top of page

คำอำนวยพร 22 พฤษภาคม 2565 (ไม่มีอรุณสวัสดิ์)



ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 52 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งความสมดุล


[ผู้ที่ชนะตนเองได้ คือผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด]


“รักษ์ความอ่อนละมุนคือแข็งแกร่ง”


ความอ่อนละมุนมีความยืดหยุ่น คงอยู่ได้ยาวนาน โอนอ่อนผ่อนตามได้ ไม่ถูกโลกภายนอกทำร้าย หากอยากจะทำได้ถึงขั้นนี้ จำเป็นต้องเอาชนะตนเองโดยไม่หลงไปกับความทะยานอยาก และไม่ถูกผูกมัดไว้ด้วยการถือทิฐิ ผู้ที่เอาชนะตนเองได้ จึงจะมีพลังอันแข็งแกร่ง เพราะเขามีความมั่นใจ กล้าหาญ และจิตใจเข้มแข็งที่ยืนหยัดได้ยาวนานอันยิ่งใหญ่ ดังนั้น จึงกล่าวว่า “รักษ์ความอ่อนละมุนคือแข็งแกร่ง”


เราทุกคนล้วนปรารถนาความแข็งแกร่ง แต่ไม่ทราบว่า เบื้องหลังความแข็งแกร่งคือการรักษาความอ่อนละมุน กุญแจสำคัญส่วนใหญ่คือ มีความประณีตละเอียดอ่อนมาก มีเพียงการประสานความอ่อนและแข็งเข้าด้วยกัน จึงจะเป็นความแข็งแกร่งที่แท้จริง ดังเช่นต้นหญ้าน้อยๆ ซึ่งต้องอาศัยความอ่อนละมุน จึงแตกหน่อใต้ซอกหินได้ เมื่อรักษาความอ่อนละมุนได้จึงมีจิตใจใกล้ชิดเต๋าและมีอาณาเขตกว้างใหญ่ได้ เมื่อมีจิตใจใกล้ชิดเต๋า ปัญหาจะหายไป เมื่ออาณาเขตกว้างใหญ่ อนาคตจึงไร้ขีดจำกัด สามารถรักษาและวางตนอ่อนละมุนคือการปฏิบัติคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ ผู้มีคุณธรรมหนาแน่น ผู้คนย่อมนับถือ เป็นที่พึ่งพิงของทั่วหล้า


“รักษ์ความอ่อนละมุนคือแข็งแกร่ง” มีจุดเด่น 5 ประการคือ 1) มีความยืดหยุ่นมาก แม้ล้มเหลวนับร้อยครั้งก็ไม่ท้อถอย 2) มีความสามารถในการปรับตัวสูง กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ 3) สามารถรองรับได้มาก รวบรวมได้กว้างขวางมาก 4) สามารถกรองได้ดี เปลี่ยนความขุ่นมัวให้ใสสะอาดได้ 5) มีความสร้างสรรค์เป็นเลิศ สามารถรุเก่าสร้างใหม่ได้ สันทัดการรักษาความอ่อนละมุนได้ดี จึงจะเป็นพื้นฐานของความแข็งแกร่ง


ในการดำเนินชีวิต ผู้ที่อ่อนแอจะแข่งการแพ้ชนะท่ามกลางการเปรียบเทียบ ผู้ที่แข็งแกร่งจะพิสูจน์ตนเองภายในจิตใจ คนเราพึ่งพิงโลกภายนอกยิ่งน้อยเท่าไร จิตภายในยิ่งแข็งแกร่ง การแสดงออกก็ยิ่งอ่อนน้อม อันที่จริง จิตผ่องใสไร้กิเลสและอ่อนโยนไม่แย่งยื้อมาแต่กำเนิดนั้นไม่มีอยู่จริง ผู้แข็งแกร่งแท้จริงล้วนเป็นยอดฝีมือที่เคยสู้กับความเป็นมนุษย์อย่างเอาเป็นเอาตายมาก่อน เมื่อเปรียบกับการเอาชนะตนเอง ชัยชนะทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นเรื่องเล็กน้อยเกินกว่าจะเอ่ยถึง


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 22 พฤษภาคม 2565

(เผยแพร่วันที่ 1568)

* * *


22 能战胜自己,才是真正的强者

《道德经》第52章暨平衡月祝福连载22


原文:“守柔曰强”


“柔”指柔弱。柔具备韧性,能持久;弱可以随形就势,不被外界所伤。但想做到这一点,就必须战胜自己,不被欲望迷惑,不被执著绑缚。能战胜自己的人,才具有强大的力量,因为他有大信心、大勇气、大毅力,所以说“守柔曰强”。


人人都渴望强大,却不知:强的背后是守柔处弱,大的关键是细致入微。只有刚柔并济,才是真正的强,就像小草能从巨岩下冒头,靠的就是柔。守柔才能心性近道,处弱方可格局广大。心性近道,问题就消失;格局广大,未来就无限,能守柔处弱是大德行。厚德之人,人必伏之,天下归之。


“守柔曰强”具备五个特点:一有极强的柔韧性,能百折不挠;二有极强的适应性,能融入环境;三有极强的容纳性,能兼容并包;四有极强的过滤性,能净化污浊;五有极强的创造性,能除旧立新。善于守柔,才是强的根本。


生活中,弱者会在比较中争输赢,强者只在内心里验证自己。一个人对外界的依赖越少,内心越强大,表现也越谦卑。实际上,天生的清心寡欲、柔弱不争是不存在的,真正的强者都是曾经和人性死磕的高手。世间所有胜利,与征服自己相比,都微不足道。


赵妙果,2022年5月22日,第1568天

0 views0 comments