คำอำนวยพร 25 กันยายน 2564
Updated: Oct 11, 2021

** "ความนิ่ง" ที่อยู่ใน "การเล่นกีฬาชนะความหนาวเหน็บ นิ่งชนะร้อนแรง" คือการฝึกฝนความใสสะอาดท่ามกลางความขุ่นมัว ฝึกฝนความนิ่งท่ามกลางการเคลื่อนไหว -- นี่คือความสงบนิ่งอย่างแท้จริงที่ขัดเกลาผ่านบททดสอบแห่งชีวิต
"การเล่นกีฬาชนะความหนาวเหน็บ นิ่งชนะร้อนแรง" คือการให้เราใช้ธรรมชาติเป็นครู เห็นเบื้องหลังการหมุนเวียนทั้ง 4 ฤดูว่าเป็นการผลักไสและส่งเสริม ก่อเกิดและควบคุมซึ่งกันและกันระหว่างความนิ่งและเคลื่อนไหว ความหนาวเหน็บและความร้อนแรง มองเห็นมูลเหตุของความหนาวเหน็บภายในความเคลื่อนไหว เห็นเมล็ดพันธุ์ของความร้อนท่ามกลางความหนาวเหน็บ ในความร้อนยังมีส่วนประกอบของความนิ่ง อันที่จริง เมื่อสรรพกิจสรรพสิ่งต่าง ๆ อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดล้วนสามารถกำเนิด สูญสลาย เติบโต เปลี่ยนแปลง และแปรเปลี่ยนซึ่งกันและกันได้
เชื่อว่าความสงบนิ่งและดีงามของเราจะไม่เสียเปล่า สิ่งที่เราสูญเสียไป จะกลับมาในอีกรูปแบบหนึ่ง เราเพียงต้องทำตนเองให้ดีที่สุด!
อรุณสวัสดิ์ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 44 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งพลัง
[หากสอดคล้องกับกฎแสดงว่ามีคุณธรรม เมื่อมีคุณธรรมย่อมต้องมีการได้]
ทำตามกฎเต๋า สุดท้ายต้องประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่แน่นอน
ความคิดมากมายของท่านเหลาจื่อได้ล้มล้างความคิดที่ตกทอดมา เช่น ชาวโลกส่วนมากใช้ชื่อเสียง ผลประโยชน์ และทรัพย์สินเงินทองมาวัดความเป็นวีรบุรุษ แต่ท่านเหลาจื่อกลับเตือนเราไม่ให้โลภ อย่าโลภในชื่อเสียง ผลประโยชน์ เหตุผล และอารมณ์ มิเช่นนั้น จะต้องจ่ายค่าทดแทนยับเยินแน่นอน
ชื่อเสียง ผลประโยชน์ เหตุผล และอารมณ์คือศูนย์ถ่วง 4 ประการของชีวิตคนเรา แม้ว่าแต่ละคนจะมีสิ่งที่ยึดมั่นแตกต่างกัน แต่หากเพียงวางศูนย์ถ่วง 4 ประการนี้ไว้ข้างหน้า “ร่างกาย” ลำดับความสัมพันธ์ระหว่างพวกมันกับ “ร่างกาย” จะกลับตาลปัตร เพราะไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะสำคัญเพียงใด ก็ยังคงเป็น “วัตถุภายนอก” เป็นเพียงแสงแวบหนึ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเท่านั้น มิใช่ความเป็นจริง ชีวิตที่มีเต๋าต้องรู้จักพอจากภายใน และรู้จักหยุดที่ภายนอก เพราะนี่คือ “ปกติ” และคือความเป็นจริงของจักรวาล ผู้บรรลุเต๋าปฏิบัติตามเต๋า จึงจะได้รับพลังจากกฎ และความช่วยเหลือจากสภาพแวดล้อม ชีวิตจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่ผาสุกและได้เก็บเกี่ยว
วิถีธรรมชาติสูงสง่า จะสร้างความสมดุลแก่สรรพชีวิตตามวาจาและการกระทำที่ดีกับเลว ตามการเพิ่มหรือลดของคุณธรรมกับกรรมที่ทำไว้ ค่าตอบแทนที่ได้เกินขีดจำกัดทั้งปวงคือการ “สูญเสียคุณธรรม” แม้ว่าคนเราจะมองไม่เห็นการแสดงออกของการสูญเสียคุณธรรม แต่กลับต้องเผชิญกับผลต่าง ๆ หลังจากสูญเสียคุณธรรมด้วยตนเอง หากสูญเสียคุณธรรมจนถึงขีดสุด คนผู้นั้นจะไม่อาจมีชีวิตอยู่ต่อได้แม้เพียงวันเดียว นอกจากนี้ แม้ตัวตายเป็นศพแล้วหนี้สินค้างจ่ายยังจะต้องชดใช้ต่อไปอีกด้วย ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำร้ายตนเอง ยังทำให้ลูกหลานต้องเป็นภาระด้วย... ดังนั้น ในบทนี้ ท่านเหลาจื่อเสนอความคิด “รู้จักพอไม่อดสู รู้หยุดได้เหมาะไม่มีภัยร้าย” อย่างชัดเจน หากรู้จักพอ จะไม่ตระหนี่ และจะไม่เกิดความโลภ หากรู้จักหยุด จะไม่สะสมสมบัติล้นฟ้า ดังนั้น ภัยพิบัติจะไม่มาเยือน นี่คือคำแนะนำที่ท่านเหลาจื่อบอกมนุษย์ด้วยน้ำใสใจจริง
