คำอำนวยพร 22 ธันวาคม 2564

** "รู้เพิ่มเมื่อศึกษา" คือการปรับทิศทางให้ถูกต้อง เมื่อทิศทางถูกต้องแล้ว หนทางจึงกว้างไกล การ "ศึกษา" คือการวิจัยแต่ละปัจเจกวัตถุอย่างเป็นเอกเทศ ในขอบเขตที่แน่นอน ซึ่งจะกุมได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม และง่ายกว่า "ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย" คือการฝึกปฏิบัติจริง เมื่อทำได้จริง คนเราจึงจะยืนอยู่บนความเป็นจริงอย่างมั่นคง ความสง่างามและมั่นคงคือการทำตามกฎ เมื่อปฏิบัติตามเต๋าชีวิตย่อมจะได้เก็บเกี่ยว การ "ฝึกธรรมะ" คือการทำความเข้าใจสรรพสิ่งแบบองค์รวมและจากต้นกำเนิด เป็นการประยุกต์ใช้กฎพื้นฐานของจักรวาลโดยตรง และค่อนข้างเป็นนามธรรม "เต๋า" ที่ว่านี้คือกฎแห่งชีวิต ธรรมชาติ และจักรวาล ทั้งยังหมายถึงวิถีที่ถูกต้อง ความรู้สูงสุด ไร้ขีดจำกัด กุมได้ยาก และถ่ายทอดต่อไม่ได้ การ "ศึกษา" และ "ฝึกธรรมะ" ล้วนเป็นเส้นทางในการทำความเข้าใจโลกทั้งด้านตรงและด้านกลับ หยินและหยาง สำเร็จและล้มเหลว ผาสุกและทุกข์ทรมาน ที่มีประสิทธิภาพที่สุด!
อรุณสวัสดิ์ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 47 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งความสงบสุข
[ยืนหยัดรักษาความเป็นหนึ่งและปณิธานเริ่มแรกสำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด]
ประเด็นที่ 3 เมื่อเข้าใจเต๋าแล้ว มองเห็นเค้านิดหน่อยก็รู้ธาตุแท้ แนวโน้มการพัฒนา และเห็นต้นสายปลายเหตุของสิ่งต่าง ๆ ได้
3.1 มีเพียงการรักษาความเป็นหนึ่งและวิริยะก้าวหน้า จึงจะคู่ควรกับความเป็นอริยะสูงสุด
การอ่านคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” เพื่อขัดเกลาคุณสมบัติของตนให้เป็นอัตลักษณ์และยกระดับสภาวะของตน มีหลักการพื้นฐานอยู่ประการหนึ่งคือ เริ่มทำจากจุดที่ง่าย เริ่มต้นจากคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” บทที่หนึ่งอย่างเอาจริงเอาจัง นำแต่ละรายละเอียดของคุณสมบัติเต๋าไปปฏิบัติให้เป็นจริง ความสำเร็จของชั่วชีวิตคนเรา ล้วนแต่กำหนดจากคุณสมบัติของเต๋าโดยสิ้นเชิง ซึ่งกุญแจสำคัญที่กำหนดคุณสมบัติของคนเราคือรายละเอียด การปฏิบัติต่อรายละเอียดให้ดี เท่ากับเป็นการปฏิบัติดีต่อตนเอง การใส่ใจรายละเอียด คือการใส่ใจคุณสมบัติที่อยู่เบื้องหลังของรายละเอียด
ในบทที่ 1 ท่านเหลาจื่อได้นำเสนอแนวคิดสูงสุดที่ยังไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ แนวคิดนั้นคือ “เต๋า” แม้เต๋าจะไร้รูปลักษณ์ แต่ดำรงอยู่จริง และประยุกต์ใช้ได้ไม่หมดสิ้น ท่วงทำนองของมนุษย์ ประเพณีในครอบครัวและพื้นบ้าน และกฎธรรมชาติ ล้วนถือเป็นปริมณฑลของ “ ‘ไม่มี’ สำรวจลี้ลับเต๋าได้” เมื่อมีทักษะในการศึกษาประยุกต์ใช้อย่างลึกซึ้งแล้ว เราจะมีชีวิตอย่างสงบอยู่ท่ามกลาง “การประยุกต์ใช้อันอัศจรรย์” ซึ่งไม่อาจใช้คำพูดใดมาเปรียบเปรยได้ ทั้งยังเป็นหนึ่งเดียวกันอีกด้วย ให้ตนเปิด “ประตูสู่มวลล้ำลึกอัศจรรย์” บานที่มีความรักต่อครอบครัวและประเทศชาติ ทั้งยังสามารถสื่อเชื่อมกับพลังของฟ้าดินได้อีกด้วย
ในบทที่ 2 ท่านเหลาจื่อได้เปิดเผยวิธีการเข้าสู่ประตูสู่มวลล้ำลึกอัศจรรย์ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งก็คือ “อู๋เหวย” หากใช้วิธีการทำความเข้าใจ “อู๋เหวย” ด้วยการใช้คัมภีร์อธิบายคัมภีร์แล้ว หลายบทในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ล้วนอธิบายถึงการใช้ “อู๋เหวย” อย่างชาญฉลาดจากมุมมองที่แตกต่างกัน
