top of page

คำอำนวยพร 23 กุมภาพันธ์ 2565



* ทัศนะเกี่ยวกับการเกิดและการตายของชาวจีนมาจากความรู้เกี่ยวกับจักรวาลและความเข้าใจในมิติชั้นสูงของบรรพบุรุษ คำว่า “จักรวาล” นี้มิได้หมายถึงจักรวาลสามมิติที่มองเห็นผ่านกล้องโทรทัศน์ แต่หมายถึงกาลเทศะอันไร้ที่สิ้นสุดซึ่งเต๋าเป็นผู้ให้กำเนิด มีเพียงการยืนอยู่ที่แหล่งกำเนิด จึงจะก่อเกิดจักรวาลทัศน์ โลกทัศน์ และค่านิยมที่ถูกต้องได้ จักรวาลทัศน์คือความรู้ในการหวนคืนสู่ต้นธารที่เป็นแนวดิ่ง โลกทัศน์คือความรู้ในการกุมปัจจุบันขณะที่เป็นแนวนอน ค่านิยมคือความรู้ในการประเมินตนเองอย่างถูกต้อง หากเข้าใจจะเป็นการเกิด หากหลงทิศผิดทางจะเป็นการตาย


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 49 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์


[มนุษย์จำเป็นต้องเติบโตท่ามกลางความสัมพันธ์]


2.3 ชีวิตจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ มนุษย์จำเป็นต้องเติบโตท่ามกลางความสัมพันธ์


การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้อื่นให้ดีคือการศึกษาเป็นใช้เป็นที่สำคัญของคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” เช่นกัน


ความทุกข์มากมาย จะแก้ไขได้ต่อเมื่อจิตวิญญาณเราเติบโตแล้วเท่านั้น อย่าฝึกฝนตนเองในสายตาผู้อื่น และอย่าบังคับผู้อื่นในใจตน ความสัมพันธ์คือดิน ชีวิตคือต้นไม้ เราสามารถใช้จิตใจ 7 อย่างในบทนี้มาเผชิญหน้ากับทุกสิ่งทุกอย่างได้


จิตแห่งอริยบุคคล คือใช้การสอนโดยไร้วาจา เปลี่ยนความปรารถนาตามความต้องการของมวลชน จิตที่ยืดหยุ่น คือยอมรับความแตกต่าง ไม่ใช้มาตรฐานที่ตายตัวจำกัดผู้อื่น จิตแห่งประชาชน คือมีอารมณ์ร่วมก่อน แล้วจึงปรองดองความสัมพันธ์ จิตแห่งความดีงาม คือมีความปรารถนาดี ใช้ความดีงามสร้างความอบอุ่นให้แก่ความไม่ดี จิตแห่งการเชื่อถือความมีคุณธรรม คือซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา ใช้สัจจะชี้นำผู้ที่ไร้สัจจะ จิตหนึ่งในเดียวกับคนทั่วหล้า คือการขยายจิตใจให้กว้าง ให้ผู้อื่นมีพื้นที่ว่าง ให้ผู้อื่นมีโอกาสเดินบนเส้นทางของตน จิตแห่งการถือปวงชนเป็นลูกหลานของตน คือมีความรักเมตตา ช่วยเหลือ สนับสนุน ให้ความรักหล่อเลี้ยงชีวิต


จิตใจทั้ง 7 อย่างนี้รวมกันเป็น “จิตแห่งอริยบุคคล” อันที่จริง ทุกคนล้วนเป็นอริยบุคคลได้ ขอเพียงฝึกปฏิบัติจริงตามกฎเกณฑ์ การฝึกปฏิบัติจริง มิใช่การเป็น “นักพรตเต๋า” แต่เป็น “ผู้ปฏิบัติเต๋า” คนหนึ่ง การฝึกปฏิบัติจริง ต้องใช้ความรู้กลับสู่ความเป็นจริง การฝึกปฏิบัติจริง ต้องฝึกปฏิบัติท่ามกลางความสัมพันธ์ของการตอบแทนบุญคุณประเทศชาติ สังคม พ่อแม่ และสรรพชีวิตทั่วหล้า ฝึกปฏิบัติมากเท่าไร ได้รับประโยชน์มากเท่านั้น


