top of page

คำอำนวยพร 24 กันยายน 2564

Updated: Oct 11, 2021


** กันยายนคือเดือนแห่งพลังที่สงบนิ่ง


ขอมอบภูมิปัญญา 5 ประการจากคัมภีร์เต้าเต๋อจิงบทที่ 45  คือ "สมบูรณ์เลิศคล้ายบกพร่อง  แต่บทบาทนั้นมิเสื่อมสูญ  เปี่ยมล้นคล้ายว่างเปล่า  แต่มีบทบาทมิจบสิ้น  ความเที่ยงตรงมากคล้ายคดงอ  หลักแหลมมากคล้ายโง่งม  มีคารมคมคายดุจซื่อ ๆ " นี่คือสภาวะที่สร้างสรรค์ชีวิตใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง  ขอให้ท่านสื่อเชื่อมกับ "บกพร่อง" และ "ว่างเปล่า" ในจักรวาล  ซึ่งเป็นต้นธารแห่งการเกิดใหม่ที่ไม่มีวันหมดสิ้น!  ขอให้ท่านอยู่ในตำแหน่งของตนเองอย่างสงบนิ่ง  แสดงศักยภาพของตนออกมา  และได้รับพลังผ่านการทำงาน


หากท่านพบกับความท้าทายของ "การเล่นกีฬา" "ความหนาวเหน็บ" และ "ความร้อนแรง" ในการใช้ชีวิต  ขอให้กลับคืนสู่สภาวะ "สงบนิ่ง"  ปล่อยวางทุกสิ่ง  แล้วเดินกลับบ้านตามเส้นทาง "คนเจริญรอยตามดิน  ดินเจริญรอยตามฟ้า  ฟ้าเจริญรอยตามเต๋า  เต๋าเจริญรอยตามธรรมชาติ"  สุดท้ายกลับคืนสู่ธรรมชาติ  กลับคืนสู่ความปรองดองของส่วนรวมที่ "สงบนิ่งเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า" นี่คือการฝึกปฏิบัติคุณธรรมหนาแน่น!


ในโลกที่สับสนวุ่นวาย  ความสงบนิ่งคือวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า  การเล่นกีฬาชนะความหนาวเหน็บ  นิ่งชนะร้อนแรง  ผู้ที่จิตใจสงบนิ่งเป็นผู้ชนะ ขอให้ท่านโชคดี!


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 44 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งพลัง


[“สละ” จนเป็นเต๋าธรรมชาติที่จริงใจและเป็นตัวตนที่แท้จริง]


3.2 มนุษย์กับมหาจักรวาลมีความสัมพันธ์ที่ตอบสนองกันโดยตรง


คัมภีร์บทนี้ใกล้เคียงกับชีวิตจริงของคนทั่วไปมาก ท่านเหลาจื่อใช้คำถาม 3 ข้อเพื่อสอนคนทั่วโลกว่าจะใช้ชีวิตให้ดีได้อย่างไร ข้อสรุปของท่านเหลาจื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ เราทุกคนต้องให้ความสำคัญกับชื่อเสียงผลประโยชน์และทรัพย์สินเงินทองให้น้อย และให้ความสำคัญกับการฝึกฝนอบรมตนเองให้มาก


นับแต่โบราณมา นักปรัชญาเมธีทั้งชาวจีนและต่างชาติล้วนแต่เตือนลูกหลานว่า ชื่อเสียง ผลประโยชน์ และทรัพย์สินเงินทองล้วนเป็นของนอกกาย เป็นสิ่งที่สูญสลายได้รวดเร็ว อย่าพลีชีพเพื่อวัตถุแล้วกลายเป็นการทำร้ายจริง ๆ สูญเสียการใหญ่เพราะเรื่องเล็ก ตลอดจนนำภัยพิบัติและความอัปยศมาสู่ตน เราต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่า ทรัพย์สินเงินทองคือสิ่งที่หมุนเวียนได้ และฟ้าดินมอบทรัพย์สินให้มนุษย์เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต ทรัพย์ที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตนี้ อันที่จริงมีกันทุกคน แตกต่างกันเพียงได้รับมากหรือน้อยเท่านั้นเอง เพราะคุณธรรมที่แต่ละคนสั่งสมมาในแต่ละชาติไม่เท่ากัน เปรียบเสมือนการที่เราไปสมัครงานกับบริษัท แต่ละคนมีความสามารถความชำนาญไม่เท่ากัน ดังนั้น “สัญญาแห่งชีวิต” และ “เงินเดือนสวัสดิการ” ที่ตอบสนองจึงไม่เหมือนกัน


