top of page

คำอำนวยพร 21 กุมภาพันธ์ 2565



** ชั่วชีวิตนี้ ภารกิจเดียวของเราคือการยกระดับจิตวิญญาณ จิตวิญญาณยิ่งอยู่ในระดับสูงเท่าไร อิสรเสรีของชีวิตจะยิ่งสูงมากเท่านั้น ดังเช่นมดที่อยู่บนพื้นผิว 2 มิติ ขณะมนุษย์อยู่ในโลก 3 มิติ มนุษย์มีอิสรเสรี ภูมิปัญญา และพละกำลังมากกว่ามดหลายเท่าตัว หากมดถูกผงยาฆ่าแมลงล้อมไว้ สำหรับมดแล้ว นี่คือแดนมรณะที่มดไม่รู้จัก แต่มนุษย์จากโลก 3 มิติสามารถนำมดออกจากวงล้อมนั้นได้ นี่คือพลังของระดับสภาวะจิต เหตุใดคนเราจึง "ไม่กล้ำกรายเข้าแดนมรณะได้" เรื่องนี้ง่ายมาก เพียงแต่เรายกระดับมิติของตนเท่านั้นเอง หากเราไม่มี GPS การขับรถออกไปต้องอาศัยเพียงโชคเท่านั้น เพราะไม่รู้ว่าเมื่อเลี้ยวไปแล้วจะเจอรถติดหรือไม่ แต่หากเรามี GPS ซึ่งรับสัญญาณจากดาวเทียม มันสำรวจภาพรวมทั้งหมดจากที่สูง เราจะสามารถหลีกเลี่ยงรถติดได้ นี่คืออิสรเสรีที่มาจากการยกระดับมิติ


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 49 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์


[ประยุกต์ใช้การเปลี่ยนความปรารถนาให้ดี ปกครองทั่วหล้าโดยไม่ก่อปัญหา]


1.3 ประยุกต์ใช้การเปลี่ยนความปรารถนาให้ดี ปกครองทั่วหล้าโดยไม่ก่อปัญหา


ในชีวิตคนเรา สภาวะที่ราบเรียบไร้ปัญหา คือสิริมงคลอันยิ่งใหญ่ที่สุด ในตอนนี้ ท่านเหลาจื่ออธิบายถึงวิธีการ “ปกครองทั่วหล้าโดยไม่ก่อปัญหา” ไว้ 3 ประการ ดังนี้


1) ฝึกฝนทักษะในการ “วางตนมีจิตหนี่งใจเดียวกับคนทั่วหล้า” ความตั้งใจและความต้องการของคนเราไม่เหมือนกัน จะมีจิตหนึ่งใจเดียวกันจึงยากมาก แต่ทุกคนล้วนต้องการความรู้สึกที่มีความสุข ได้เก็บเกี่ยว และปลอดภัย ในจุดนี้ทุกคนต้องการเหมือนกัน ดังนั้น วิธีการของอริยบุคคลคือ “รักษา ‘ความเป็นหนึ่ง’ เป็นรูปแบบการปกครองทั่วหล้า” คำว่า “ความเป็นหนึ่ง” นี้ คือเต๋า การ “รักษาความเป็นหนึ่ง” คือการเจียมเนื้อเจียมตัว ให้ผลงานเป็นของทั่วหล้า ให้ทุกคนเจียดพื้นที่ว่างไว้ และสัมผัสกับความสุขท่ามกลางการสอดคล้องเต๋า นำพาทุกคนให้หวนคืนสู่เต๋าด้วยตนเอง ในเวลานี้ แม้สภาพที่เป็นรูปธรรมของแต่ละคนจะต่างกัน แต่ทิศทางใหญ่ตรงกัน ดังนั้น จึงเติมเต็มซึ่งกันและกันได้ และมีจิตหนึ่งใจเดียวกัน


2) ฝึกฝนทักษะที่ “ปวงชนต่างมองและฟังซึ่งกันและกัน” การ “มองและฟัง” ในที่นี้มีความหมายแฝง 2 ชั้น ชั้นที่หนึ่ง เนื่องจากนิสัยของแต่ละคนเป็นเหตุ มีเพียงให้ทุกคนทำงานตามสัญชาตญาณของตน แสดงอุปนิสัย และเป็นตัวของตัวเอง คนเราจึงจะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีความหมาย สัมผัสได้ถึงชีวิตที่ดีงาม แล้วย้อนคืนสู่กมลสันดานที่เรียบง่าย ชั้นที่สอง คนเราล้วนซาบซึ้งใจกับผู้มีคุณธรรมได้ง่าย จึงใส่ใจมองและฟังพวกเขาโดยไม่ได้ตั้งใจ และเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตนและการเข้าสังคมจากพวกเขา อันที่จริง ทุกคนล้วนเป็นสภาพแวดล้อมของผู้อื่น การทำตนให้ดี คือการให้ทานที่ดีที่สุด


