คำอำนวยพร 20 พฤศจิกายน 2564

** การมองโลกของคนธรรมดา ส่วนใหญ่จะใช้การรับรู้ตามประสาทสัมผัสจากประสบการณ์เป็นพื้นฐาน แต่ชั่วชีวิตคนเรามีประสบการณ์จำกัด หากยึดติดว่า "สิ่งที่ตนเคยเห็นและได้ยินเท่านั้นจึงจะเป็นเรื่องจริง" เช่นนั้นการพัฒนากับความเป็นจริงย่อมไปด้วยกันไม่ได้ อันที่จริง หากคนเราไม่สามารถกุมกฎได้ ยิ่งเดินทางไกลเท่าไร เรียนรู้มากเท่าไร กลับจะยิ่งหลงทิศผิดทาง และเข้าใกล้ความผิดพลาดมากขึ้นเรื่อยๆ
อรุณสวัสดิ์ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว
[สงครามคือภาพสะท้อนที่น่ากลัวที่สุดของความทะยานอยาก]
1.3 สงครามคือภาพสะท้อนที่น่ากลัวที่สุดของความทะยานอยาก
เกี่ยวกับความทะยานอยาก หากกล่าวเข้มงวดแล้ว เดิมทีไม่มีการแบ่งแยกว่าดีหรือเลว แต่เป็นการยึดติดและปล่อยตัวปล่อยใจของมนุษย์เอง ที่ทำให้ความทะยานอยากกลายเป็นยาพิษ คำว่า “ความผิด ภัย และความผิดมหันต์” ที่ท่านเหลาจื่อกล่าว หมายถึง ภยันตรายที่ทำตามความทะยานอยากนำมาสู่บุคคล ซึ่งระดับความรุนแรงเรียงตามลำดับดังนี้ “ความผิด” คือระดับความผิดพลาด “ภัย” คือระดับภัยพิบัติ เมื่อถึง “ความผิดมหันต์” คือระดับที่อันตรายรุนแรงแล้ว
จริงอยู่แม้ทางด้านภววิสัยคนเรานั่งอยู่บนกองเงินกองทอง แต่หากทางด้านอัตวิสัยยังไม่รู้จักพอ มีความโลภไร้ขีดจำกัด เช่นนั้น เขาจะยังคงเป็น “คนจน” ตลอดจนยังอาจเป็นคนที่เป็นภัยต่อสังคม... เพราะเมื่อ “ความทะยานอยาก ไม่รู้จักพอ และความโลภ” ของบุคคลค่อย ๆ ขยายตัวขึ้น จะยกระดับเป็นสงครามระหว่างประเทศได้
เราต้องรู้ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ล้วนแต่รักสันติภาพกันทั้งนั้น ดังนั้น การที่จะก่อสงครามขึ้น จำเป็นต้องหาเหตุผลที่ “ชอบธรรม” ตลอดจน “มีความเป็นธรรม” นอกจากนี้ หาเหตุผลไว้ได้มากเท่าไร ขนาดของสงครามจะใหญ่ขึ้นเท่านั้น และการฆ่าฟันจะยิ่งน่าเวทนา เพราะจะมีคนจำนวนมากยิ่งขึ้นที่ถูกปลุกปั่นด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทั้งยังดึงดันที่จะเข้าใจว่า ฝั่งของตนคือฝ่ายที่มีความเป็นธรรม การสังหารชีวิตนี้มีความชอบธรรม การหลั่งเลือดเสียสละคือสิ่งที่คุ้มค่า ดังนั้น จึงราวกับว่าเหตุผลในการดำรงอยู่มีความสำคัญมากกว่าตัวตนดำรงอยู่ เหตุผลในการทำสงครามจึงมักสำคัญกว่าตัวสงครามเอง สามารถหาเหตุผลแบบไหนมาได้ เป็นการสื่อความหมายว่าเตรียมที่จะทำสงครามแบบนั้น
อย่างไรก็ตาม บรรดาเหตุผลสุดท้ายในการก่อสงคราม ไม่มีเหตุผลใดอื่นนอกเหนือไปจาก “ความทะยานอยาก” การทำสงคราม ล้วนหนีไม่พ้นการแย่งชิงพื้นที่ หรือแหล่งทรัพยากรที่ขาดแคลนอย่างเช่นแหล่งแร่และแรงงาน เป็นต้น จากนั้นใช้สิ่งเหล่านี้มารับใช้ตนเอง ทำให้ตนมั่งคั่งและมีอำนาจมากยิ่งขึ้น และสามารถทำตามอำเภอใจได้มากขึ้นเท่านั้น
เราลองดูประวัติศาสตร์โลกอย่างละเอียดถี่ถ้วนสักหน่อยว่า ในโลกของสัตว์ ใครเคยพบเห็นการฆ่าฟันระหว่างเผ่าพันธุ์บ้าง เคยพบเห็นสงครามลุกลามไปทั่วโลกสักครั้งหนึ่งหรือไม่ มนุษย์ยกย่องตนว่าเป็น “สัตว์ประเสริฐ” ตลอดมาความประเสริฐของมนุษย์ควรทำให้ชีวิตมีการแสวงหาในระดับที่สูงขึ้น โดยมิใช่เพื่อเติมเต็มความทะยานอยากส่วนตน ลองไปค้นหาเหตุผลของการทำสงคราม หากเป็นเช่นนี้ ความเป็นมนุษย์ได้สูญสิ้นไปจนไม่เหลือแม้แต่ความเป็นสัตว์เดรัจฉานด้วยซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายของมนุษย์ จะเป็นได้เพียงเชื้อไวรัสของร่างกายโลก และถูกกำจัดออกไป...
