top of page

คำอำนวยพร 6 กันยายน 2564

Updated: Oct 11, 2021


** สภาวะสูงสุดของการฝึกปฏิบัติคือการย้อนคืนสู้ความเรียบง่าย หมายความว่า หลังจากความรุ่งเรืองแล้วสามารถหวนคืนสู่ความธรรมดาได้ เมื่อฝึกปฏิบัติและประสบความสำเร็จถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่ยังมีจิตใจกว้างขวางดั่งหุบเขา แสดงความว่างเปล่าที่ไม่เต็มเปี่ยมออกมา เมื่อเปี่ยมล้นอย่างที่สุดแล้ว กลับจะดูคล้ายว่างเปล่า ดังบทกวีที่ว่า "เดินลุยข้ามแม่น้ำดั่งเดินข้ามมุ่งดอกชบา บทกลอนเรียบง่าย จิตใจคนก็เรียบง่าย" ความเรียบง่ายคือจุดสูงสุดของชีวิตคนเรา!


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 44 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งพลัง


[คำถามแห่งชีวิต 3 ข้อที่ท่านเหลาจื่อชี้ไปที่จิตใจคนเรา]


ชื่อเสียงกับร่างกายอะไรใกล้ตัว ร่างกายกับทรัพย์สินอะไรสำคัญ สูญเสียชีวิตกับลาภยศอะไรให้โทษ


ตอนต้นของบทนี้ ท่านเหลาจื่อชี้ไปที่จิตใจโดยตรง ตั้งคำถามที่ทุกคนต้องขบคิดอย่างลึกซึ้ง 3 ข้อดังต่อไปนี้คือ


คำถามแรก ชื่อเสียงกับร่างกายอะไรใกล้ตัว


คำถามที่สอง ร่างกายกับทรัพย์สินอะไรสำคัญ


คำถามที่สาม สูญเสียชีวิตกับลาภยศอะไรให้โทษ


คำถามทั้ง 3 ประโยคนี้ ล้วนเป็นคำถามเกี่ยวกับสามัญสำนึก ซึ่งไม่บอกคำตอบก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว เมื่อเปรียบเทียบ “ร่างกาย” กับชื่อเสียงเงินทอง สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน แน่นอนว่า “ร่างกาย” สำคัญกว่า เพราะร่างกายเป็นที่พึ่งพิงของชีวิต แต่เมื่อคนเราประสบกับเหตุการณ์ที่เป็นรูปธรรมจริง จิตใต้สำนึกกลับมักนำชื่อเสียงและผลประโยชน์มาไว้ข้างหน้าของ “ร่างกาย” เสมอ ดังนั้น ท่านเหลาจื่อจึงเตือนสติทุกคนตั้งแต่ต้นว่า ต้องระมัดระวังการสลับลำดับความสำคัญของสามัญสำนึกนี้


หลายคนมีความคิด “ชื่อเสียงและผลประโยชน์สำคัญกว่าร่างกาย” แฝงอยู่ในจิตใจ ทั้งนี้ย่อมมีสาเหตุอยู่ เพราะชื่อเสียง ผลประโยชน์ และความทะยานอยากที่ชอบธรรม อันที่จริงเป็นความต้องการเพื่อการอยู่รอดของคนเรา เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเติมเต็ม หากคนเราตัดความทะยานอยากได้อย่างเด็ดขาดจะไม่อาจอยู่รอดได้ แต่หากปล่อยตัวไปตามความทะยานอยากก็ย่อมจะเดินสู่ความล้มเหลวและเสียชีวิตแน่นอน ระดับความเหมาะสมนี้คือความคิดเชิงวิภาษที่สำคัญที่สุดของท่านเหลาจื่อในบทนี้ ดังนั้น ท่านเหลาจื่อจึงได้เปิดเผยคำตอบอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่อ้อมค้อมในเวลาต่อมาว่า “ตระหนี่เกินไปจะสิ้นเปลืองมาก สมบัติล้นฟ้ากลับเสียหายยับเยิน รู้จักพอไม่อดสู รู้หยุดได้เหมาะไม่มีภัยร้าย จึงอยู่เย็นเป็นสุขยาวนาน”


