top of page

คำอำนวยพร 21 พฤศจิกายน 2564


** คนเรามีความเป็นอริยบุคคลอยู่ในตัว  สิ่งที่เราต้องทำคือกระตุ้นคุณสมบัติอริยบุคคลในตนเอง!  "อริยบุคคล" คือแกนหลักและประเด็นสำคัญของคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" ทั้งเล่ม! ภารกิจของอริยบุคคลมิใช่การตามหาเต๋าหรือคุณธรรมโดยตรง  แต่ต้องรักษา "ความเป็นหนึ่ง" ไว้ตลอดเวลา  "ความเป็นหนึ่ง" ที่ว่านี้คือเต๋าและคุณธรรมอันเป็นแรงผลักดันที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ได้โดยตรง  แรงผลักดันนี้คือ "เต๋า"  ชีวิตขึ้นอยู่กับการรักษาความสงบนิ่งสุด  เมื่อสงบนิ่งจนถึงที่สุดแล้ว  ทุกสิ่งจะพอเพียงในตนเอง  ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาจากภายนอกอีก!


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[“รู้จักพอ” คือต้นธารแห่งความผาสุกของมนุษย์]


ประเด็นที่ 2 สิ่งที่สามารถต่อต้าน “ความทะยานอยาก” ได้ มีเพียง “รู้จักพอจะมีพอเพียงนิรันดร์” เท่านั้น


2.1 “รู้จักพอ” คือต้นธารแห่งความผาสุกของมนุษย์


“การรู้จักพอคือต้นธารแห่งความผาสุกของมนุษย์” ผู้ที่เสนอความคิดอันยิ่งใหญ่นี้เป็นคนแรกคือท่านเหลาจื่อ แต่คำว่า “รู้จักพอ” ในความคิดของบางคนอาจหมายถึงไม่คิดถึงความก้าวหน้า อันที่จริง นั่นเป็นเพราะพวกเขายังไม่เข้าใจความหมายแฝงอันลึกซึ้งของคำว่า “รู้จักพอ”


การ “รู้จักพอ” คืออะไร ท่านเหลาจื่อได้อธิบายคำว่า “รู้จักพอ” ไว้ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” บทที่ 1 แล้วว่า “ ‘มี’ สำรวจจุดเริ่มและสิ้นสุดได้” กล่าวคือ สำหรับบางเรื่อง ต้องมองเห็นขอบเขตในการพัฒนาของมัน จึงจะรู้ได้ว่าควรหยุดเมื่อใด นี่คือการปฏิบัติตามกฎ


ดังนั้น การ “รู้จักพอ” คือ การตระหนักรู้อย่างกระตือรือร้น ซึ่งจำเป็นต้องประสานกับวิสัยทัศน์ ภูมิปัญญา และพลังสมาธิเข้าด้วยกัน มิฉะนั้น คนเรายากที่จะตั้งสติรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้ หากรับปัจจุบันขณะไม่ได้ ไม่รู้จักพอย่อมไม่รู้จักหยุดแน่นอน เมื่อคนเราก้าวล่วงขอบเขตและทำผิดกฎ ย่อมต้องได้รับความอัปยศและพบอุปสรรค หากวันนี้ไม่มีความสุข วันพรุ่งนี้ย่อมมีความสุขไม่ได้ ดังนั้น การ “รู้จักพอ” มิใช่มีท่าทีเฉื่อยชาไม่กระตือรือร้น การรู้จักพอสามารถใช้บุกเบิกอนาคตได้เช่นกัน เมื่อเรามองเห็นขอบเขตแล้ว เราจะรู้ชัดแล้วว่าภายในขอบเขตนี้ยังมีพื้นที่อีกกว้างใหญ่แค่ไหนในการพัฒนา


