คำอำนวยพร 19 พฤศจิกายน 2564

** เต๋า มีไว้ประยุกต์ใช้ มีเพียงการทำได้เท่านั้นจึงจะได้รับ ในคัมภีร์เต้าเต๋อจิงบทที่ 2 ท่านเหลาจื่อได้เสนอแนวคิดที่สำคัญมาก คือ อู๋เหวย "อู๋เหวย" คืออะไร คัมภีร์เต้าเต๋อจิงบทที่ 48 ให้คำตอบแก่เราว่า"รู้เพิ่มเมื่อศึกษา ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย ลดน้อยและลดน้อยลง ลุถึงภาวะ 'อู๋เหวย' กลับประสบความสำเร็จทุกประการ" คือการกล่าวถึงการทำความรู้จักเรื่องราวและเหตุการณ์ของมนุษย์ คือกระบวนการในการฝึกปฏิบัติจริง จนรู้จัก แล้วฝึกปฏิบัติจริงอีก จากนั้นก็รู้เพิ่มอีก กระบวนการนี้คือกระบวนการในการจัดระเบียบและสรุปด้วยการ "รู้เพิ่มเมื่อศึกษา" ส่วน "ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย ลดน้อยและลดน้อยลง ลุถึงภาวะ 'อู๋เหวย' กลับประสบความสำเร็จทุกประการ" คือการใช้ "อู๋เหวย" กลับสามารถทำให้สรรพกิจและสรรพสิ่งทั่วหล้า "รู้เพิ่มเมื่อศึกษา" ได้
อรุณสวัสดิ์ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว
[จิตใจของเราเป็นผู้กำหนดทิศทางการเดินของชีวิตเอง]
1.2 เมื่อเสพติดจิตสำนึกแห่งการครอบครอง จะกลายเป็นการกระทำจริง
“ไม่มีผิดใดยิ่งกว่าความโลภ”
ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า สิ่งที่อันตรายกว่า “ผิดหนักที่สุดคือเห็นแก่ตัวและทะยานอยาก ภัยใหญ่หลวงคือไม่รู้จักพอ” คือ “ไม่มีผิดใดยิ่งกว่าความโลภ” หากกล่าวว่า “ความทะยานอยาก” และ “ไม่รู้จักพอ” ยังคงเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจ เช่นนั้น “ความโลภ” จึงได้เริ่มโผล่ให้เห็นสิ่งที่เป็นเบาะแสในพฤติกรรม ทำให้คนรอบข้างรู้สึกได้แล้ว หากกล่าวว่า “ความทะยานอยาก” และ “ไม่รู้จักพอ” ถือเป็นคำคุณศัพท์ ถ้าเช่นนั้น “ความโลภ” ก็เป็นคำกริยาที่น่ากลัวแล้ว
“ความโลภ” เริ่มจากความอยากได้ กลายเป็นความต้องการในทันที หากไม่อาจเติมเต็มได้ จะเป็นสภาวะที่ต้องลงมือด้วยตนเองแล้ว เมื่อถึงเวลานั้น จะไม่อาจเก็บกดความต้องการไขว่คว้าและความโลภไว้ได้แล้ว นอกจากจะใช้วิธีการเตือนสติที่รุนแรง เพราะความทะยานอยากในเวลานั้นทำให้จิตใจร้อนรนจนยากที่จะทนได้ ถึงขั้นถ้าไม่ได้มาจะไม่สบายใจ ดังนั้น “ความโลภ” ไม่เพียงแต่จะไร้ขีดจำกัด แต่ยังไม่มีสติสัมปชัญญะด้วย หากไม่ระวัง จะทำให้ตนมีจุดจบที่น่าเศร้าอันไม่อาจหวนคืนได้อีก
