top of page

คำอำนวยพร 2 พฤศจิกายน 2564

Updated: Nov 5, 2021


**  "ผิดหนักที่สุดคือเห็นแก่ตัวและทะยานอยาก" คำตอบที่ 1 คือคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 3 ที่กล่าวว่า "ไม่ยกย่องแต่ผู้ปรีชา  ประชาชนจะไม่ยื้อแย่ง  ไม่สนใจสิ่งหายาก  ผู้คนไม่เป็นโจร  ไม่มีสิ่งยั่วยุ  จิตใจไม่ว้าวุ่น" คำตอบที่ 2 คือคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 12 ที่กล่าวว่า "สีทั้งห้าทำให้ตาพร่ามัว  เสียงทั้งห้าทำให้หูเสียการฟัง  รสทั้งห้าทำให้ลิ้นไม่รู้รสชาติ ล่าสัตว์ตามอำเภอใจทำให้ใจเสียจริต" คำตอบที่ 3 คือคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 19 สูตรยาที่ท่านเหลาจื่อมอบให้แก่มนุษย์เพื่อเป็นการเตือนสติคือ "ละทิ้งปัญญาหลักแหลม  ละทิ้งเมตตาจอมปลอม  ละทิ้งลาภยศเล่ห์กล"  ท่านเหลาจื่อเตือนมนุษย์ให้ทำตน "เรียบง่ายบริสุทธิ์  ลดความเห็นตัว  ละความทะยานอยาก" "ความทะยานอยาก" มิเพียงแต่จะทำให้จิตใจคนเราว้าวุ่น  แต่ยังทำให้ผู้คนออกห่างจากอุปนิสัยเดิมที่สงบนิ่งและอู๋เหวย  มูลเหตุของสังคมที่วุ่นวายหลังจากขาดเต๋าคือ "ความทะยานอยาก"  พฤศจิกายนเป็นเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว  ขออำนวยพรให้ความผาสุกอยู่เคียงข้างท่าน!


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งเก็บเกี่ยว


[ประเด็นสำคัญของการรู้จักพอสุขนิรันดร์คือการสำรวจตนเอง]


เมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตหยั่งรากแตกกล้าได้จากการปลูกหว่านด้วยการรับใช้ประชาชน หากอยากเก็บเกี่ยวความสำเร็จ จะต้องโถมตัวสู่การรับใช้ด้วย “สี่ปรองดอง” คือ “ปรองดองสังคม ธุรกิจการงาน ครอบครัว และกายใจคือหน้าที่ของฉัน” “สี่ปรองดอง” คือดินที่มีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์สำหรับปลูกสร้างต้นไม้ชีวิตของเราทุกคน ดินมิได้ต้องการต้นไม้ แต่ต้นไม้ต่างหากที่ขาดดินไม่ได้ หากเรายอมแบกรับภาระหน้าที่ต่อ “สี่ปรองดอง”อย่างสูงสุด สิ่งที่สะท้อนสู่เราคือ ชีวิตจะรู้สึกมีความผาสุกและได้เก็บเกี่ยวอย่างท่วมท้นทีเดียว


ระหว่าง “มีเต๋า” กับ “ไร้เต๋า” มีความทะยานอยากกั้นไว้อยู่ตรงกลาง ความทะยานอยากคือการเรียกร้องสิ่งที่นอกเหนือจากความต้องการตามปกติ ความต้องการสามารถเติมเต็มได้ แต่ความทะยานอยากไม่มีวันเติมได้เต็ม ดังนั้น ความทะยานอยากจะไม่ทำให้ชีวิตมีค่ามากขึ้น มีแต่จะทำให้ตกต่ำลง เพราะยิ่งมีความทะยานอยากมากเท่าไร ยิ่งกอบโกยมากขึ้น ความพอใจกลับยิ่งน้อยลง ในที่สุดจึงยากที่จะเติมให้เต็มได้ มีความโลภไม่มีที่สิ้นสุด และไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล... ส่วนกฎของจักรวาลคือยิ่งทุ่มเท ยิ่งให้ จึงยิ่งอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน ในชีวิตคนเรา มีเพียงการปฏิบัติตามกฎและลงมือทำอย่างกระตือรือร้นเท่านั้น จึงจะสัมผัสถึงความรู้จักพอและความมั่งมีที่แท้จริงได้ รู้จักพอคือยาขนานเอกที่มีอานุภาพที่สุดในจักรวาล


