top of page

คำอำนวยพร 22 พฤศจิกายน 2564


** "ถึงไม่ออกนอกบ้าน  ก็รู้เรื่องทั่วหล้า  ไม่มองออกข้างนอก  ก็รู้กฎธรรมชาติ"  นี่คือหลักการสำรวจสัจธรรมจากภายใน ที่ทำให้สำรวจในตนเองได้ดีขึ้น  เข้าใจเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ทั่วหล้ามากขึ้น และจัดการปัญหาในขณะนั้นได้ดีขึ้น เมื่อผู้นำอยากเข้าใจความคิดของสมาชิกองค์กร เขาไม่จำเป็นต้องขอความคิดเห็น  ขอเพียงถามใจตนเองว่า “ฉันหวังว่าจะได้รับอะไรมากที่สุด  ผู้อื่นก็หวังว่าจะได้รับสิ่งนั้น  ฉันอยากหลีกเลี่ยงสิ่งใดที่สุด ผู้อื่นเองก็อยากหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น” เขาไม่จำเป็นต้องถามผู้อื่น เพียงถามใจตนเองก็พอ นี่คือความสำคัญของ "การแสวงหาจากภายใน" ที่ท่านเหลาจื่อเน้นย้ำ


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[การรู้จักพอสามารถกำหนดความเป็นความตาย เกียรติยศอัปยศ ภัยและโชคได้]


2.2 การรู้จักพอสามารถกำหนดความเป็นความตาย เกียรติยศอัปยศ ภัยและโชคของคนคนหนึ่งได้


อันที่จริง สิ่งใดๆ ที่เราอยากจะควบคุมล้วนแต่กำลังควบคุมเรา ในชีวิตคนเรา เมื่อเราไม่อยากได้อะไรเลย ฟ้าดินย่อมเป็นของเรา นี่คือเมื่อไม่มีความทะยานอยากย่อมแกร่ง มีอู๋เหวยจึงสามารถกระทำได้ทุกสิ่ง


ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือ เราทุกคนล้วนทราบว่าเงินทองคือสิ่งที่มีไว้เพื่อรับใช้มนุษย์ แต่ในความเป็นจริง มีตัวอย่างของมนุษย์ที่ตกเป็นทาสของเงินจนถึงแก่ชีวิต ซึ่งมีให้เห็นได้ทุกที่ ดังนั้น ท่านเหลาจื่อจึงกล่าวว่า “รู้จักพอย่อมสมบูรณ์ยั่งยืน จะมีพอเพียงนิรันดร์” นี่คือการเตือนสติมนุษย์ว่า เรามีพลังทุกอย่างอยู่แล้ว ลองหันกลับมาทำความรู้จักตนเองให้ชัดเจน ความผาสุกย่อมคงอยู่อย่างยั่งยืน อันที่จริง ประเด็นหลักของบทนี้คือ “เผชิญหน้ากับตนเอง” คือ เราต้องประเมินตนเองว่า ได้ก้าวข้ามเส้นสีแดงไปหรือยัง โดยมิใช่ให้ผู้อื่นมาประเมินค่าของเราว่า มีเต๋าหรือไร้เต๋า


ประเด็นสำคัญของการ “รู้จักพอสุขนิรันดร์” คือการสำรวจตนเอง และรู้ว่า “เส้นสีแดง” คืออะไร ในความเป็นจริง ชีวิตคนเราต้องตัดสินใจต่าง ๆ นานาอยู่ทุกที่ทุกเวลา การตัดสินใจระหว่างความทะยานอยากกับสติสัมปชัญญะ สุดท้ายสิ่งใดล้ำเส้นได้ แต่จิตใจของเราคือ “ผู้ปกปักรักษา” ที่ดีที่สุดของชีวิตคนเรา เพราะทุกครั้งที่เกิดความทะยานอยากขึ้นล้วนต้องมีความรู้สึกว่าชั่วร้ายควบคู่มาด้วย “ความรู้สึกว่าชั่วร้าย” นี้ไม่ต้องมีใครเตือน ทุกคนล้วนสัมผัสได้ทันทีถึงกระดิ่งเตือนภัยในแวบความคิดนั้นว่า “ถึงเส้นสีแดงแล้ว”


ท่านเหลาจื่อกล่าวในคัมภีร์บทที่ 53 ว่า “หากแม้นข้ามีความรู้สักหน่อย จึงเดินบนทางสายใหญ่ กลัวที่สุดคือเดินทางผิด” หมายความว่า หากเรามีความรู้สักหน่อย เราจะเดินบนทางสายใหญ่ สิ่งเดียวที่ควรเราต้องกลัวคือการเดินทางผิด แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือ ในชั่วขณะที่ความทะยานอยากเพิ่มขึ้นนั้น ผู้คนมากมายมักไม่ทำตามเสียงเรียกร้องจากส่วนลึกของจิตใจ แต่กลับหันไปหาเหตุผลให้กับความทะยานอยาก ตลอดจนกล่อมตัวเองให้ยอมก้าวข้ามเส้นสีแดงไป... อันที่จริง ก่อนที่จะก้าวข้ามไป ขอเพียงใช้คำพูดของท่านเหลาจื่อที่ว่า “ผิดหนักที่สุดคือเห็นแก่ตัวและทะยานอยาก ภัยใหญ่ที่สุดคือไม่รู้จักพอ ไม่มีผิดใดยิ่งกว่าความโลภ” มาพิจารณาให้มากสักหน่อย สติสัมปชัญญะก็มักจะชนะได้แล้ว


