top of page

คำอำนวยพร 25 พฤศจิกายน 2564


**  หลายเรื่องราวในโลกนี้ เมื่อเราเปลี่ยนมุมมอง ก็จะได้ข้อสรุปที่แตกต่างกัน โลกนี้ไม่มีดีชั่วถูกผิดที่ตายตัว  ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความหมายในการดำรงอยู่  กุญแจสำคัญคือ  เราต้องอาศัยประสบการณ์เหล่านี้มากำจัดความยึดติดในจิตใจ สั่งสมคุณธรรมล้ำลึก ขัดเกลาอัตลักษณ์ "ให้คุณไม่เป็นพิษเป็นภัย  มอบอุทิศไม่คิดชิงดีกับใคร" ของตน ให้ตนก้าวเดินไปพร้อมกับเต๋า ทำให้ชีวิตเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตใจอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่มีชะตาเดียวกัน และทำให้ความผาสุกอยู่เคียงข้างเรา!


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[“ผู้รู้จักพอนั้นมั่งมี” ต้องฝึกฝน “เป็นผู้ล้ำเลิศ เป็นผู้เข้มแข็ง มีปณิธาน เป็นผู้ยั่งยืน และอายุยืน”]


3.2 วิธีการฝึกปฏิบัติของ “ผู้รู้จักพอนั้นมั่งมี”


ในคัมภีร์บทนี้ ท่านเหลาจื่อใช้อักษรเพียงไม่กี่คำ พรรณนาว่าความทะยานอยากทุกชนิดล้วนควบคู่มากับความทุกข์ทรมานที่ไม่อาจสาธยายเป็นคำพูดได้ ทั้งยังอธิบายอย่างละเอียดว่า “ความทะยานอยาก” คือหัวใจแห่งความทุกข์ทรมานของการเกิดแก่เจ็บตายของมนุษย์ สุดท้าย ท่านเหลาจื่อได้มอบวิธีการ “รู้จักพอย่อมสมบูรณ์ยั่งยืน จะมีพอเพียงนิรันดร์” เพื่อให้เราเลี่ยงความทุกข์ทรมานไปสู่ความพอใจโดยตรง


แต่ “รู้จักพอย่อมสมบูรณ์ยั่งยืน” ที่เป็นเพียงตัวอักษร ยากที่จะสื่อถึงความหมายของท่านเหลาจื่อได้อย่างแท้จริง สรุปคือ ความพอใจนี้กว้างใหญ่มาก โดยเฉพาะเมื่อสร้างอยู่บนสภาวธรรมเต๋าในมิติที่สูงขึ้น หรือกล่าวว่า ทำงานโดยใช้กฎเต๋า จึงจะได้รับความพอใจในระดับที่สูงขึ้น


สิ่งที่กล่าวว่า “พอเพียงนิรันดร์” หมายความว่า ไม่ว่าสภาพภายนอกเป็นเช่นไร ภายในจิตใจล้วนเปี่ยมไปด้วยพลัง แสงสว่าง และความสงบนิ่ง ซึ่งจะได้รับโดยผ่านการบูรณาการตนเองและคุณธรรมอันสมบูรณ์ อันที่จริง เมื่อเข้าใจความหมายแฝงของ “รู้จักพอแล้ว” จะเข้าใจชีวิตที่มีเต๋าทั้งหมด คัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ทั้งเล่มล้วนบอกเราว่าต้อง “มีเต๋า” เมื่อมีเต๋าจึงจะมีคุณธรรม ผู้มีคุณธรรมจึงจะมีส่วนได้ และรอบรู้ศาสตร์ทุกแขนง เข้าใจรอบด้าน และพอเพียงนิรันดร์ตามธรรมชาติได้อย่างแท้จริง สิ่งสำคัญคือ เราควรจะทำอย่างไร จึงจะปฏิบัติ “เต๋า” ได้จริง และสร้างเส้นทางสัญจรแห่งชีวิตที่ “ผู้รู้จักพอนั้นมั่งมี” ให้ตนได้สำเร็จ


ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า “ผู้รู้จักพอนั้นมั่งมี” ต้องฝึกปฏิบัติทักษะจริง 5 ระดับอันได้แก่ “เป็นผู้ล้ำเลิศ เป็นผู้เข้มแข็ง มีปณิธาน เป็นผู้ยั่งยืน และอายุยืน” ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” บทที่ 33 ว่า “รู้จักผู้อื่นเป็นผู้มีปัญญา รู้จักตนเองเป็นผู้ล้ำเลิศ เอาชนะผู้อื่นเป็นผู้มีกำลัง ชนะตนเป็นผู้เข้มแข็ง รู้จักพอจึงมั่งมี มีปณิธานจึงรุดหน้า ไม่สูญเสียรากฐานเป็นผู้ยั่งยืน ตัวตายความดีอยู่ เป็นผู้ยั่งยืนแท้จริง”


