คำอำนวยพร 18 กันยายน 2564
Updated: Oct 11, 2021

** ผู้มีเต๋ามีลักษณะเป็นอย่างไร? คนธรรมดาเป็นอย่างไร? เส้นทางลับของผู้มีเต๋าและคนธรรมดาคืออะไร ? เราควรเดินไปในทิศทางไหน? ผู้คนมักเดินไปตามทางโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ คือทิศทางที่ "เต๋าให้กำเนิดหนึ่ง หนึ่งให้กำเนิดสอง สองให้กำเนิดสาม สามให้กำเนิดสรรพสิ่ง" นี่คือลักษณะของมหาชน มหาชนมักบุกไปข้างหน้าพร้อมกับกิเลส ในทางกลับกัน ผู้มีเต๋าจะปล่อยวางทุกสิ่ง แล้วเดินย้อนกลับบนเส้นทางกลับบ้านที่ "คนเจริญรอยตามดิน ดินเจริญรอยตามฟ้า ฟ้าเจริญรอยตามเต๋า เต๋าเจริญรอยตามธรรมชาติ" สุดท้ายกลับคืนสู่ธรรมชาติ ธรรมชาติคือความสงบนิ่ง เป็น "วิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า"
อรุณสวัสดิ์ ***
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 44 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งพลัง
[ยึดติดมากเกินไป กลับจะได้รับผลเสียจากสิ่งนั้น]
1.2 หากเกินความสามารถในการรองรับของตน ต่อให้เป็นของดีอย่างไรย่อมนำผลด้านกลับมาให้
“ตระหนี่เกินไปจะสิ้นเปลืองมาก” และ “สมบัติล้นฟ้ากลับเสียหายยับเยิน” ทั้งสองประโยคนี้ล้วนหมายถึงการเหนื่อยเพื่อ “วัตถุ” และป่วยเพราะ “วัตถุ” ท่านเหลาจื่อกล่าวไว้ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ทั้งบทที่ 24 และ 31 ว่า “ผู้คนรังเกียจ ดังนั้น ผู้มี ‘เต๋า’ ไม่พึงกระทำ”
คำว่า “วัตถุ” นี้ หมายถึง สิ่งที่อยู่นอกเหนือจิตใจ กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่นอกเหนือจากความจริงใจแห่งกมลสันดาน ในสายตาของท่านเหลาจื่อ ล้วนเป็น “วัตถุ” ทั้งนั้น แม้แต่การเกิดความคิดก็เป็น “วัตถุ” ผู้มีเต๋าจะไม่มีภาวจิตที่อาลัยอาวรณ์ต่อวัตถุภายนอก และจะไม่ควบคุมด้วยพฤติกรรม การมาเยือนของวัตถุภายนอกเหล่านี้ เพียงเพื่อความต้องการของการปฏิบัติตามเต๋าและดำเนินชีวิตต่อไปได้ ผู้มีเต๋าจะมองเห็นอย่างมีสติเสมอว่า พวกมันเสมือนคลื่นที่อยู่กลางมหาสมุทร ซึ่งจะถีบตัวสูงขึ้นและสลายไปได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นมาหยุดยั้งจิตใจที่อิสรเสรีของตน แล้วทำให้ท่อส่งพลังงานอุดตัน