เหตุผลนี้ง่ายมาก คำว่า “ผลกรรม 3 ชาติ” คืออดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดวงชะตาของเราวันนี้ คือสิ่งที่ตนเองในอดีตมอบมาให้ และเป็นสิ่งที่จะได้รับในอนาคต ยังเป็นสิ่งที่ตนเพาะเมล็ดไว้ในวันนี้ หากขยายเวลา 24 ชั่วโมงให้เป็นชั่วอายุคนหรือชั่วกัปชั่วกัลป์ เบื้องหลังการขับเคลื่อนของกฎเกณฑ์ยังคงเป็นเช่นเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเด็ดขาด และเป็นเพราะกฎจักรวาลเป็นนิรันดร์กาล ดังนั้น เราจึงไม่อาจฝ่าฝืนกฎธรรมชาติโดยไปบีบบังคับให้เปลี่ยนแปลงเส้นชีวิตได้ แม้จะไม่อาจฝ่าฝืนกฎได้ แต่เรากลับใช้มันได้ นี่จึงเป็นความหมายของการศึกษาคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ในการดำเนินชีวิต มีเพียงคุณธรรมหนาแน่นที่ช่วยเราหลุดพ้นจากกรอบของกฎแห่งกรรมและแก้ไขรหัสชะตาชีวิตใหม่ได้


ดังนั้น ของนอกกายอย่างทรัพย์สินเงินทองเหล่านี้ หล่อเลี้ยงชีวิตได้ก็เพียงพอแล้ว เหตุใดต้องโลภมาก สะสมมาก และขัดขวางไม่ให้มันหมุนเวียนด้วยเล่า ต้องรู้ว่า เรามีร่างกายนี้ แล้วจึงมีทรัพย์สินเงินทอง หากไม่มีร่างกายนี้ จะมีทรัพย์สินเงินทองเหล่านี้ได้อย่างไร และ “ร่างกาย” นี้ก็มิได้เป็นอมตะ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย กำลังเปลี่ยนแปลงสภาวะภายนอกของ “ร่างกาย” ตลอดมา ชั่วอายุคน 100 ปีเพียงครู่เดียวก็ผ่านไป สิ่งที่จะไม่สูญหายไปตามการตายของร่างกายคือพลังคุณงามความดีที่อยู่ภายในของแต่ละคน พลังคุณงามความดีนี้ดูแลความปลอดภัยของเราในวันนี้ และกำหนดทิศทางที่เราจะเดินไปในอนาคตได้


ในคัมภีร์บทนี้ ท่านเหลาจื่อใช้หลักวิภาษวิธีของการได้เสียมาเตือนสติชาวโลกว่า ผู้ฝึกปฏิบัติจริงควรลงเรี่ยวลงแรงที่การ “สละ” หมายถึง การละทิ้งความคิดเรื่องได้เสีย ลืมซึ่งชื่อเสียงและผลประโยชน์ ทำเพื่อส่วนรวมและไร้ส่วนตน นี่มิเพียงต้องสละทิ้งชื่อเสียงผลประโยชน์และความโลภ ยังต้องสละทิ้งความคิดที่มิใช่เต๋าทั้งปวง สละทิ้งสิ่งเจือปนที่มองไม่เห็น เช่น ความคิดเพ้อเจ้อเหลวไหล เป็นต้น ที่ทำลายคุณธรรมและเต๋า สุดท้าย สละทิ้งอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ และชีวะลักษณะ


อนึ่ง *ลักษณะ 4 ประการ ที่ผู้ปรารถนาในการเป็นพระโพธิสัตว์ต้องละทิ้ง ตามคำสอนในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร


- อาตมะลักษณะ คือการยึดถือในตน


- ปุคคละลักษณะ คือการยึดถือในบุคคล


- สัตวะลักษณะ คือการยึดถือในขันธ์ห้า


- ชีวะลักษณะ คือสภาวะชีวิตแห่งสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร



การฝึกปฏิบัติโดยการ “สละ” นี้ จน “ลดน้อย ลดน้อย และลดน้อยลง ลุถึงภาวะอู๋เหวย” จึงจะ “สละ” จนเป็นเต๋าธรรมชาติที่จริงใจและเป็นตัวตนที่แท้จริง


เดิมทีร่างกายมนุษย์คือจุลจักรวาลมีความสัมพันธ์กับมหาจักรวาลที่ตอบสนองกันโดยตรง ร่างกายมนุษย์คือร่างของกายเนื้อกับจิตวิญญาณ มีวิสัยและมีชีวิต และเป็นไปตามหลักแห่งความสมดุลของหยินและหยาง ชีวิตของมนุษย์ได้รับพลังชีวิตที่ชอบจากฟ้าดิน ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับฟ้าดิน เป็นสัตว์ประเสริฐ เรียกได้ว่าล้ำค่าที่สุด ถ้าเช่นนั้น ในเมื่อเราเกิดมาตามชะตาชีวิตของพรหมลิขิตที่ ตามหลักการแล้วพึงต้องปฏิบัติตามเต๋าโดย “คนเจริญรอยตามดิน ดินเจริญรอยตามฟ้า ฟ้าเจริญรอยตามเต๋า เต๋าเจริญรอยตามธรรมชาติ”