เราทุกคนล้วนหวังให้ชีวิต ครอบครัว และธุรกิจการงานของตนดีงาม มีความสุข และประสบความสำเร็จ หวังที่จะหลงเหลือความผาสุกและมั่งคั่งไว้ให้ลูกหลาน ท่านเหลาจื่อมีข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า แม้ชื่อเสียง ผลประโยชน์ และทรัพย์สินเงินทองจะเป็นสิ่งที่ดี แต่เป็นวัตถุนอกกาย ไม่ควรค่าแก่การทุ่มเทอย่างสุดความสามารถหรือสูญเสียชีวิตเพื่อสิ่งเหล่านั้น ส่วนการให้ความสำคัญกับร่างกาย ใส่ใจจิตวิญญาณ และเลื่อมใสคุณธรรมหนาแน่น จึงจะเป็นหัวใจสำคัญที่แท้จริงในการหยั่งรากให้มั่นคง เมื่อมีสิ่งเหล่านี้แล้ว สิ่งที่ควรเป็นของเราจะไม่หนีไปไหนได้ หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ แม้อยู่ในมือแล้วก็ไม่อาจถือไว้ได้มั่น ดังนั้น การรู้จักพอและหยุดมิใช่ภาวจิตที่ดี แต่มีภูมิปัญญามาก เมื่อมีภูมิปัญญา ทุกปัญหาในชีวิตจะแก้ไขได้อย่างง่ายดาย นี่คือเป้าหมายที่เราศึกษาคัมภีร์
ในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโลกตะวันตกหรือตะวันออก ระดับบนหรือระดับล่าง ผู้นำหรือประชาชน นับวันมีคนชอบอ่านคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” มากยิ่งขึ้น เพราะการอ่านคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ทำให้เข้าใจชีวิต ในนี้มีกฎ มีความจริง และวิธีการ ในนี้ยังมีความสงบ ความอบอุ่น และมีพลัง เหตุใดบางคนที่อ่านคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” แล้วรู้สึกว่าตนเองนับวันยิ่งโชคดีเล่า อันที่จริงนี่ไม่ใช่โชค แต่เป็นเพราะเขาเข้าใจกฎแล้ว ทั้งยังปฏิบัติตนและทำงานตามกฎโดยไม่รู้ตัว โชคของคนเรา คือการแสดงออกทางภายนอกว่า เราสอดคล้องกับกฎหรือไม่ หากสอดคล้องกับกฎแสดงว่ามีคุณธรรม เมื่อมีคุณธรรมย่อมต้องมีการได้
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 25 กันยายน 2564
(เผยแพร่วันที่ 1330)
* * *
** “躁胜寒,静胜热”中的“清静”是在浊中修出的真清、在动中修出的真静——这是经过生活的考验而磨砺出的真正的如如不动。
“躁胜寒,静胜热”是让我们以自然为师,看到四季交替的背后是静与躁、凉与热的相反相成、相生相克;看到燥中有寒的因子,寒中有热的种子,热中也有静的成分。实际上,万事万物在一定条件下都可以发生消长变化,实现相互转化。
相信我们的清静,善良,终不被辜负,我们所失去的,都会以另一种方式归来,我们只需做最好的自己!
早安!* * *
25符合规律就是有德,有德必有所得
《道德经第44章分享暨能量月祝福》连载25
顺着道的规律去做,最终一定能得到大成功。
老子的很多思想都是对传统思维的一种颠覆——比如,世人多以名利财货论英雄,而老子却告诫我们不要贪,名利理情都不要贪;否则,必定要付出惨重代价。
名、利、理、情是人生的四大重心,虽然不同的人执着的对象不同,但只要把这四大重心放在“身”的前面,就颠倒了它们与“身”的关系——因为,它们再重要,依旧是“外物”,只是生命中的一段流光,而不是实相。有道的人生就是要懂得知足于内而知止于外,因为这就是“常”,这才是宇宙的真相。体道之人顺道而行,才能得到规律的加持、环境的帮助,体会人生的幸福感与获得感。
天道巍巍,自会根据善与恶的言行、德与业的增减来均衡众生。一切非份所得的代价就是“损德”——人虽然看不见损德的表现,却必须亲历损德之后的种种遭遇。如果损德损到了极处,这个人就绝不可能多活一天;而且,即使身死,没还完的债也一样要继续偿还。以至于不但戕害自己,还会连累子孙……因此本章中,老子旗帜鲜明地提出了“知足不辱,知止不殆”的理念:知足,就不会甚爱,因而贪念不会萌生;知止,就不会多藏,所以灾祸不会上门。这就是老子给人类的忠告!
我们每个人都希望自己的生命、家庭、事业能健康、幸福、成功,希望能为子孙留下福报安康。对此,老子的总结是:名利财货虽好,却是身外之物,不值得为此殚精竭虑、殒身害命。而重视身体、珍视心灵、崇尚厚德,这才是人生固本培元的真正核心——有了这些,该是您的一个也跑不掉;没了这些,抓在手里也是一场空。因此,知足、知止不是心态好,而是智慧高。有了智慧,人生一切问题都将迎刃而解,这才是我们学习经典的目的。
当今世界,无论是东方还是西方、上层还是基层、领袖还是民众,越来越多的人开始喜欢读《道德经》。因为读《道德经》可以读懂人生——这里有规律、有真相、有方法;这里也有宁静、有温暖、有力量。为什么有人感觉自己学习了《道德经》以后越来越走运了呢?其实,这不是运气,而是他懂得了规律,并且不知不觉间已经在按照规律为人处世了。一个人的运气,就是自己是否符合规律的外在表现,符合规律就是有德,有德必有所得。
赵妙果,2021年09月25日,第1330天