top of page

คำอำนวยพร 3 มกราคม 2565



** ความทุกข์มิใช่ติดตัวมาเองในชีวิต หากไม่ทำตามอำเภอใจ เดิมทีชีวิตคนเราจะมีความผาสุกและอิสรเสรี 


พละกำลังทั้งหลายมีไว้เพื่อบริหารจัดการตนเอง  มิใช่เพื่อไปแทรกแซงผู้อื่น  ความสงบสุขคือการได้ในระดับสูงสุด  ไม่หยุมหยิมคือความผาสุกที่มากที่สุด


“การปกครองทั่วหล้าต้องไม่หยุมหยิม” หมายถึง  ไม่ทำตามอำเภอใจและไม่ก่อปัญหา


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 48 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการอำนวยพรปีใหม่


[“ศึกษา” คือการเข้าใจหลักเหตุผล “ฝึกธรรมะ” คือการทำได้จริง]


ฉันรู้ว่าการ “ศึกษา” คือการเข้าใจหลักเหตุผล การ “ฝึกธรรมะ” คือการทำได้จริง ทั้งสองต้องประสานกันอย่างสนิทแน่นแฟ้น ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปมิได้ เพราะการศึกษาคือการตรวจสอบทิศทางให้ถูกต้อง เมื่อทิศทางถูกต้อง การขับเคลื่อนจึงราบเรียบไร้อุปสรรค การฝึกธรรมะคือการลงมือปฏิบัติจริง เมื่อทำได้แล้ว คนเราจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง ความราบเรียบไร้อุปสรรคและสอดคล้องกับความเป็นจริงคือการสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ เมื่อปฏิบัติตามเต๋า ชีวิตย่อมได้ผลเก็บเกี่ยว


ฉันรู้ว่า การ “ฝึกธรรมะ” สามารถสร้างได้เพียงบนพื้นฐานการก้มหน้าก้มตาฝึกปฏิบัติและพิสูจน์จริงเท่านั้น นี่คือการอยู่นอกกรอบของโลกอันมีรูปที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เข้าสู่สภาวะไร้รูปที่เป็นจริงทางภววิสัย การ “ฝึกธรรมะ” คือทักษะในการปฏิบัติตน การปฏิบัติตนต้องยืนอยู่บนความเป็นจริง เรียบง่ายไม่หรูหรา ละทิ้งความซับซ้อน ใช้วิธีการที่ง่ายๆ ต้องถนอมรักความสามารถในการรับใช้ของตน สำนึกบุญคุณโอกาสที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เคารพยำเกรงเรื่องเล็กเรื่องน้อยทุกเรื่องที่ผ่านมือตน ชำระล้างความทะยานอยากที่โลภในผลงานและชื่อเสียง จากนั้น “ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย” จนลุถึงสภาวะ “อู๋เหวย กลับประสบความสำเร็จทุกประการ”


ฉันรู้ว่า การ “ประสบความสำเร็จทุกประการ” คือสภาวะสูงสุดของการคิดสิ่งใดสมความปรารถนาในสิ่งนั้น ทุกครั้งที่ทักษะ “อู๋เหวย” ก้าวหน้าไปอีกขั้น จะมีการ “ประสบความสำเร็จทุกประการ” ที่สอดคล้องตรงกันมาให้เราใช้งาน และทุกครั้งที่ทักษะ “อู๋เหวย”ถดถอยลงไปหนึ่งขั้น เราจะสูญเสียคุณงามความดีขั้นที่ “ประสบความสำเร็จทุกประการ” ไป” คำว่า “อู๋เหวย” หมายถึงการให้ความสำคัญกับความ “ไม่มี” ในโลกแห่งจิตวิญญาณ แต่กระตือรือร้น “กระทำ” ในโลกที่เป็นจริง ความ “ไม่มี” ในจิตวิญญาณ คือการปล่อยวางแนวคิด การยึดติด และการได้เสีย ส่วนการ “กระทำ” ในโลกที่เป็นจริง คือการทำดีเสมอต้นเสมอปลาย รับผิดชอบหน้าที่อย่างสุดความสามารถ และดีงามสมบูรณ์แบบ ทั้งสองสิ่งนี้ หนึ่งคือภาวจิต อีกหนึ่งคือคำพูดและการกระทำ ทั้งภาวจิต คำพูด และการกระทำจำเป็นต้องเป็นเอกภาพกันในเต๋า จึงจะเป็นสภาวะที่ดีที่สุดของชีวิต


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 3 มกราคม 2565

(เผยแพร่วันที่ 1428)

* * *


** 烦恼不是生命里自带的,如果不作,人生原本就是幸福、就是自在。

所有精力都是用来管理自己,而不是去干涉他人的。平安是最高的得到,无事是最大的幸福!

“取天下常以无事”说的就是不妄为造作、无事生非。

早安!* * *


03“为学”是明理,“为道”是做到

《道德经》第48章分享暨元旦月祝福》连载03


我知道,“为学”是明理,“为道”是做到,两者要紧密结合,缺一不可。因为,为学是校对方向,方向对,路就坦荡;为道是落地践行,做到了,人才踏实。坦荡踏实就是合乎规律,顺道而行人生必有收获。


我知道,“为道”只能建立在默修实证的基础上,这是跳出不断变化的有形世界,进入客观真实的无形境界。“为道”是做人的功夫,做人要脚踏实地、朴实无华、去繁从简;要珍惜自己服务的能力,感恩帮助别人的机会,敬畏每件经手的小事,清理贪功贪名的欲望,通过“为道日损”到达“无为而无不为”的境界。


我知道,“无不为”是心想事成的最高境界。“无为”的功夫每精进一层,就会有对应的“无不为”来给我受用;而“无为”的功夫每跌下去一层,就会失去那一层“无不为”的功德。所谓“无为”就是在心灵世界中重视“无”,而在现实世界中积极“为”。心灵中的“无”是放下概念、放下执著、放下得失;现实中的“为”是善始善终、尽职尽责、尽善尽美。这两者,一个是心态,一个是言行,心态与言行必须统一在大道中,才是生命最好的状态。


赵妙果,2022年1月3日,第1428天

2 views0 comments