ประเด็นที่ 3 การลงมือทำจริงเป็นพื้นฐาน การฟันฝ่าต่อสู้เป็นสิ่งสำคัญ เส้นทางสู่ความสำเร็จมีวิถีที่ถูกต้องของตน


3.1 อริยบุคคลเป็นแบบอย่างและบุตรของประชาชน


อริยบุคคลถือกำเนิดมาในโลก สำหรับผู้ที่ฉลาด หูตาไว และมีความคิดเป็นของตัวเอง รูปแบบการบริหารงานของเขามักก้าวรุดหน้าดูคล้ายถดถอย สว่างไสวคล้ายดังมืดมัว หากมองผ่าน ๆ ดูคล้ายโง่เขลาและเรียบง่าย แต่เมื่อพิจารณาโดยละเอียด กลับพบว่าก่อนที่เขาจะประสบความสำเร็จ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ในระหว่างการสร้างความสำเร็จ มีความรอบคอบเหมือนเริ่มแรก ทำทุกอย่างด้วยความละเอียดรอบคอบ หลังจากประสบความสำเร็จแล้ว ถอนตัวออก โดยไร้อัตตาและไร้นาม


อริยบุคคลถือกำเนิดมาในโลก การที่เขาสามารถเก็บความทะยานอยากส่วนตน มีความระมัดระวัง และรับผิดชอบสูง ควบคุมตนให้มีศีลธรรมจรรยา อุทิศตนเพื่อส่วนรวม วางแผนเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน และไม่ถือตามจิตอัตวิสัยโดยทำเรื่องเหลวไหลตามอำเภอใจ เพราะเขาฝึกฝนคุณธรรมที่ไร้ความทะยานอยาก อู๋เหวย และไม่แย่งชิงเพื่อประชาชนทั่วหล้า เขาต้องใช้คุณธรรมหนาแน่นและเรียบง่าย “ทำให้ผู้คนไม่ฟุ้งซ่านไม่โลภเป็นนิตย์ ผู้ฉลาดก็มิบังอาจก่อกรรมทำเข็ญ” ในกระบวนการนี้ หากมีผู้ที่ “เกิดหน่อความโลภ” อริยบุคคลจะ “ระงับความโลภด้วยความเรียบง่ายไร้นาม” ขอเพียงจิตแห่งอริยบุคคลไม่เหินห่างจากเต๋า โลกนี้จะยังมีความหวัง


อันที่จริง ความดีงามและสัจจะคือสัญชาตญาณที่มนุษย์มีมาก่อนกำเนิด ถือเป็นสิ่งที่นิ่ง ความชั่วกับการสูญเสียคืออุปนิสัยที่มนุษย์บ่มเพาะขึ้นหลังกำเนิด ถือเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหว เมื่อคนเราประสบวาสนาดี ความดีงามในจิตส่วนลึกภายในจะตื่นขึ้น และพร้อมที่จะปรากฏออกมา เมื่อประสบวาสนาไม่ดี ความชั่วที่แฝงอยู่ในจิตส่วนลึกจะถูกกระตุ้น นิสัยที่ไม่ดีจึงปรากฏขึ้นทันทีอย่างมีชีวิตชีวา การที่อริยบุคคลต้อง “เปลี่ยนความปรารถนาตามความต้องการของมวลชน” เป็นการสร้างบรรยากาศให้แก่จิตใจคน ทำให้จิตที่ดีงามได้รับการบำรุงรักษา การที่ต้อง “มีจิตหนึ่งใจเดียวกับทั่วหล้า” เพื่อมิให้หล่อเลี้ยงนิสัยที่เลว ทำให้นิสัยเลวๆ ค่อยๆ สลายไป