ในทางกลับกัน หากปล่อยให้ตนเองก้าวข้ามเส้นสีแดง 3 ข้อได้ตามอำเภอใจคือ “ความทะยานอยาก ไม่รู้จักพอ และความโลภ” ก็ต้องเตรียมรับการลงโทษจาก “ความผิด ภัยพิบัติ และบาป” ให้ดี บางครั้งการลงโทษไม่จำเป็นต้องมาจากโลกภายนอกโดยตรง แต่มาจากความสับสนในจิตใจของเราเอง สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในชีวิตคือ การเผาผลาญจากภายใน ผู้ที่ล้มเราได้มักไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นตัวเราเอง ชั่วชีวิตคนเรา สิ่งที่ต้องการที่สุดมิใช่การยอมรับจากผู้อื่น แต่เป็นการยอมรับตนเองจากส่วนลึกของจิตใจ ทันทีที่ส่วนลึกของจิตใจขาดความเชื่อมั่นใน “ฉัน” ไม่ว่าเราจะทำอะไรต่อไป ล้วนยากที่จะมีพลังอีก...


เราทุกคนล้วนจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตน ผู้ที่ปล่อยให้ตนทำผิดกฎตามอำเภอใจเหล่านั้น ไม่อาจเป็นเจ้าแห่งชีวิตตนได้ด้วยซ้ำ พวกเขาไม่ได้รับการยอมรับจากส่วนลึกของจิตใจตนเอง จึงไม่มีความสามารถในการกุมชีวิต ทั้งยิ่งไม่อาจกำหนดความเป็นความตาย เกียรติยศอัปยศ รวมถึงภัยกับโชคของตนเองด้วย


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1387)

* * *


** “不出户知天下,不窥牖见天道”这是探索真理内求法,能够更好地深入自己,更好地了解天下事物,更好的处理当下问题。当一个领导者管理一个团队时,他想要了解成员的需要,并不需要到处去征求成员的意见。他可以问问自己的心:自己最希望得到什么,别人也就希望得到什么。自己最希望回避什么,别人也就希望回避什么。他不需要去问别人,问问自己的心就行。这是老子强调“内求法”的重要性。

早安!* * *


22知足,决定生死存亡与荣辱祸福

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载22


十四、知足,可以决定一个人的生死存亡与荣辱祸福。


凡是你想控制的,其实都控制了你。人生中,当你什么都不想要时,天地都是你的——这就是无欲则刚,无为才能无所不为。


最简单的例子就是,我们都知道钱是为人服务的,可是现实中,人被钱奴役到死的例子却随处可见。因此,老子才说“故知足之足,常足矣。”这就是在提醒人类:所有的力量,我们都拥有——回头认清自己,幸福必将常在!实际上,本章的主题就是“直面自己”:是自己来评估自己是否跨越了红线,而不是由别人来评价来我们有道还是无道?


所谓“知足常乐”,重点就是内观自己,知道什么是“红线”?实际上,人生随时随地都在做各种决定:决定欲望和理智,最终哪一个能出线?而我们的心就是生命最好的“守护者”。因为,每一个浮出的欲望都会伴生出一份罪恶感——这份“罪恶感”完全不需要别人来提醒,我们都能在它出现的瞬间,立刻感受到“红线已来临”的警铃大作!


老子在第五十三章中说:“使我介然有知,行于大道,唯施是畏。”意思是说,假如我稍微有点见识,都要在大道上行走,人生唯一要害怕的就是走上邪路。但可惜的是,很多人往往在欲望升起的一刹那,并没有顺应内心的呼唤,而是转身去为欲望寻找理由,直到能说服自己跨越红线为止……其实,跨越之前,只要用老子所说的“罪莫大于可欲,祸莫大于不知足,咎(jiù)莫大于欲得”来多考虑一下,理智往往就赢了。


反过来,如果放任自己随意跨越“可欲、不知足、欲得”这三条红线,就必须做好接受“罪、祸、咎”这些惩罚的准备!有时,这种惩罚不一定直接来自外界,而是来自我们内心那种纠结—— 人生最怕的是内耗!能打倒我们的,往往不是敌人,而是我们自己。我们这一辈子,最需要的不是别人的认同,而是内心对自我的认同。一旦内心对“我”丧失了信心,不管我们再做什么,都很难再有力量……


我们每个人都必须为自己的行为负责。那些放任自己随意犯规的人,根本就做不了自己生命的王者——他们得不到自己内心的肯定,也就没有能力去掌控人生,更无法决定自己的生死存亡与荣辱祸福了。


赵妙果,2021年11月22日,第1387天

0 views0 comments
bottom of page