ต่อจากนี้ เราจะเข้าสู่คัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” บทที่ 44 ด้วยกัน คัมภีร์บทนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 แบ่งการอธิบายออกเป็น 3 ประเด็นดังนี้


-ประเด็นที่ 1 ชีวิตคนเรามี 3 ปัญหาใหญ่ที่จำเป็นต้องจัดการให้ชัดเจน


-ประเด็นที่ 2 การสั่งสมคุณธรรมรักษาชีวิตไว้ได้ การตามหาเต๋ายกระดับชีวิตได้


-ประเด็นที่ 3 คุณค่าของชีวิตคืออะไรกันแน่


ประเด็นที่ 1 ชีวิตคนเรามี 3 ปัญหาใหญ่ที่จำเป็นต้องจัดการให้ชัดเจน


1.1 ชื่อเสียงกับชีวิต อะไรสำคัญกว่ากัน


ความคิดของท่านเหลาจื่อเป็นระบบที่สมบูรณ์ ในแต่ละบทมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น เช่น บทนี้กับก่อนหน้านี้บทที่ 13 มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก ล้วนแต่อธิบายถึงปัญหาบุคลิกภาพและศักดิ์ศรี เพียงแต่ในบทที่ 13 นำความโปรดปราน เหยียดหยาม ภัยและโชคมาเปรียบเทียบกับชีวิตคน แต่บทนี้ได้นำชื่อเสียง ผลประโยชน์ ทรัพย์สินเงินทอง ผลได้เสีย ความล้มเหลวและความสำเร็จมาเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ อันที่จริง ทั้งสองบทต่างต้องการอธิบายว่า เหตุใดคนเราจึงควรให้ความสำคัญและรักตนเอง


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 6 กันยายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1311)

* * *


** 修行的最高境界就是返璞归真,意为灿烂之后能够归于平淡。修养和成就到了最高的境界,反而虚怀若谷,表现出很空虚不足的样子;丰盈到了极处,反而显得空空如也。涉江而过,芙蓉千朵· 诗也简单,心也简单。简单亦是人生最高的到达!

早安!* * *


06老子剑指人心的人生三问

《道德经第44章分享暨能量月祝福》连载06

名与身孰亲?身与货孰多?得与亡孰病?


本章一开篇,老子直接剑指人心,提出了三个所有人都需要深思的问题:


第一问:名与身孰亲?


第二问:身与货孰多?


第三问:得与亡孰病?


这三个问句,问的都是常识性的问题,答案其实也不言而喻。“身”与名利相比较,哪个重要?当然“身”重要,因为“身”是生命的寄托之所。但人们在遇到具体事情时,却经常下意识地把名利放在“身”之前,所以老子一开始就提醒大家:要注意这个容易被颠倒的常识。


很多人都具有“名利重于人身”的潜在心理,这也是有原因的。因为合理的名利欲望其实是人的生存需求,是必须得到满足的。人如果绝对禁欲是无法生存的;但若是纵欲的话,也必然走向败亡——这个度就是老子在本章中最重要的辩证思想。所以,老子随后也直言不讳地揭示了答案:“甚爱必大费,多藏必厚亡。故知足不辱,知止不殆,可以长久。”


接下来,我们就一起走进《道德经》第四十四章。本章分为两段,第一段共十五个字,分为三个层面来阐述:


 第一层面,人生有三大问题,必须厘清;


 第二层面,积德可以保全生命,求道可以升华生命;


 第三层面,生命的价值到底是什么。


第一层面,人生有三大问题,必须厘清。


首先,名誉与生命,谁更重要?


老子的思想是一个完整的体系,各章节之间有着密切的关系。比如这一章和前面的第十三章有极其相似之处,都是在讲人格尊严的问题:只是第十三章中,是拿宠辱祸福来与人的生命相比;而这一章则是拿名利财货、得失成败来与人的生命相比。实际上,两者都是为了说明:人为什么应该自重自爱。


赵妙果,2021年09月6日,第1311天

0 views0 comments
bottom of page