ประเด็นสำคัญของการรู้จักพอสุขนิรันดร์คือการสำรวจตนเอง และรู้ว่า “เส้นสีแดง (เส้นต้องห้าม) ” คืออะไร ในความเป็นจริง ชีวิตคนเราต้องตัดสินใจต่าง ๆ นานาอยู่ทุกที่ทุกเวลา การตัดสินใจระหว่างความทะยานอยากกับสติสัมปชัญญะ สุดท้ายสิ่งใดล้ำเส้นได้ แต่จิตใจของเราคือ “ผู้ปกปักรักษา” ที่ดีที่สุดในชีวิตคนเรา เพราะทุกครั้งที่เกิดความทะยานอยากขึ้นล้วนต้องมีความรู้สึกผิดควบคู่มาด้วย “ความรู้สึกผิด” ไม่ต้องมีใครเตือน ทุกคนล้วนสัมผัสได้ทันทีในแวบความคิดนั้นว่า “ถึงเส้นสีแดงแล้ว” นี่คือคำเตือนจากส่วนลึกของจิตใจเรา หากเราสงบนิ่งลงสักหน่อย สติสัมปชัญญะจะเพิ่มขึ้นเอง


ในชั่วขณะที่ความทะยานอยากเพิ่มขึ้นนั้น ผู้คนมากมายมักไม่ทำตามเสียงเรียกร้องจากส่วนลึกของจิตใจ แต่กลับหันไปหาเหตุผลให้กับความทะยานอยาก ตลอดจนกล่อมตัวเองให้ยอมก้าวข้ามเส้นสีแดงไป... อันที่จริง ก่อนที่จะก้าวข้ามไป ขอเพียงใช้คำพูดของท่านเหลาจื่อที่ว่า “ผิดหนักที่สุดคือเห็นแก่ตัวและทะยานอยาก ภัยใหญ่ที่สุดคือไม่รู้จักพอ ไม่มีผิดใดยิ่งกว่าความโลภ” มาพิจารณาให้มากสักหน่อย สติสัมปชัญญะก็มักจะชนะได้แล้ว ในทางกลับกัน หากปล่อยให้ตนเองก้าวข้ามเส้นสีแดง 3 เส้นได้ตามอำเภอใจคือ “ทะยานอยาก ไม่รู้จักพอ และความโลภ” ก็ต้องเตรียมรับการลงโทษจาก “ความผิด ภัยพิบัติ และบาป” ให้ดี เพราะทุกคนล้วนต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตน


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1367)

* * *


** 为什么老子说“罪莫大于可欲”?答案一,是《道德经》第三章中的“不尚贤,使民不争,不贵难得之货,使民不为盗;不见可欲,使民心不乱”。答案二,是道德经第十二章中中“五色令人目盲,五音令人耳聋,五味令人口爽,驰骋畋猎令人心发狂”。答案三,是道德经十九章中老子给人类开出了一剂醒世良方,即“绝圣弃智,绝仁弃义,绝巧弃利”,老子告诫人类要达到“见素抱朴,少私寡欲”。故“可欲”,不仅是使人心混乱,还让人们背离清静无为的本性。故一切失道后产生的社会混乱之根源是“贪欲”。十一月是收获月,愿快乐幸福伴随着您!

早安!* * *


02知足常乐的重点是内观自己

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载02


生命的种子是在为人民服务的播种中生根发芽的。要想收获成功,就把自己投入到“和谐社会我的责任,和谐企业我的责任,和谐家庭我的责任,和谐身心我的责任”的“四和”服务中去——“四和”是孕育每个人生命之树的沃土。不是土壤需要树,而是树绝不能离开土壤。如果我对“四和”给予最高的担当,回向我的也将是人生最高的幸福感和获得感。


“有道”与“无道”中间就隔着一个欲望。欲望是超越正常需要的额外所求——需要能被满足,但欲望永远满足不了。所以,欲望不会让生命增值,而只会让生命堕落。因为,欲望越大,索取就越多,满足却越少,到最后就是欲壑难填、贪得无厌、不择手段了……而宇宙的规律是越付出、越给予,才能越丰盛、越长久。人生中,只有顺应规律,积极作为,才能感受真正的知足与富有。知足是宇宙中最有威力的良方!


知足常乐的重点是内观自己,知道什么是“红线”?实际上,人生随时随地都在做各种决定:决定欲望和理智,最终哪一个能出线?而我的心就是生命最好的“守护者”。因为,每一个浮出的欲望都会伴生一份罪恶感——“罪恶感”不需要别人提醒,每个人都能在它出现的瞬间,立刻感受到“红线已来临”,这就是内心对我的警示!如果我稍微冷静一下,理智就会升起。


很多人往往在欲望升起的一刹那,没有顺应内心的呼唤,却转身为欲望寻找理由,直到说服自己跨越红线……其实,跨越之前,只要用老子所说的“罪莫大于可欲,祸莫大于不知足,咎(jiù)莫大于欲得”来多考虑一下,理智往往就赢了。反过来,如果放任自己随意跨越“可欲、不知足、欲得”这三条红线,就必须做好接受“罪、祸、咎”这些惩罚的准备!因为,每个人都必须为自己的行为负责。


赵妙果,2021年11月2日,第1367天



0 views0 comments
bottom of page