คำอำนวยพร 19 กุมภาพันธ์ 2565

** การฝึกปฏิบัติมิใช่เรื่องปาฏิหาริย์ มิใช่การแสวงหาวัตถุภายนอกในแนวราบ แต่เป็นการยกระดับจิตภายในในแนวตั้ง สภาวะที่สอดคล้องกับเต๋ามิได้หล่นลงมาจากฟากฟ้า แต่ต้องใช้การสั่งสมคุณธรรมมากๆ เพื่อก่อเป็นบันไดเดินขึ้นไปทีละขั้น เมื่อทักษะถึงระดับที่เหมาะสม การเผาผลาญพลังงานภายในชั้นสมองจะหายไป ความคิด คำพูด และการกระทำของเราจะอยู่ท่ามกลางเต๋าแล้ว การบรรลุเต๋ามิใช่การได้รับอะไร แต่เป็นการหลอมรวมตนเองเข้ากับเต๋า นี่คือการยกระดับตนเองหรือเรียกว่าการสลายตัวตน
คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์
จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 49 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์
[ผู้มีเต๋าจะให้อภัยทุกสิ่งทุกอย่างเสมอ]
ตอนที่ 2 มีเนื้อความว่า “ดังนั้น อริยบุคคลวางตนมีจิตหนึ่งใจเดียวกับคนทั่วหล้า ปวงชนต่างมองและฟังซึ่งกันและกัน อริยบุคคลถือปวงชนเป็นลูกหลานของตน” ใจความสำคัญของตอนที่ 2 นี้ อธิบายว่าอริยบุคคลคือแบบอย่างและลูกหลานของประชาชน
ตอนนี้แบ่งการอธิบายออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
- ประเด็นที่ 1 สภาวะที่ราบเรียบไร้ปัญหา คือสิริมงคลอันยิ่งใหญ่ที่สุด
- ประเด็นที่ 2 สภาวะสูงสุดของชีวิต ธุรกิจการค้า และการดำเนินชีวิตคือจิตแห่งประชาชน จิตหนึ่งใจเดียวกับคนทั่วหล้า และจิตแห่งลูกหลาน
- ประเด็นที่ 3 การลงมือทำจริงคือพื้นฐาน การฟันฝ่าต่อสู้คือสิ่งสำคัญ เส้นทางแห่งความสำเร็จ มีวิถีที่ถูกต้องของตนเอง
ประเด็นที่ 1 สภาวะที่ราบเรียบไร้ปัญหา คือสิริมงคลอันยิ่งใหญ่ที่สุด
1.1 ผู้มีเต๋าจะให้อภัยทุกสิ่งทุกอย่างเสมอ
อริยบุคคลวางตนมีจิตหนึ่งใจเดียวกับคนทั่วหล้า
อริยบุคคลมีภาพลักษณ์ภายนอกอยู่ 2 ประการ หนึ่งคือ “การวางตน” สองคือ “มีจิตหนึ่งใจเดียวกับคนทั่วหล้า”
อักษรคำว่า “วางตน” ( 歙อ่านว่า ซี Xī ) มีความหมายครอบคลุมถึงมีการหดตัว และดูดเข้า “การวางตน” เปรียบเสมือนการหุบพัด ผู้มีเต๋าจะเจียมเนื้อเจียมตัว เก็บซ่อนผลงานและปิดบังชื่อเสียง เมื่อเขาเหลือพื้นที่ภายนอกไว้ให้ผู้อื่น ภายในใจกลับมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลที่รองรับได้ทุกสิ่ง และสามารถทำได้ว่า “ผู้มีสัจจะข้าให้ความเชื่อถือ ผู้ไร้สัจจะข้าก็จริงใจ”
