คำอำนวยพร 19 มิถุนายน 2565 (ไม่มีอรุณสวัสดิ์)
*

ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 53 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งอู๋เหวย
[คนเราจะมีความสุข ต้องไม่โลภเด็ดขาด]
“เมื่อบ้านเมืองเสื่อมโทรม ไร่นารกร้าง พระคลังว่างเปล่า กลับใส่เสื้อผ้าหรู คาดกระบี่ กินดื่มเลิศรส ทรัพย์สินมีเหลือเฟือ”
คนเราจะมีความสุข ต้องไม่โลภเด็ดขาด ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” บทที่ 29 กล่าวว่า “อริยบุคคลต้องละทิ้งความสุดโต่ง ละทิ้งความฟุ่มเฟือย และความหลงระเริง” อริยบุคคลต้องขจัดพฤติกรรมที่เกินพอดี มากเกินไป และสุดโต่งออกให้หมด จึงจะเดินบนทางสายใหญ่ได้ สำหรับพวกเราแล้ว ต้องเดินบนวิถีที่ถูกต้อง จึงจะมีอิสรเสรีและสมบูรณ์ ในทางกลับกัน หากมีพฤติกรรมอย่างโจรซึ่งมิใช่เต๋า ท่านเหลาจื่อได้จำแนกพฤติกรรมออกเป็น 7 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. “บ้านเมืองเสื่อมโทรม” หมายถึง หากจิตใจผู้คนไร้เต๋า จะปล่อยความโลภ โกรธหลงซึ่งเป็นมลพิษสู่ภายนอกอย่างต่อเนื่อง สภาวะของชีวิตคือภาพสะท้อนของจิตภายใน หากความคิดไม่บริสุทธิ์ พฤติกรรมก็ยากจะสูงส่งได้
2. “ไร่นารกร้าง” คือผลต่อเนื่องจาก “บ้านเมืองเสื่อมโทรม” หมายถึง กิจการงานที่ถูกต้องถูกทิ้งร้าง จิตใจสับสน ไม่รู้ว่าสิ่งที่ควรทำคืออะไร
3. “พระคลังว่างเปล่า” เป็นผลที่เกิดจาก “ไร่นารกร้าง” หมายถึง เมื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามฤดูกาลได้สมบูรณ์ดีพระคลังจึงจะเต็มเปี่ยม หากไร่นารกร้างพระคลังย่อมว่างเปล่า หากคนเราไม่คิดการณ์ไกล เฉพาะหน้าย่อมต้องมีความกังวล หากไม่อาจมีแผนงานที่รอบด้านได้ มัวแต่บริโภค ไม่ทำการผลิต เสบียงเก่าที่สั่งสมมาย่อมต้องหมดเกลี้ยง
4. “กลับใส่เสื้อผ้าหรู” สอดรับกับประโยคที่ว่า “บ้านเมืองเสื่อมโทรม” หมายถึง ไม่ใส่ใจประโยชน์การใช้สอยที่เป็นจริง แต่กลับนิยมการตกแต่งสวยงามหรูหรา เสื้อผ้าอาภรณ์มีลวดลายวิจิตรสีสันสวยงาม
5. “คาดกระบี่” หมายถึง ไม่ให้ความสำคัญต่อเต้าเต๋อ ชอบใช้กำลัง ไม่ใช้คุณธรรมให้คนยอมรับ แต่ใช้อำนาจข่มเหง
6. “กินดื่มเลิศรส” สอดรับกับประโยคที่ว่า “ไร่นารกร้าง” หมายถึง การกินดื่มอย่างเต็มที่ ใช้ชีวิตอย่างมัวเมา แม้แต่อาหารป่าอาหารทะเลอันเลิศรสยังกินจนจุกและเบื่อ
7. “ทรัพย์สินมีเหลือเฟือ” สอดรับกับประโยคที่ว่า “พระคลังว่างเปล่า” เพชรนิลจินดา เงินทองและเสื้อผ้าอาภรณ์คือ “ทรัพย์สิน” เก็บสะสมไว้มากจนมี “เหลือเฟือ” “ทรัพย์สินมีเหลือเฟือ” หมายถึง หลงลืมภารกิจแห่งชีวิตของตนไปนานแล้ว แต่กลับถลำสู่การบำรุงเลี้ยงชีวิตจนกินดีอยู่ดี และลุ่มหลงกับชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม
ปรากฏการณ์ทั้ง 7 นี้ เป็นการใช้ประวัติศาสตร์เป็นกระจกเงา ให้เราเห็นผลได้เสียได้อย่างชัดเจน เราทุกคนล้วนเป็นเจ้าเมืองแห่งทั่วหล้าของตน เราควรบริหารชีวิตอย่างไร เพื่อทำแบบฝึกหัดชีวิตของการอยู่ดีและไปดีให้สำเร็จ เราต้องเป็นคนหาคำตอบด้วยตนเอง คนเราจะยอมรับข้อสรุปที่ตนอนุมานไว้ได้ง่ายที่สุด เมื่อยอมรับแล้วจึงทำได้
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 19 มิถุนายน 2565
(เผยแพร่วันที่ 1596)
* * *
19人要幸福,绝不能贪
《道德经》第53章暨无为月19
原文:“朝甚除,田甚芜,仓甚虚;服文采,带利剑,厌饮食,财货有余。”
人要幸福,绝不能贪!《道德经》第二十九章中说:“圣人去甚,去奢,去泰。”圣人都要把过当、过分、过度的行为全部清除,才能行于大道,更何况我们?走正道,人才能自在圆满;若反过来,就是非道的强盗行径,在此老子主要列明了七类:
第一,“朝甚除”表示,人心若无道,就会不断地向外释放贪瞋痴的污垢。生命状态是内心的投影,思想若不洁净,行为也很难高尚。
第二,“田甚芜”是“朝甚除”的连带反应,表示荒废正业,心中迷茫,不明白什么是份内之事。
第三,“仓甚虚”是“田甚芜”造成的后果,表示岁丰才能库实,农费必然仓虚。人无远虑必有近忧,若不能在一件事上深耕,总是等米下锅,必然是坐吃山空。
第四,“服文采”与“朝甚除”对应,表示不重视实际功用,而崇尚华美装饰。古代,青赤为“文”,色丝为“采”,这都是指衣服上繁复的纹路和绚丽的色彩。
第五,“带利剑”表示,不重道德,好武功;不以德服人,而以威势压人。
第六,“厌饮食”与“田甚芜”对应,表示大吃大喝,醉生梦死,连山珍海味都吃撑了、吃腻了。其中的“厌”同饫(yù),指饱食。
第七,“财货有余”与“仓甚虚”对应,珠宝钱帛为“财货”;多藏厚敛为“有馀”。“财货有余”表示早已忘记了自己的使命,而沉沦于养尊处优、纸醉金迷的生活。
这七个现象,是以历史为镜,让我们明得失。每个人都是自己这方天下的君王,该如何来管理人生?完成活好、走好的生命功课?答案必须由自己得出。人对于自己推理出的结论,最容易认可,认可了才能做到。
赵妙果,2022年6月19日,第1596天