อริยบุคคลมีความกตัญญูและดูแลคนทั่วหล้าดุจบิดามารดาของตน เขายอมรับความสนใจจากประชาชน เป็นแบบอย่างที่ดีให้ทุกคน และเป็นเสาหลักที่ดีของมวลชนด้วย สังคมต่างมองและฟังเขา ซึ่งเป็นทั้งการศึกษาเป็นแบบอย่างและตรวจสอบด้วย ดังนั้น อริยบุคคลจึงเป็นทั้งแบบอย่างและบุตรของประชาชน


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565

(เผยแพร่วันที่ 1479)

* * *


** 中国人的生死观,来自祖先对宇宙的认识、对高维的参悟。这个“宇宙”不仅是指望远镜里能看见的三维宇宙,更是对大道所生的无穷时空而言。只有站在源头,才能形成正确的宇宙观、世界观和价值观:宇宙观是纵向回归本源的认知;世界观是横向把握当下的认知;价值观是正确衡量自我的认知。了悟则出生,执迷则入死。

早安!* * *


23人必须在关系中成长

《道德经》第49章分享暨播种月祝福》连载23

十五、生命不能被活成孤岛,人必须在关系中成长。


处理好人我的关系,也是《道德经》重要的活学活用。很多烦恼,只有心灵成长了,才能解决。不要在别人眼里,修行自己;也不要在自己心中,强求别人。关系是土壤,生命是树木,您可以用本章的七颗心来面对一切:


圣人心,就是行不言之教,以百姓心为心;无常心,就是接纳不同,不用僵化的标准约束别人;百姓心,就是先有情绪上的认同,才有关系上的和谐;德善心,就是怀揣善意,用善来温暖不善;德信心,就是赤诚坦荡,用信来引导不信;浑其心,就是拓宽心量,给人空间,让人有机会走出自己的道;孩之心,就是慈爱悲悯,帮助扶持,用爱来滋养生命。


这七颗心合起来就是“圣人心”。实际上,每个人都能成为圣人,只要按规律真修行。真修行,不是当个“道学家”,而是做一个“行道者”;真修行,要从学问上,回到现实中;真修行,要在报效祖国、报效社会、报效父母、报效天地众生的关系中修。修出几分,得益几分。


第六层面,实干为本,奋斗为要,成功之路,自有正道。


十六、圣人是百姓的榜样,人民的儿子。


圣人生于天下,对于那些耳聪目明、各怀心思的聪明人而言,他处事的方式,往往是进道若退、明道若昧的——猛一看,他好像浑噩质朴;但仔细观察,却发现他在成事之前,迎难而上,百折不挠;成事之中,慎终如始,凡事彻底;成事之后,功成身退,无我无名。


圣人生于天下,之所以能收敛私欲,兢兢业业,克己奉公,为民谋利,从不以主观意志而任性妄为,是因为他的无欲、无为、不争之德是为天下百姓而修的,他要用这种淳朴厚德“常使民无知无欲,使夫知者不敢为”。在这个过程中,如果有“化而欲作”之人,圣人就“镇之以无名之朴”。只要圣人心不离道,天下就有希望。


实际上,善与信是人先天具有的本性,属静;恶与失是人后天养出的习性,属动。当人遇到善缘,内心深处的善就会苏醒,善良呼之欲出;当人遇到恶缘,潜藏心底的恶就被激发,恶习立即活现。圣人之所以要以百姓心为心,就是要给人心营造氛围,让善心得到调养;之所以要为天下浑其心,就是为了不给恶习施肥,让恶性慢慢泯灭。


圣人把天下人都当做自己的父母来孝养。他接受百姓的关注,做好大家的榜样,成为众生的柱子。社会倾注耳目于他,既是效仿也是监督,所以,圣人既是百姓的榜样,也是人民的儿子。


赵妙果,2022年2月23日,第1479天

5 views0 comments
bottom of page