คำอำนวยพร 23 กันยายน 2564
Updated: Oct 11, 2021

**อย่ากล่าวโทษใครก็ตามในชีวิตของเรา คนดีจะให้ความสุขแก่เรา คนไม่ดีจะให้ประสบการณ์ คนที่แย่ที่สุดจะให้บทเรียน และคนที่ดีที่สุดจะให้ข้อคิดเห็นกับเรา
ท่ามกลางสังคมที่วุ่นวาย ผู้ที่จิตใจสงบนิ่งจะเป็นผู้ชนะ "สงบนิ่ง" มิใช่ไม่คิดอะไรเลย แต่คือการขจัดเหตุปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องและรบกวนออกไป แล้วทุ่มเททั้งกายใจให้กับสิ่งที่ตนกำลังทำ
สงบนิ่งคือการจัดการจากภายในออกสู่ภายนอก ให้เรามีสภาวะจิตที่เป็นสมาธิ ส่วนการปิดกั้นคือการจัดการจากภายนอกสู่ภายใน เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีสมาธิ ความสงบนิ่งคือสภาวะที่ผู้ฝึกปฏิบัติเต๋าต้องรักษาไว้ในระหว่างกระบวนการยกระดับตนเอง!
อรุณสวัสดิ์ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 44 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งพลัง
[การที่จะ “หยุด” ได้ต้อง “รู้จักพอ” ก่อน]
ประเด็นที่ 3 ผู้ฝึกปฏิบัติจริง พึงลงเรี่ยวลงแรงที่การ “ละทิ้ง”
3.1 หากไม่รู้จักพอจึงไม่รู้จักหยุด การที่จะ “หยุด” ได้ต้อง “รู้จักพอ” ก่อน
สภาวะที่ผาสุกอย่างแท้จริงล้วนแต่หมายถึงภาวะที่รู้จักพอ การรู้จักพอคือ รู้ว่า “ขอบเขต” อยู่ที่ไหน หากเราอยู่ในขอบเขตที่ชอบธรรม จะไม่ได้รับความอดสูหรือถูกกดขี่ ชีวิตจะปลอดภัย อิสรเสรี และเบ่งบาน ดังนั้น เมื่อคนเรารู้จักพอ จะรู้จักหยุด ในทางกลับกัน หากไม่รู้จักพอ จะไม่รู้จักหยุด
การ “รู้จักหยุด” แบ่งออกเป็นฝ่ายริเริ่มและฝ่ายถูกกระทำ การแบ่งเช่นนี้สำคัญมาก
- ในการดำเนินชีวิต ส่วนมากการ “รู้จักหยุด” ล้วนเป็นฝ่ายถูกกระทำ อาจเป็นเพราะไม่มีโอกาสให้ “โลภ” หรือถูกยับยั้งด้วยพลังที่เข้มแข็งกว่าซึ่งอยู่รอบตัว ดังนั้น เมื่อผู้ที่รู้จักหยุดโดยเป็นฝ่ายถูกกระทำ ขอเพียงมีโอกาส จะมีความโลภแน่นอน และอาจโลภอย่างร้ายแรงกว่าด้วย
- ส่วนการเป็นฝ่ายริเริ่ม “รู้จักหยุด” ล้วนเป็นผู้ที่ “รู้จักพอ” จากจิตภายใน การรู้จักพอคือการรู้จักหยุดทางภาวจิต เป็นฝ่ายริเริ่มหยุดได้เหมาะ ดังนั้น ไม่ว่าโลกภายนอกจะใช้กำลังคุกคามจนทำให้หวาดกลัวหรือมีโอกาสหรือไม่ พวกเขาจะไม่ไปฮุบผลประโยชน์ของผู้อื่น หากมีคนเช่นนี้มาก ๆ สังคมจะดีเอง
อะไรคือตัวชี้ขาดว่าใครเป็นผู้รู้จักพอหรือไม่
มนุษย์ล้วนถูกหล่อหลอมขึ้นจากทั้งพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และการศึกษาร่วมกัน หากใช้ทั้ง 3 ปัจจัยนี้ให้เป็นประโยชน์ได้ดี ทุกคนล้วนกลายเป็นคนที่รู้จักพอและมีความสุขได้ ดังนั้น แม้เราจะไม่อาจเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ แต่เราเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและเลือกสรรการศึกษาได้
แม้ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ทั้งเล่มท่านเหลาจื่อจะไม่ได้กล่าวถึง “การศึกษา” ก็ตาม แต่จากต้นจนจบท่านเหลาจื่อถือเอาการ “ใช้คุณธรรมกล่อมเกลาคนทั่วโลก” วางไว้เป็นอันดับแรก คำว่า “การศึกษา” แท้ที่จริงแล้วคือการหว่านเพาะและฟูมฟัก ด้วยเหตุนี้ การเลือกสรรเมล็ดพันธุ์คือจุดแรกที่ต้องลงมือ ซึ่งกฎจักรวาล ชีวิต และธรรมชาติในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” คือ “เมล็ดพันธุ์ที่ดีที่สุด การฝังคำสอนอันล้ำค่านี้ไว้ในจิตใจ รอคอยสักวันหนึ่งที่มันจะหยั่งรากแตกหน่อ ชีวิตของท่านจะได้รับผลเก็บเกี่ยวมากมายแน่นอน
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 23 กันยายน 2564
(เผยแพร่วันที่ 1328)
* * *
** 永远不要去责怪你人生里的任何人,好的人给你快乐,坏的人给你经历,最差的人给你教训,最好的人给你回应。
浮躁的社会,心静者胜出。“清净”不是什么都不想,而是排除那些无关的和干扰的因素,全身心的投入到自己的追求之中。
清净是由内而外的排除,给你创造一个专注的心境;而闭关是由外而内的排除,给自己创造的一个专注的环境。清静是修道与自我提升过程中要保持的状态!
早安!* * *
23要做到知止,必须先知足
《道德经第44章分享暨能量月祝福》连载23
第六层面,修真之人应当在一个“舍”字上下功夫。
首先,不知足就不知止——要做到“知止”,必须先“知足”。
真正幸福的境界皆指知足的状态。知足,就是懂得“边界”在哪里?我们在合理的边界内,就不会被羞辱、被打压,生命就是安全、自在、绽放的。所以,人一旦知足,就知止了;反过来,不知足,也就不知止。
“知止”可以分为主动知止和被动知止,这个区分很重要!
- 生活中,绝大多数“知止”都是被动的——要么是因为没有“贪”的机会,要么是受到了周围更强力量的制止。因此,被动知止的人只要有机会,就一定会贪,而且可能会贪得更厉害。
- 而主动“知止”的都是内心“知足”的人。知足,是心态上的知止,是主动地适可而止。因此,无论外界是否存在威慑、是否有机会,他们都不会去侵吞别人的利益。这样的人若多了,社会也就好了。
是什么决定了一个人是否知足呢?
人都是靠遗传、环境和教育共同铸就的,这三个因素利用好了,每个人都可以成为一个知足、幸福的人。所以,虽然遗传我们改变不了,但我们可以改变环境、选择教育。
老子《道德经》虽然通篇没有提及“教育”二字,但老子始终是把“德化人间”放在首位的。所谓“教育”实际上就是播种和孕育。因此,选择种子首当其冲。而《道德经》中的宇宙规律、生命规律、自然规律就是最好的“种子”——把这些金玉良言深埋心中,待有朝一日生根发芽,您的人生必将硕果累累。
赵妙果,2021年09月23日,第1328天