top of page

คำอำนวยพร 20 กันยายน 2564

Updated: Oct 11, 2021


** ฟ้าสดใสดินสงบ  หมายถึงในระบบจักรวาลมีพลังสะอาดสดใสเพิ่มขึ้น  พลังสกปรกขุ่นมัวน้อยลง  พลังหยางเพิ่มขึ้น  พลังหยินลดลง  ทั้งยังแลกเปลี่ยนความรู้สึกถึงกันและกัน  เป็นสภาวะการเคลื่อนไหวที่ให้การหล่อเลี้ยงสรรพสิ่ง  หากในอากาศมีมลพิษมากอยู่ตลอด  บนพื้นโลกมีภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหวอยู่ตลอดเวลา  เช่นนั้นสรรพสิ่งย่อมต้องได้รับผลกระทบ


ร่างกายมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน  หากพลังขุ่นมัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พลังที่ใสสะอาดจะเพิ่มขึ้นไม่ได้  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายแน่นอน  นอกจากนี้ยังส่งผลต่ออารมณ์ไปจนถึงพฤติกรรมของคนเรา


หากคนเราไม่สามารถรักษาความสงบนิ่งไว้ได้  จิตใจจะร้อนรน  สร้างความวุ่นวายสับสน  มีคำกล่าวว่า "ความมุทะลุคือปิศาจ" เมื่อผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมมีจิตใจร้อนรน  สังคมจะมีวันที่สงบสุขได้อย่างไร? "การกีฬาชนะความหนาวเหน็บ  นิ่งชนะร้อนแรง  สงบนิ่งเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า"  เมื่อสรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงจนท้ายที่สุดแล้วย่อมต้องกลับสู่ความสงบนิ่ง  ความสงบนิ่งจึงจะเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า


อรุณสวัสดิ์ ***


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 44 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งพลัง


[การรู้จักพอและหยุด คือจุดสำคัญของชีวิตที่ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่]


ประเด็นที่ 2 การรู้จักพอและหยุด คือจุดสำคัญของชีวิตที่ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่


2.1 ขอเพียงรู้หยุดได้เหมาะ จะไม่มีภัยพิบัติร้ายรุนแรง


“รู้จักพอไม่อดสู รู้หยุดได้เหมาะไม่มีภัยร้าย จึงอยู่เย็นเป็นสุขยาวนาน”


“รู้จักพอไม่อดสู รู้หยุดได้เหมาะไม่มีภัยร้าย” หมายถึง มีเพียงผู้ที่รู้จักพอและหยุด ร่างกาย ชีวิต และธุรกิจการงานจึงอยู่เย็นเป็นสุขยาวนาน ชีวิตคนเราต้องรู้จักการหยุดในเวลาที่เหมาะสม เพราะการรู้จักพอและหยุดคือปัจจัยสำคัญของความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ มิเช่นนั้น หากเอาแต่ตำหนิถ่ายเดียวจนเกินเลย แสวงหาแต่ความยิ่งใหญ่และแข็งแกร่ง ทันทีที่ก้าวล้ำเส้น สุดท้ายมักทำให้สิ่งที่ทำไปทั้งหมดสูญเปล่าไปด้วย


คำว่า “ตระหนี่” ที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ หมายถึง ชื่อเสียง “สมบัติล้นฟ้า” หมายถึง ทรัพย์สินเงินทอง คำว่า “รู้จักพอ” หมายถึง ด้านจิตใจ เป็นการกล่าวถึงผลลัพธ์ ส่วนคำว่า “รู้หยุด” หมายถึง พฤติกรรม และเป็นการกล่าวถึงกระบวนการ ขณะเดียวกัน คำว่า “รู้จักพอ” หมายถึง สิ่งที่มองจากมุมมองของ “เต๋า” เหล่านั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ก็ต้องควบคุมไว้ในระดับที่จำกัด อย่าปล่อยให้มันเกินขีดจำกัดจน “วัตถุพัฒนาถึงที่สุดย่อมย้อนกลับ” ส่วนคำว่า “รู้หยุด” หมายถึง สิ่งที่มองจากมุมมองของ “เต๋า” ขอเพียงเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ก็หยุดทำทันทีอย่างเด็ดเดี่ยว อย่าถูกความเคยชิน ความดื้อดึง หรือความโลภนำพาตนเองไปสู่ทางตันจนหวนกลับไม่ได้ เพราะไม่ว่าเรื่องใด ๆ ล้วนมีขีดจำกัดในการพัฒนา หากเกินขีดจำกัด เหตุการณ์จะเปลี่ยนเป็นด้านกลับแน่นอน


ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ท่านเหลาจื่อมิได้กล่าวถึงประเด็นนี้เพียงครั้งเดียว ในบทที่ 9 ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า “เอาเสียจนล้นปรี่ มิสู้รับพอดีไว้ มีดคมแหลมปลาย คงคมได้ไม่นาน มีหยกมีทองเต็มหอ ใครหนอรักษาไว้ได้ ยโสสูงศักดิ์กว่าใคร นำภัยสู่ตน มิสู้ถอนตัวเมื่อสัมฤทธิ์ผล นี่คือวิถีเต๋าเอย” คำกล่าวตอนนี้ให้เราค้นหาจนเข้าใจลึกซึ้งถึงการเดินหน้าและถอยหลังของโลกมนุษย์จากกฎธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางสังคม


ในโลกธรรมชาติ ดวงอาทิตย์ขึ้นครบเที่ยงย่อมคล้อยบ่าย ดวงจันทร์มีเต็มย่อมมีเสี้ยว ในโลกมนุษย์เรา เมื่อมีความเจริญถึงที่สุดย่อมเสื่อมถอย เมื่อเสื่อมโทรมถึงที่สุดความเจริญจะตามมา ท่านลองดูสิว่า นับแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ผู้มีทรัพย์สินเงินทองเต็มบ้าน และอำนาจล้นฟ้า มีใครบ้างที่เจริญรุ่งเรืองได้ยาวนานไม่เสื่อมถอย ที่น่าเสียดายคือ แม้ว่าเหตุผลจะแบอยู่เบื้องหน้า แต่คนทั่วไปเมื่อมั่งคั่งร่ำรวยแล้ว ยังยากที่จะไม่ยโสโอหัง และเมามัวในสุรานารี เพราะไม่รู้จักพอและไม่รู้จักหยุด จึงนำภัยพิบัติมาสู่ตน ในความเป็นจริง วิธีการหล่อหลอมชีวิตที่ดีที่สุดมิใช่การร้องขอหรือครอบครอง แต่เป็นการให้และละทิ้ง เมื่อเราทำงานสำเร็จแล้ว ได้มอบผลงาน เวที และประสบการณ์ให้แก่ผู้มาทีหลัง ตนเป็นฝ่ายเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ ไปสร้างสรรค์โลกใบใหม่ เหมือนวัยรุ่นไฟแรงอีกครั้ง ชีวิตเช่นนี้ จึงจะสามารถสร้างใหม่อย่างต่อเนื่อง มีพลังชีวิตที่เยาว์วัยอยู่ตลอดเวลา


ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ท่านเหลาจื่ออธิบายเหตุผลของ “รู้จักพอและหยุด” ให้เราจากหลายประเด็น ในบทที่ 32 ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า “สรรพสิ่งเจริญเริ่มมีนาม เมื่อมีพึงรู้พอเหมาะ พึงหยุดแต่พอควร จึงไม่มีอันตราย” ความหมายของคำพูดตอนนี้คือ แรกเริ่มก่อตั้งการปกครองเป็นระบบแบ่งแยกและแต่งตั้ง เจ้าเมืองต่างมีชื่อและฐานะตำแหน่งของตน เมื่อมีชื่อและฐานะตำแหน่งแล้ว จึงควรรู้จักหยุดแต่พอเหมาะ ขอเพียงรู้จักหยุดแต่พอเหมาะ จะไม่นำมาซึ่งภัยพิบัติ


เพราะในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” บทที่ 2 ท่านเหลาจื่อบอกเราว่า เดิมทีสรรพสิ่งในจักรวาลมีความสมดุล ซึ่งปรากฏการณ์ในสายตาของมนุษย์ เช่น มีกับไม่มี ยากกับง่าย ยาวกับสั้น สูงกับต่ำ และหน้ากับหลัง เป็นต้น ไม่อาจดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว ได้ แต่ก่อเกิดและประสานซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้ ได้กับเสียย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันแน่นอน และมีจำนวนเท่ากัน เพราะการได้กับเสียคือสองด้านในร่างและเรื่องเดียวกัน ดังนั้น กฎของโลกคือ ให้มากจะได้มาก เมื่อได้มากย่อมต้องจ่ายออกไปมาก ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ท่ามกลางหยินและหยาง หยินและหยางอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 20 กันยายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1325)

***

** 天清地宁,是指宇宙大系统中清气上升,浊气下降,阳气上升,阴气下降,并相互交感,为万物提供营养的运行状态,如果空气中老是浊物很多,地球上火山不断爆发,地震不断产生,那恐怕万物也要受其害。


人体也一样,浊气总往上冲,清气上不来,也必然会影响身体的健康,而且会因此而影响人的情绪,进而影响人的行为。


人若不能保持清静,就会心浮气躁、制造麻烦,人们不是常说“冲动是魔鬼”,当一个社会的多数人都处于心气浮躁之中,社会岂有安定的日子?"躁胜寒,静胜热,清静为天下正。万物总是在变化之最后归于清静,静才是天下的正道。

早安!***


20知足与知止是生命大成功的关键点

《道德经第44章分享暨能量月祝福》连载20


第五层面,知足与知止是生命大成功的关键点。


首先,只要知道适可而止,就不会招致灭顶之灾。


“知足不辱,知止不殆,可以长久”


“知足不辱,知止不殆”是指唯有知足知止者,身体、生命和事业才会长久平安。人生要懂得把握刹车止步的时机,因为知足与知止是生命大成功的关键点。否则,一味求全责备、求大求强,一旦越过警戒线,最后往往前功尽弃。


前面的“甚爱”是指着名、“多藏”是指着货而说的。这里的“知足”是指心里,是从结果上而说;“知止”是指行为,也是从过程中而说。同时,“知足”是指那些从“道”的角度来看,即使是能做的事也要控制在一个限度里,不要让它超过限度而“物极必反”。而“知止”则是指那些从“道”的角度来看,只要是不能做的事就坚决要停止它,不要被惯性、执着和贪念把自己带到万劫不复的绝境里去。因为,任何事物都有自己的发展极限,超出界限,事物必然转向反面。


老子在《道德经》中不止一次地提及了这一点。在第九章中,老子说:“持而盈之,不如其已;揣(zhuī)而锐之,不可长保。金玉满堂,莫之能守。富贵而骄,自遗其咎。功成身退,天之道也。”这段话是让我们从自然规律和社会现象中来参悟人间进退。


在自然界中,有日中则昃(zè)、月盈则亏;在人世间,也是盛极而衰、否(pǐ)极泰来。您看,古往今来那些金玉满堂、权势滔天者,又有谁能长盛不衰呢?可无奈的是:道理虽然摆在那里,常人一旦富贵了,还是难免骄奢淫逸,因为不知足、不知止而为自己埋下灾殃。实际上,涵养生命最好的方法不是索取和占有,而是给与和舍弃——当我们把事情做成了,就把功绩、平台、经验交给后来者;自己主动归零,像个热血澎湃的年轻人那样,再去开创另一个新天地。这样的人生,才能不断蔽而新成、永葆青春活力。


在《道德经》中,老子通过很多点来为我们讲述了“知足与知止”的道理。在第三十二章中,老子也说:“始制有名。名亦既有,夫亦将知止,知止可以不殆。”这段话的意思是说,当初建立了分封制,侯王都有了各自的名分。名分既然有了,就应该知道适可而止。只要知道适可而止,就不会招致灭顶之灾。


因为,老子在《道德经》第二章中告诉我们:宇宙万物原本就是平衡的,有无、难易、长短、高下、前后等这些人类眼中的现象,并不能独立存在,而是相生相成的。因此,得到与失去必然同步发生、数量相等——因为,得失就是同一件事情的一体两面而已。所以,世界的法则就是:多付出也多收入,多收入就必须多付出;一切尽在阴阳中,阴阳尽在自然中。


赵妙果,2021年09月20日,第1325天

6 views0 comments