คำว่า “จิตหนึ่งใจเดียว” ในประโยคที่ว่า “มีจิตหนึ่งใจเดียวกับคนทั่วหล้า” มีความหมายของความกลมกลืน ทั้งมวล เรียบง่าย และลึกล้ำแฝงอยู่ อริยบุคคลไม่ถือการได้ชื่อเสียง ผลประโยชน์เงินทองหรือวัตถุเป็นมาตรฐานในการทำงานต่าง ๆ แต่ถือความรู้สึกส่วนทั้งหมดของมหาชนที่ใฝ่ฝันสันติภาพและรอคอยความผาสุกเป็นความปรารถนาของตน “จิตหนึ่งใจเดียว” ยังหมายถึงความเสมอภาค หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นโชคหรือภัย สำเร็จหรือล้มเหลว ดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด ก็ล้วนให้อภัยได้ ในสายตาของอริยบุคคล คนดีน่าเคารพ คนไม่ดีน่าสงสาร แม้การแสดงออกทางอารมณ์จะแตกต่างกัน แต่ธาตุแท้ของความเป็นคนกลับเหมือนกัน ดังนั้น เขาจึงให้อภัยได้ตามธรรมชาติ นี่คือ “มีจิตหนึ่งใจเดียวกับคนทั่วหล้า”
อันที่จริง ฟ้าดินที่ให้กำเนิดสรรพสิ่ง ให้กำเนิดทั้งความงามและความอัปลักษณ์ ให้กำเนิดทั้งยาบำรุงและยาพิษ ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ล้วนรวมอยู่ในการให้กำเนิดและการเจริญเติบโตของมัน หากคนเราจะฝึกฝนคุณธรรม ต้องปฏิบัติตามจิตใจของฟ้าดิน จึงจะบรรลุถึงสภาวะของอริยบุคคลที่ “มีจิตหนึ่งใจเดียวกับคนทั่วหล้า” ผู้ใดทำได้ ผู้นั้นคืออริยบุคคล
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565
(เผยแพร่วันที่ 1475)
* * *
** 修行并不神奇,它不是横向的外物抓取,而是纵向的内心提升。合道的境界不是天上掉下来的,而是用重积德搭好梯子,一步一步走上去的。一旦功夫到位,头脑层的内耗就会消失,我的心念言行就在道中了。得道不是得到什么,而是把自己融入道中,这是自我升华或叫自我消失。无我成就大我!无私成就大私!
早安!* * *
19一个有道的人,始终包容一切
《道德经》第49章分享暨播种月祝福》连载19
圣人在天下,歙歙焉为天下浑其心。
百姓皆注其耳目,圣人皆孩之。
本章第二段共二十六个字,着重讲了圣人是百姓的榜样、人民的儿子。本段共分三个层面来阐述:
第四层面,平淡无事的状态,就是最大的吉祥;
第五层面,生命、生意、生活的最高境界是百姓心、浑其心、孩之心;
第六层面,实干为本,奋斗为要,成功之路,自有正道。
第四层面,平淡无事的状态,就是最大的吉祥。
十、一个有道的人,始终是包容一切的。
圣人在天下,歙歙焉为天下浑其心。
圣人的外在形象有两个:一是“歙歙焉”,二是“为天下浑其心”。
“歙”有收缩、吸进、包含之意。“歙歙焉”就像扇子合拢一样,有道之人会收敛自己,藏功匿名。当他把外面的空间留给别人时,内心反而拥有了广阔天地,能包容一切,做到“不善者吾亦善之,不信者吾亦信之”。
“为天下浑其心”中的“浑”有混同、全然、淳朴、深厚的含义。圣人不以名利财货的得到为行事标准,而以众生向往和平、期待幸福的整体意识为自己的心愿。“浑”也指平等,表示祸福成败、善恶是非都能包容。圣人眼里,善人可敬,坏人可怜,这些情感的表达虽不同,但人性的本质却一样,所以他很自然地就包容了,这就是“为天下浑其心”。
其实,天地生万物,既生了美,也生了丑,既生了补药,也生了毒药,不论好坏,都在它的涵容化育中。人要修道养德,就要效法天地之心,才能达到“为天下浑其心”的圣人境界。谁做到了,谁就是圣人。
赵妙果,2022年2月19日,第1475天