าชำระล้างจุดอุดตัน เมื่อเขาไม่วุ่นวาย รอบข้างจะสงบเองตามธรรมชาติ เมื่อเขาทำงานและปฏิบัติตนสอดคล้องกับผู้อื่น อยู่ร่วมกับระบบนิเวศธรรมชาติได้อย่างปรองดองและได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน เขาไม่จำเป็นต้องแสวงหาความสงบสุขหรือการสวามิภักดิ์ สนามแม่เหล็กแห่งคุณธรรมหนาแน่นในตัวเขาจะดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาเอง


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 17 มกราคม 2565

(เผยแพร่วันที่ 1442)

* * *


** 圣人也是人,有脾气、有个性、有人类共有的弱点,但他懂得如何与弱点共存,能把私欲放下,将心比心地与天下相处,行化育之道。圣人眼中,每个人心里都住着一个圣洁的小孩,他视一切众生为自己的孩子,永远爱护他们、托起他们、等待他们,而不会与他们对立。

早安!* * *


17无事是在做事中炼静,在红尘中炼定

《道德经》第48章分享暨元旦月祝福》连载17


第四层面,无事是在做事中炼静,在红尘中炼定。


十、能否“取天下”的关键,在于是不是“无事”?


原文:“取天下常以无事,及其有事,不足以取天下”


《道德经》五千言中,有两章出现了“取天下”,但意义却不尽相同。


第二十九章中说:“将欲取天下而为之,吾见其不得已。天下神器,不可为也。为者败之,执者失之。”这里可以看出,老子是不支持“取天下”的。这段话就像开出了《病危通知书》,警告那些试图窃取天下的人:人心中的私欲是驾驭不了天下这个神器的,强行索取就离灭亡不远了。


到本章中,老子又说了:“取天下,常以无事。”其中“常以无事”这四个字则是一道救治良方,点出了能否“取天下”的关键,在于是不是“无事”?


所谓“无事”就是不矫揉造作、不肆意妄为、不滋生事端,只做该做的事,不做自以为是的事。“以无事取天下”的过程是唤醒认同,消融抵触——也就是按照大家的意愿,而非按照“我”的意愿来办事。那么,天下依然是安顿万物众生的“神器”,大家各行其道、安居乐业,那正是苍生梦寐以求的大同世界。


一个人若能自律自省,以平常心接受事实,以清净心觉知自己,以精进心清理卡点,他无事,周围也自然安稳。当他做人做事符合与他人、与自然生态和谐共存的长远利益时,他不必去求太平、求归附,他自身厚德的磁场就已经将一切都吸引过来了。


赵妙果,2022年1月17日,第1442天

1 view0 comments
bottom of page