3) ฝึกฝนทักษะที่ “อริยบุคคลถือปวงชนเป็นลูกหลานของตน” ลูกหลานมิใช่สมบัติส่วนตัวของพ่อแม่ แต่เป็น “ครูที่ดี” ท่านหนึ่ง การ “ถือปวงชนเป็นลูกหลาน” คือการถือเอาทุกคนเป็นลูกของตน ทำตนให้ดีเสียก่อน สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี จากนั้นจึงปล่อยให้พวกเขาเติบโตอย่างอิสระตามธรรมชาติ ในกระบวนการนี้ ต้องอนุญาตให้พวกเขาได้ลองผิด และแก้ไขความผิด โดยไม่ใช้ความคิดของตนไปจำกัดและก้าวก่าย หากระงับจิตใจที่อยากกระทำหรือก้าวก่ายของตนไม่ได้ ให้ใช้การ “รักษาความเรียบง่ายไร้นาม” ชำระล้างรูปแบบการคิดที่ยึดติดของตน แล้วเปิดใจให้กว้าง


การทำให้ชีวิตเจริญงอกงาม คือ การศึกษาเป็นใช้เป็นที่สำคัญของคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ชีวิตเปรียบเสมือนบริษัทแห่งหนึ่ง จิตคือประธานกรรมการ การคิดคือ CEO อารมณ์คือวัฒนธรรมของธุรกิจ ร่างกายคือพนักงานชั้นพื้นฐาน ต้องบริหารความสัมพันธ์ของพวกเขาให้ดี ให้ทุกคนประสานทำงานด้วยกัน จึงรวมเป็นหนึ่งเดียวทั้งภายนอกภายใน และกายใจ ทำให้บริษัทพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565

(เผยแพร่วันที่ 1477)

* * *


** 人这辈子,唯一的任务就是提升心灵境界,心灵境界越高,生命自由度越高。就像蚂蚁在平面的二维,人在立体的三维,人的自由度、智慧和力量就比蚂蚁大了无穷倍。如果蚂蚁被药粉困在一个圈里,于它而言,这就是一个无解的死局,但人却可以从三维把它拿到圈外,这就是境界的力量。人为什么能“无死地”?不过就是因为提升了自己的维度,就这么简单。您若没有导航,开车出去只能凭运气,因为不知道拐个弯会不会堵车?但您若拥有地外卫星,它从高处俯瞰全局,您就能躲避拥堵、节省时间,这就是维度增加带来的自由度。

早安!* * *


21运用好无常心,以无事取天下

《道德经》第49章分享暨播种月祝福》连载21

十二、运用好无常心,以无事取天下。


人生中,平淡无事的状态,就是最大的吉祥。本段里,老子讲了三个“以无事取天下”的方法:


第一,训练“歙歙焉为天下浑其心”的功夫。人的心志不同、需求不同,要浑然一体很难。但每个人都需要幸福感、获得感、安全感,这一点所有人是一致的。所以,圣人的方法就是“抱一为天下式”,这个“一”就是道,“抱一”就是收敛自己,功归天下,给每个人腾出空间,让每个人都在合道中感受快乐,引导大家自发回归大道。此时,虽然每个人的具体情况不同,但大方向一致,反而能取长补短、浑然一体了。


第二,训练 “百姓皆注其耳目”的功夫。这里的“注其耳目”有两重含义:一是由于各自性情使然,只有让大家按本性做事,展现个性,成为自己,人才活得有尊严、有意思,才能感受生活的美好,回归质朴的本性。二是大家都容易被有德之人感动,会不由自主将耳目专注于他们,学习其为人处世的方法。实际上,每个人都是别人的环境,做好自己,就是最好的布施。


第三,训练“圣人皆孩之”的功夫。孩子不是父母的私产,而是一位“好老师”。“皆孩之”就是把所有人都当成自己的孩子,先做好自己,打造好环境;再让他们按天性自在生长。这个过程中,要允许他们试错、改错,而不要用自己的想法去限制和干预。如果抑制不住自己那颗想作为、想干扰的心,就用“镇之以无名之朴”,清除自己固化的思维定势,把心打开。


让生命茁壮成长,是《道德经》重要的活学活用。生命像一个公司,心性是董事长,思维是CEO,情绪是企业文化,身体是基层员工。要处理好他们的关系,让大家协同作战,才能内外合一、身心合一,让公司可持续发展。


赵妙果,2022年2月21日,第1477天

7 views0 comments
bottom of page