ในบทที่ 48 ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า “รู้เพิ่มเมื่อศึกษา ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย ลดน้อยและลดน้อยลง ลุถึงภาวะอู๋เหวย กลับประสบความสำเร็จทุกประการ” ความหมายของประโยคนี้คือ การแสวงหาความรู้ ความรู้จะเพิ่มขึ้นทุกวัน การแสวงหาเต๋า อุปสรรคย่อมลดน้อยลงทุกวัน เมื่ออุปสรรคลดลงจนไม่มีอะไรให้ลดลงอีกแล้ว จะบรรลุถึงสภาวะอู๋เหวย เมื่อบรรลุถึงสภาวะนี้แล้ว จะไม่มีอะไรที่ทำไม่สำเร็จ
อุปสรรคที่ว่านี้คืออะไร กล่าวอย่างง่าย ๆ คือ ความทะยานอยากและการยึดติดซึ่งไม่สอดคล้องกับเต๋าในจิตใจ ตลอดจนพฤติกรรมที่แย่งชิงและการยึดกุมที่ไม่สอดคล้องกับเต๋าอีกด้วย สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนก้อนหินบนเส้นทางเต๋า หากไม่ทำความสะอาดให้ทันท่วงที ไม่ช้าก็เร็วตนเองต้องสะดุดล้มลง ทันทีที่กำจัดอุปสรรคเหล่านี้ออกไปแล้ว สภาวะ “อู๋เหวย” เช่นนี้สามารถทำให้จิตที่ว่างเปล่าก่อเกิดสติปัญญาและพลังได้ และในทางกลับกันก็อนุมานถึงสรรพกิจและสรรพสิ่งทั่วหล้าได้
ดังนั้น วิธีการ “ฝึกฝน ‘เต๋า’ ลดกิเลส” นี้ คือไม่ว่าเวลาใดก็ล้วนแต่ใช้คุณสมบัติของอริยบุคคลมาสำรวจและยกระดับตนเอง เมื่อทำแล้วก็ปล่อยวาง รักษาความอ่อนน้อมไว้เสมอ นี่คือมูลรากของการฝึกฝนเต๋า การรักษาความเป็นหนึ่งและวิริยะก้าวหน้าบนเส้นทางนี้ จึงจะคู่ควรกับความเป็นอริยะสูงสุด
เหตุใดวงเวียนจึงวาดวงกลมได้ เพราะขณะที่ขาข้างหนึ่งเดิน จิตใจไม่เปลี่ยนแปลง เหตุใดคนเราจึงไม่อาจทำความฝันให้สำเร็จได้ เพราะจิตใจไม่นิ่ง ขาก็ลอย ในชีวิตคนเรา การเลือกสรรความศรัทธาที่ เด็ดเดี่ยวแน่วแน่มีความเป็นหนึ่งและปณิธานแรกเริ่มโดยไม่เปลี่ยนแปลง สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 22 ธันวาคม 2564
(เผยแพร่วันที่ 1416)
* * *
** “为学日益”是校对方向,方向对,路就坦荡;“为学”是孤立地研究不同的个体,在一定范围内更明确、更具体、更容易被掌握。“为道日损”是落地践行,做到了,人才踏实。坦荡踏实就是合乎规律,顺道而行人生必有收获。“为道”则是整体性、本源性的了解万物,它直接运用宇宙的根本法则,更抽象。这个“道”是指生命规律、自然规律、宇宙规律;也指世间一切正法、至高学问,具有无限性、难以把握性和不可传授性。“为学”与“为道”都是了解世界正面与反面、阴和阳、成功与失败、幸福与痛苦的有效途径!
早安!* * *
22坚定抱一和初心不改,比什么都重要
《道德经第47章分享暨平安月祝福》连载22
第六层面,领略了道,才能见微知著、睹始知终。
十六、只有抱一精进,才能配得上至圣至极。
读《道德经》,磨亮自己的品质,提升自己的境界,有一个基本原则:即从简单之处做起,扎扎实实从《道德经》第一章开始,将道的品质在每个细节中落地践行。人一生的成就,完全由他的品质决定,而决定一个人品质的关键就是细节——善待细节,等于善待自己;关注细节,就是关注细节背后的品质。
在第一章中,老子提出了一个人类历史上迄今为止最高的概念,这个概念就是“道”。道,虽然无形无相,但真实存在、妙用无穷。人类的作风、家风、民风和自然规律都属于“常无欲以观其妙”的范畴。随着学用功夫的深入,您将逐渐安住在这种无法言喻的“妙用”中,并与之打成一片,让自己推开那扇既有家国情怀、又能连接天地能量的“众妙之门”!
在第二章中,老子明明白白地将进入众妙之门的方法揭示了出来:“无为”。如果用以经解经的方法来理解“无为”的话,《道德经》中大量章节都从不同角度阐述了“无为”的妙用。
在第四十八章中,老子说:“为学日益,为道日损,损之又损,以至于无为,无为而无不为。”这段话的意思是,求学,学问会一天天增加;求道,障碍则一天天减少。当障碍损无可损时,就达到了无为的境界,达到了这种境界就没有什么事办不成了。
这个障碍是什么呢?简单说就是:内心里不合道的贪欲和执著,以及行为上不合道的争斗和把持。它们就像道路上的石块,不及时清理的话,早晚会把自己绊倒。一旦把这些障碍扫清,这种“无为”的境界就能让虚无空灵的心中产生智慧与力量,反过来演绎出天下的万事万物。
所以,“为道日损”这个方法就是在任何时候,都以圣人的品质来内观自己、提升自己,做了就放下,永远保持谦虚,这就是修道的根本。在这条路上抱一精进,才能配得上最后的至圣至极。
圆规为什么可以画圆?因为,脚在走,心不变。人为什么不能圆梦?因为,心不定,脚在飘!人生中,坚定抱一的信念和初心不改的选择,比什么都重要!
赵妙果,2021年12月22日,第1416天