หากฝ่าฝืนกฎธรรมชาติ สวนทางกับธรรมชาติ มีความโลภต่อทรัพย์สินเงินทองและแสวงหาชื่อเสียงจอมปลอม ผลลัพธ์จะมิใช่เพียงผิดกฎธรรมชาติ ยังมีสมบัติมากมายจะทำร้ายชีวิต และสูญเสียชื่อเสียง หากยังโลภมากต่อไป ไม่รู้จักพอและไม่รู้จักหยุด สิ่งที่จะตามมาคือเรื่องชั่วร้ายและภัยพิบัติ... นี่คือแบบฉบับของ “ทางสายใหญ่แม้จะราบเรียบ ยังมีคนชอบเดินทางผิด” เป็นเพราะคนเรา “เดินทางผิดเอง” มิใช่ฟ้าบันดาล แต่มนุษย์หาเรื่องใส่ตัวเอง


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 24 กันยายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1329)

* * *


** 九月是清靜能量月。


送上“大成若缺,其用不弊。大盈若冲,其用不穷。大直若屈,大巧若拙,大辩若讷”道德经第四十五章老子“五大”无上智慧,这是常新不断的生命创造状态,愿您联接宇宙秩序中的“缺”与“冲”的永不枯竭的再生源!愿您安住在自己本位上,显出自身的功用来,在做事中,得其气,显其神。

 

如果您的生活中遇到“躁”“寒”“热”的挑战时,请让自己恢复到“清静”状态,放下一切,回头走,“人法地,地法天,天法道,道法自然”,走上回家的路,最后归到自然,归到 “清静为天下正”的和谐整体核心上来,这是一个厚德道相的修行!

 

浮躁的世界,清静为天下正!躁胜寒,静胜热,心静者胜出。祝您好运!

早安!* * *


24“舍”出一个真心真我的自然大道

《道德经第44章分享暨能量月祝福》连载24


其次,人与大宇宙有着直接的对应关系。


本章很接地气,老子通过千古三问,主要是要教我们:在人世间怎么好好过日子?对此老子的总结是:大家要轻名利财货,而重自身修养。


千古以来,中外圣贤无一不告诫子孙:名利财货等身外之物,皆是过眼云烟,切不可殉物而害真、因小而失大,以至于自取其祸辱。我们要清楚,财货的属性是流通;而天地赐人财物的目的,在于养人性命——这份养命之财,其实人人都有,只不过所得的多少、厚薄不同罢了。为什么呢?因为,每个人生生世世所累积的阴德不同,这就好像去公司应聘,每个人的资质都不同,所以对应的“生命合约”与“工资待遇”也不尽相同。


这个道理很简单,所谓“三世因果”就是过去、现在和未来——我们今天的境遇,就是过去的自己所赐;未来的所得,又是今天的自己所种。这个时间单位如果从24小时拉长到人生百年或宇宙洪荒,背后的运转规律还是一如当初,绝不会有任何变化。正是因为宇宙规律是永恒的,所以,我们不可能违背天理而去强求生命线的改变。但规律虽然不能违背,却可以为我所用,这才是我们学习《道德经》的意义!人生中,唯有厚德才能摆脱因果律的制约;也唯有厚德才能重新修改生命程序的数据。


所以,财货这些外物,能养命就够了,何必贪多?何必厚藏?何必阻碍它们流通的特性呢?要知道:我们有此身,才有此财;若无此身,还何须此财呢?而这个“身”也不是永恒的,生老病死一直在改变这具“身”的外在状态。百年人生转瞬即逝,不会随着身死而消亡的是每个人内在的功德力——这份功德力可以护佑我们今天的安全,也可以决定我们未来的走向。


在本章中,老子正是通过得失的辩证之道来告诫世人:修真之人应当在一个“舍”字上下功夫——即摒弃得失之心、忘名绝利、大公无私。这不仅要舍去名利贪心,还要舍去所有非道之心,舍去一切损德败道的妄心妄念等阴性杂质;最后,舍去我相、人相、众生相、寿者相。这样在“舍”字上修,直到“损之又损,以至于无为”时,才能“舍”出一个真心真我的自然大道。


人的身体原本就是一个小宇宙,与大宇宙有直接的对应关系。人身是肉体与心灵之体,有性有命,也遵循阴阳平衡之理。人的生命得天地之正气,与天地并立,为万物之灵,可谓是至贵。那么,我们既然禀承天命之理的气数而生,就理应要“人法地,地法天,天法道,道法自然”地循道而行。


倘若背天理、逆天行,妄贪财货、妄求虚名,那结果不仅是亏天理了,还将是货多害生、名实皆丧。如果还继续贪得无厌,不知其足、不知其止,那接下来就是凶事随之、祸殃降之了……这就是典型的“大道甚夷而人好径”——是人“自入邪径”,不是天之所使,而是人之自招。


赵妙果,2021年09月24日,第1329天

1 view0 comments