แล้วเราควรทำอย่างไร ท่านเหลาจื่อได้มอบของวิเศษ 3 สิ่งไว้ให้เราในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” บทที่ 67 ว่า “ข้ามีสามสิ่งวิเศษ ยืนหยัดรักษาไว้ หนึ่งคือ รักเมตตา สองคือ ประหยัด สิ่งที่สามคือ อ่อนน้อมถ่อมตน” หากคนเราสามารถมีความเด็ดเดี่ยว ยืนหยัดและรักษาอย่างเหนียวแน่นในการฝึกปฏิบัติ “ความรักเมตตา ประหยัด และอ่อนน้อมถ่อมตน” ได้จริง จะเรียกว่ามีเต๋า เมื่อมีเต๋าจะได้รับพลังจากฟ้า ดิน และจิตใจของผู้คน จากนั้นแล้วสลายภัยพิบัติ และมีความผาสุกอย่างยั่งยืน
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564
(เผยแพร่วันที่ 1385)
* * *
** 普通人看世界,多半是采用以经验为基础的感性认识。但人活一世,经历有限,如果都执着于“自己的见闻才是事实”的话,那发展和真相就无从谈起了。其实,一个人若不能把握规律,走得越远、学得越多,反而可能越迷茫、离谬误也越近。
早安!* * *
20战争,是欲望最可怕的终极体现在
《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载20
十二、战争,是欲望最可怕的终极体现。
关于欲望,严格的说,本没有好坏之分,是人的执着与放纵才把欲望变成了毒药。老子说的“罪、祸、咎”这三者就是指放纵欲望给个体带来的危害,而且危害程度逐层递进:“罪”是过错等级;“祸”是祸害等级;到了“咎”就是凶险等级了。
确实,即使一个人客观上坐拥金山银山,但如果主观上还是不知满足、贪得无厌,那他依旧是一个“贫穷的人”,甚至还可能为祸人间……因为,当个人的“可欲、不知足、欲得”逐渐膨胀时,就将升级为国与国之间的战争!
要知道,人性都爱好和平。所以,要发动一场战争,就必须得找出“合理”甚至“正义”的理由。而且,理由找得越充分,战争的规模就越大,杀伤也越惨烈。因为,会有更多人被这个理由所蛊惑,执着地认为:自己一方是正义的,屠戮生命是合理的,流血牺牲是值得的!所以,就像存在的理由比存在本身更重要一样,战争的理由往往也比战争本身更重要——能找个什么样的理由,就意味着准备打一场什么样的战争。
然而,所有发动战争的终极理由,没有别的,就是两个字“欲望”——战争无非就是争夺土地、矿藏、劳动力等稀缺资源,然后让这些为自己服务,让自己更富有、更有权势、更能为所欲为而已。
我们可以审视一下地球的历史:在动物世界里,谁见过种族屠杀?谁见过一场战争席卷全球?人类一直将自己称为“万物之灵”,但人性的崇高应该让生命有更高的追求,而不是为了满足私欲,去找出发动战争的理由!如果是这样,那人性已经泯灭得连兽性都不如了。那人类最终的结果,就只能是被当做地球身体中的病毒一样,被清除出去了……
我们应该如何做?老子在《道德经》第六十七章中给出了三个法宝,老子说:“ 我有三宝,持而保之:一曰慈,二曰俭,三曰不敢为天下先。”如果人能坚定、坚守、坚持地将“慈、俭、不争”落地践行,那么就是有道,有道就会得到天地人心的加持,从而消灾化难、幸福常在!
赵妙果,2021年11月20日,第1385