มี “คติประจำใจ” ประโยคหนึ่งที่เราสามารถทำเป็นประจำ และช่วยตนฝึกฝนการ “รู้จักพอ” นั่นคือ “ฉันคือผู้ที่มีความสุข รู้จักพอ และสำนึกบุญคุณเป็นอย่างมาก” อันที่จริง ความคิดของเรามีพลังมหาศาล แต่สิ่งที่จิตใจไม่เคยเรียกหาจะไม่มาเอง หากเราสามารถยืนหยัดเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการรู้จักพอไว้ในความคิดทุกวัน ต้องมีสักวันที่ความผาสุกจะผลิดอกออกผล


ลองคิดอย่างถี่ถ้วนดูว่า การที่เรามีอาหารรับประทาน มีเสื้อผ้าสวมใส่ มีบ้านให้อยู่อาศัย และสิ่งของที่ใช้งานในทุกวันนี้ เรามีคุณธรรมอะไรที่คู่ควรกับการใช้สิ่งของเหล่านี้เล่า เราอุทิศอะไรเพื่อมนุษย์บ้าง จากนั้นทุกครั้งที่คิดเช่นนี้ ในจิตใจจะเกิดความละอายและซาบซึ้งใจขึ้น เมื่อนั้นเราจะมีความอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริงแล้ว


หากเราสามารถคิดเช่นนี้ตลอดมา จะเป็นการรักษาจิตที่สำนึกบุญคุณและอ่อนน้อมถ่อมตนไว้ตลอดเวลา หากแม้ว่าเราจะมีชีวิตที่ต้องนอนกลางดินกินกลางทราย รับประทานอาหารแบบง่าย ๆ และชีวิตได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงของโลกมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ยังคงสำนึกบุญคุณต่อทุกสิ่งทุกอย่างได้ ทั้งยังคิดหาทุกวิถีทางเพื่อตอบแทนบุญคุณโลกใบนี้ เช่นนั้น ความกลัดกลุ้มใจของเราจึงหมดไป และทั่วหล้าจึงสงบสุข


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1390)

* * *


** 人世间,很多事情换个角度,结论也截然不同。世间没有绝对的善恶是非,凡事都有它存在的意义。关键在于:我们要借用这些经历来破除心执、累积玄德,磨亮自己“利而不害,为而不争”的本色,让自己与道同行。让人类命运共同体的伟大情怀贯穿于生命的始终,让幸福伴随左右!

早安!* * *


25“知足者富”要修“明、强、志、久、寿”

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载25


十七、“知足者富”的修行方法。


本章中,老子仅用了寥寥数十字,就描述出了各种欲望都伴有无以名状的痛苦,透彻地讲述了“欲望”才是带给人类生老病死等种种痛苦的核心。最后,老子给出了“知足之足,常足矣”的方法,就是为了让我们绕过痛苦、直接追求满足。


但这个“知足之足”只依照字面,实在很难讲出老子所说的意味。总之,这个满足很大,而且是建立在一种更高维度的有道境界中;或者说,这是一种以大道规律去行事,才能得到的更高层级的满足。


所谓“常足”就是不论外在情况如何,内心都充满力量、充满光明、充满平静——这是能通过整合自我和圆满德性来获得的。实际上,悟出了“知足”的内涵,也就悟透了有道的人生。整部《道德经》都在告诉我们要“有道”。有道才能有德,有德者才有所得——才能真正达到通天彻地、明白四达,自然恒足。关键是,我们应该怎么做,才能让“道”落在实处?成就自己“知足者富”的生命旅途?


老子说,“知足者富”要修“明、强、志、久、寿”这五层境界的真功夫。也就是《道德经》第三十三章中所说的:“知人者智,自知者明。胜人者有力,自胜者强。知足者富,强行者有志。不失其所者久,死而不亡者寿。”


有一个“冥想”,我们可以经常做,来帮助自己修“知足”。这个冥想就是:“我是一个非常幸福、非常知足、非常感恩的人。” 实际上,我们思想的力量极其强大,但心不唤物,物不至——如果能每天坚持在思想中种下知足的种子,终有一日,幸福会开花结果。


是啊,仔细想想:如今我拥有的这些吃的、穿的、住的、用的,这一切我有何德何能去享用呢?我对人类贡献了什么呢?于是,每当这样想时,心里那份惭愧与感动就会升起,人就真正富足了。


如果我们能一直这样想,就会永远保持一份感恩、一份谦虚。如果我们即使风餐露宿、粗茶淡饭、饱经沧桑,但依旧能对一切充满感恩,还是在想尽办法去回报这个世界。那么,我们的烦恼就没有了,天下也就太平了。


赵妙果,2021年11月25日,第1390天

0 views0 comments