ระหว่างชื่อเสียงกับร่างกาย และร่างกายกับทรัพย์สิน หากคนเราเลือกให้ความสำคัญกับร่างกาย แม้ว่าจะเป็นการเลือกที่ดีมาก แต่ยังคงไม่ได้บรรลุถึงสภาวะลืมอัตตา เพราะผู้ที่ลืมอัตตานั้นจะหลอมรวม “ตนเอง” เข้าสู่ส่วนทั้งหมด ในสายตาของเขา ทุกคนและทุกเรื่องคือ “ฉัน” เขาจะใส่ใจแต่ความปรองดองของส่วนทั้งหมด และได้ละทิ้ง “ฉัน” ที่เป็นตัวบุคคลไปแล้ว หากไม่มี “ฉัน” ที่เป็นตัวรองรับ เขาจะไม่ยึดติดกับร่างกาย ชื่อเสียง ผลประโยชน์ และผลได้เสียที่แนบติดมากับ “ฉัน” อีกต่อไป คนเช่นนี้จึงจะเรียกได้ว่า “ด้วยรักถนอมโลกดังชีวิตตน จึงฝากโลกให้เขาดูแล” ตามที่ท่านเหลาจื่อกล่าวไว้ สภาวะเช่นนี้ ผู้ที่ไม่ลืมอัตตาจะไม่อาจทำได้
ดังนั้น ผู้มีเต๋ามิใช่ไม่ให้ความสำคัญกับวัตถุภายนอก ร่างกาย หรือชีวิต ดังเช่นที่ท่านเหลาจื่อกล่าวในบทที่ 24 ว่า “พฤติกรรมเหล่านี้คือเนื้อร้ายเศษขยะ” (เศษอาหารเหลือ) อาหารยังเป็นสิ่งที่เราต้องรับประทาน หากไม่รับประทานจะไม่อาจรักษาชีวิตไว้ได้ แต่อย่ารับประทานมากเกินไป มิเช่นนั้น จะเดินไม่ไหว ดังนั้น คำว่า “ตระหนี่” ท่านเหลาจื่อต้องการบอกเราว่า ให้ถนอมรักปัจจุบัน แต่อย่าโลภ ส่วนคำว่า “สมบัติล้นฟ้า” ต้องการบอกเราว่า มีพอใช้ก็พอแล้ว อย่าได้มีมากเกินไป ท่านเหลาจื่อต้องการให้ทั่วหล้ารู้ว่า การนินทาและชมเชย การได้และการเสียชื่อเสียงเกียรติยศไม่ควรค่าแก่การใส่ใจ ทรัพย์สมบัติและความสนุกสนานไม่คู่ควรกับการอาลัยอาวรณ์ หากยึดติดกับสิ่งเหล่านี้มากเกินไป กลับจะได้รับผลร้ายจากมัน
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 18 กันยายน 2564
(เผยแพร่วันที่ 1323)
* * *
** 一个道者是什么样的,而一个俗者什么样的,道者与俗者的修行秘诀路径是什么?我们应该往哪个方向走?人们往越来越俗的方向去走,往”道生一,一生二,二生三,三生万物”这个方向,这是变成众生相,众生必然是拿起屠刀往前砍。反过来,一个道者是放下这一切,回头走,“人法地,地法天,天法道,道法自然”,走上回家的路,最后归到自然,自然就是清静,是为“天下正”。
早安!***
18执着过甚,就会反受其害
《道德经第44章分享暨能量月祝福》连载18
其次,超过了自己的承载力,再好的东西也会带来负面效果。
“甚爱必大费”与“多藏必厚亡”这两者都是为“物”所累、因“物”而病!老子在《道德经》第二十四和第三十一章中都说过:“物或恶(wù)之,故有道者不处。”
这个“物”就是指心外之物——也就是说,除了真心本性之外的一切,在老子眼里都是“物”,连起心动念也是“物”。有道者对于外物既不会在心态上贪恋,也不会在行为上把持。这些外物的到来,只是为了行道所需或生命所历,有道者始终清醒地看到它们就像大海中的浪花一样,随时升起、也随时湮灭,所以不会让自己一颗自由自在的心因为它们而出现凝滞,从而堵塞能量流经的通道。
如果一个人在名与身、身与货之间,能选择以身为重,这虽然很好,但仍然没有达到忘我的境界。因为,忘我的人是把“自己”融入到了整体中,他眼里的每个人、每件事都是“我”;他只关心整体的和谐,早已经把个体的“我”抛诸脑后。没有了“我”作为载体,他就不会去执着于附着在“我”之上的身体、名利、得失了。这样的人才能称之为老子所说的“爱以身为天下,若可托天下”的人——这种境界,没有忘我的人是不可能做到的。
所以,有道者并非不重视外物、身体或生命。就像老子在第二十四章中所说的“余食赘行”一样,饭是要吃的,不吃不能维系生命;但不能吃多,吃多了反而走不动了。因此,老子在“爱”前面加了一个“甚”字,就是告诉我们:要珍惜当下,但不要贪恋;在“藏”前面加了一个“多”字,就是告诉我们:够用就行了,但不要过度。老子是要让天下知道:毁誉得失不足以挂怀,财货享乐不值得留恋,这些东西执着过甚了,就会反受其害。
赵妙果,2021年09月18日,第1323天