ตัวความ “อยากได้” เองอาจไม่ผิด แต่มนุษย์ต้องวางจิตของตนให้ถูกตำแหน่ง ท่านเหลาจื่อคัดค้าน “ความโลภ” มิได้หมายความว่าเราต้องปฏิเสธสิ่งที่ตนสมควรได้ แต่เป็นการเตือนเราว่า อย่ามีความคิดที่เกินเลย มีความคาดหวังแต่ไม่ลงมือทำ กลับ “ได้มาก”
คำกล่าวที่ว่า “สุภาพชนจะรับเงินอย่างถูกต้อง” กล่าวคือ การที่จะได้ชื่อเสียง ผลประโยชน์และทรัพย์สินเงินทองต้องสอดคล้องกับเต๋า ถูกต้องตามกฎหมาย ชอบธรรมและสมเหตุสมผล เช่นนี้จึงจะสบายใจได้ ขณะเดียวกัน ทรัพย์สินเงินทองมิใช่เป็นของใคร แต่เป็นความเชื่อมั่นที่สวรรค์มอบให้แก่ผู้ที่จัดการเงินทองได้ดี ความมั่งคั่งมีคุณสมบัติในการหมุนเวียนและให้บริการ ดังนั้น จึงต้องเป็นของสังคมและใช้ในสังคม ความมั่งคั่งคือดาบสองคม หากปฏิบัติตามคุณสมบัติของมัน ความมั่งคั่งจะนำความผาสุกมาสู่ผู้ครอบครอง แต่หากละเมิด โดยพยายามยึดถือเป็นของตน ความมั่งคั่งจะนำภัยพิบัติมาสู่ผู้ครอบครอง
อันที่จริง วัตถุภายนอกไม่อาจนำภัยพิบัติมาสู่เราได้ แต่จิตใจของเราเป็นผู้กำหนดทิศทางการเดินของชีวิตเอง
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564
(เผยแพร่วันที่ 1384)
* * *
** 道,是拿来用的;唯有做到,才能得到。道德经第二章中,老子提出了一个非常重要的概念:无为。何谓“无为”?道德经第四十八章中能给到我们答案即:“为学日益,为道日损,损之又损,以至于无为,无为而无不为。” 就是说人类对事物的认识,是一种实践、认识、再实践、再认识的过程,这种过程是“为学日益”归纳推理过程。“损之又损,以至于无为,无为而无不为”,就是用“无为”反过来可以演绎出天下“为学日益”的万事万物。
早安!* * *
19自己的发心,决定了生命的走向
《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载19
十一、一旦占有意识成了瘾,就会落实到行动上。
“咎莫大于欲得”
老子说,比“罪莫大于可欲,祸莫大于不知足”危害更大的,就是“咎莫大于欲得”了——如果说“可欲”和“不知足”还是内心的变化,那“欲得”就已经开始在行为中露出端倪,让旁人有所感觉了;如果说“可欲”和“不知足”算一个形容词的话,那“欲得”就是一个可怕的动词了!
“欲得”就是从想要,转变到了立刻就要;如果不能被满足,那就要自己动手的状态了。这时候,除非被当头泼一盆冷水,否则他那股想要抓取的贪婪劲儿已经根本无法压抑了——因为,此时的欲望已经强烈到让人心痒难熬、不取不快的地步了。所以“欲得”不但没有底线,而且还没有理智,一不小心,就会让自己陷入万劫不复的可悲下场中。
“想得到”本身也许没有错,但人必须摆正自己的位置!老子反对“欲得”,并不是说人们连自己应该得到的东西也不要,而是告诫人们:不要抱非分之想,指望不劳却“多得”。
所谓“君子爱财,取之有道”就是说:获取名利财货要合道、合法、合理、合情,这样才能心安理得。同时,财富不属于任何人,它是上天交给善于理财者的信托——财富的属性是流动性和服务性。因此,它必须取之于社会,也用之于社会。财富是一把双刃剑,顺应它的属性,财富就会为拥有者带来幸福;违背它的属性,试图将它据为己有,那就要接受它为拥有者带来的灾祸。
实际上,外物并不会给人降灾惹祸,是人自己的发心,决定了生命的走向。
赵妙果,2021年11月19日,第1384天