คำอำนวยพร 26 มกราคม 2565

** จุดเด่นของเต๋าคือ “กระทำโดยไม่กระทำ” แต่มิใช่ไม่ทำอะไรเลย และไม่ใช้สมองคิด หรือทำตามอำเภอใจ คำว่า “กระทำ” คือการทำงาน “ไม่กระทำ (อู๋เหวย)” คือหลักการของการทำงาน คำว่า “กระทำโดยไม่กระทำ” นี้ มีความสามารถในการทำจริงและมีภูมิปัญญาที่เหนือธรรมดา ทั้งยังมีพลังในการแบกรับ และจิตใจที่ปล่อยวางได้ การกระทำและไม่กระทำ เปรียบเสมือนหยินและหยางของวงกลมไท่จี๋ ที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน หากขาดด้านใดด้านหนึ่งไป ชีวิตย่อมขาดความสมดุล เมื่อทั้งสองบรรลุถึงความเป็นเอกภาพ มนุษย์จะไม่ถูกความทะยานอยากชักจูง ไม่ถูกจำกัดด้วยชื่อเสียงผลประโยชน์ และไม่หวาดกลัวความเป็นความตายอีกต่อไป ตัวฉันในเวลานั้นจะทำลายกรอบเล็กๆ ที่เคยมี ให้ชีวิตเปล่งแสงเจิดจรัส ส่องสว่างไปทั่วโลก
คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์
จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *
ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 48 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการอำนวยพรปีใหม่
[ให้ความสำคัญกับวิธีเชิงลดจากอัตตาไปสู่ส่วนรวม]
คติธรรม บทที่ 48
1. สิ่งที่คัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ทั้งห้าพันคำอธิบายคือการ “ฝึกธรรมะ” การฝึกธรรมะมิใช่การศึกษาหาความรู้ แต่เป็นการแสวงหาภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของชีวิต หากต้องการแสวงหาภูมิปัญญาต้องมีความถูกต้องและคุณธรรมเสียก่อน กระบวนการของความถูกต้องและคุณธรรมคือกระบวนการใช้การ “ลดน้อย” มา รู้จักตนเอง เมื่อมีความถูกต้องและคุณธรรมจะไม่วุ่นวาย เมื่อไม่วุ่นวายจึงเข้าสู่สภาวะของเต๋าได้ แล้วปลดปล่อยพลังของจิตวิญญาณในระดับที่สูงยิ่งขึ้น
2. การศึกษาหาความรู้ต้องใช้หลักการเพิ่ม ยิ่งเข้าใจมากยิ่งดี แต่การรังสรรค์จิตวิญญาณต้องใช้หลักการลด มีความปรารถนาส่วนตนยิ่งน้อยเท่าไรยิ่งดี ขจัดความปรารถนาส่วนตนออกส่วนหนึ่ง จะรักษาหลักธรรมชาติไว้ได้ส่วนหนึ่ง ลดอัตตาลงส่วนหนึ่ง จะเป็นส่วนรวมส่วนหนึ่ง ระงับความโลภ สลายความไม่รู้ (อวิชชา) ลดความคิดด้านลบลง ความคิดเพื่อส่วนรวมจะค่อย ๆ ถูกปลุกให้ตื่นขึ้น
3. หากชีวิตสามารถยกขึ้นและปล่อยวางได้ เข้าออกได้อย่างอิสรเสรี เรียกได้ว่าสอดคล้องกับเต๋านิรันดร์แล้ว คำว่า “ยกขึ้น” หมายถึง การศึกษาหาความรู้ต้องพากเพียรและฝึกฝนหลอมหล่อด้วยความยากลำบาก รู้เพิ่มเมื่อศึกษา ส่วนคำว่า “ปล่อยวางได้” หมายถึง การปฏิบัติเต๋าต้องปล่อยวางสรรพบุญวาสนา ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย
4. สิ่งที่การ “ศึกษา” อธิบายคือสมรรถภาพทางด้านสมอง ส่วนการ “ฝึกธรรมะ” อธิบายถึงสมรรถภาพทางด้านจิตวิญญาณ กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับวิธีแสวงหาจากภายใน ทุกวิถีทางล้วนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันคือเต๋า และวิธีดำเนินชีวิตเชิงลดจากอัตตาไปสู่ส่วนรวม
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ
วันที่ 26 มกราคม 2565
(เผยแพร่วันที่ 1451)
* * *
** 道的特点是“为无为”,但这不是无所事事,也不是不动脑筋、任性妄为。“为”是做事,“无为”是做事的原则,这三个字,既有做到的能力,又有超然的智慧;既有拿起的力量,又有放下的心胸。为与无为,就像太极阴阳,相辅相成,缺少任何一面,人生都会失衡。二者达到统一时,人就再也不会被欲望所牵、被名利所限、被生死所惧了,这时的我将突破原有的小格局,让生命频频光华在天地间。
早安!* * *
26重视从小我走向大我的减法人生
《道德经》第48章分享暨元旦月祝福》连载26
第四十八章 悟道心得
一、《道德经》五千言只讲了“为道”二字。为道不是学习知识,而是追求生命的大智慧。想求智慧必先正德,正德是以“损”来认识自己的过程。德正则无事,无事才能入道,释放心灵更高层级的力量。
二、学习知识要做加法,了解越多越好;建设心灵要做减法,私欲越少越好。去一分私欲,便存一分天理;减一分小我,便成一分大我。调服贪欲,化解无明,减少负面的起心动念,大我就会逐渐被唤醒。
三、人生能有拿得起、放得下的出入自由,就合乎常道了。拿得起是指做学问要勤学苦练,为学日益;放得下是说行道要万缘放下,为道日损。
四、“为学”讲头脑层面的功能;“为道”讲心灵层面的功能,即重视内求法,重视万法归宗,重视从小我走向大我的减法人生。
赵妙果,2022年1月26日,第1451天