ขณะเดียวกัน ในบทที่ 1 ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า “ ‘ไม่มี’ สำรวจลี้ลับเต๋าได้” เพราะการ “รู้จักพอ” คือกฎของเต๋า ส่วนเต๋าคือมีกับไม่มีก่อเกิดซึ่งกันและกัน ดังนั้น การ “รู้จักพอ” ยังจำเป็นต้องใส่ใจจังหวะก้าวที่พร้อมเพรียงกันระหว่างจิตใจและวัตถุ หากพึ่งพาแต่ด้านที่ “มี” ด้านเดียว มนุษย์จะไม่มีวันพอใจได้อย่างแท้จริง เพราะคำว่า “ไม่มี” ที่อยู่เบื้องหลัง “มี” ต่างหากที่เป็นปัจจัยในการกำหนด ดังนั้น การ “รู้จักพอ” ที่ท่านเหลาจื่ออธิบายนั้นแตกต่างจากความสงบสุขกับสภาพปัจจุบันและไม่คิดถึงความก้าวหน้าโดยสิ้นเชิง ท่านเหลาจื่อเตือนมนุษย์ว่า การที่จะมีความผาสุก ต้องเข้าใจว่ากฎของความผาสุกคืออะไร มิฉะนั้น จะเป็นได้เพียงฝ่ายรับ แต่ไม่อาจเป็นฝ่ายสร้างสรรค์ได้


จะเห็นได้ว่าการ “รู้จักพอ” มิเพียงเป็นท่าทีที่กระตือรือร้นของชีวิตเท่านั้น ยังยิ่งเป็นคานที่ให้เราสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตความเป็นอยู่ทางวัตถุกับโลกทางจิตใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวได้ว่าการ “รู้จักพอ” ของท่านเหลาจื่อ คือความคิดเกี่ยวกับความผาสุกที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1386)

* * *


** 人生乃圣,我们要做的事就是要激活自身的圣人品质! “圣人”是整个《道德经》的核心之核心的概念,“圣人”是《道德经》体系中的重点之重点!圣人的重点不是直接寻找道,也不是直接寻找德,而是始终抱持着“一”。这个“一”就是:道德是对人类能够辐射影响力的直接原动力,这个原动力就是“道”。生命在于守静笃,守静笃之后,一切本自具足,无需向外求索!


早安!* * *


21“知足”是人类幸福的源泉

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载21


第五层面, 能对治“欲望”的只有“知足常足”。


十三、“知足”是人类幸福的源泉。


“知足是人类的幸福源泉”——这一伟大思想的最早提出者,就是老子。但“知足”一词可能在某些人心里代表不思进取,其实,那是他们还理解不了“知足”的深刻内涵。


什么叫“知足”?《道德经》第一章中,老子就对“知足”作了解释。老子说:“常有,欲以观其徼。”也就是说,对于某个事物,要能看到它发展的边界,才知道什么时候该停止,这就是顺应规律。


所以,“知足”是积极的认知,这需要眼界、智慧与定力三者的结合,否则,人很难对当下的处境安之若素——如果接受不了当下:不知足肯定就不知止,而人一旦越界、犯规,就必然要受辱、受挫。如果今天过不好,那明天也幸福不了。因此,“知足”不是一种消极的态度,知足也可以用于开拓未来——当我们能看到界限所在时,也意味着,我们清楚这个界限之内存在着多大的发展空间。


同时,老子在第一章中说:“常无,欲以观其妙。” 因为“知足”是道的规律,而道是有无相生的,所以“知足”也必须注重精神与物质的步调一致——单独依赖“有”的层面,人是不可能真正满足的。因为,“有”背后那个“无”才是决定因素。所以,老子讲的“知足”与安于现状、不思进取是截然不同的。老子告诫人类:要幸福,就要明白幸福的规律是什么?否则,只能被动地接受,而不能主动地创造。


由此可见,“知足”不仅是一种积极的人生态度,更是一个能让我们平衡物质生活与精神世界的有效杠杆。老子的“知足”可以说是人类关于幸福最早的、也是最伟大的思想!


赵妙果,2021年11月21日,第1386天

0 views0 comments
bottom of page