top of page

คำอำนวยพร 26 พฤศจิกายน 2564


**  เต๋าเปรียบเสมือนร่างของวัตถุต่างๆ คือมีทั้งตัวร่างและประโยชน์ใช้สอย ร่างคือตัววัตถุเอง ส่วนประโยชน์ใช้สอยคือบทบาทของวัตถุ เช่นโทรศัพท์มือถือที่เราใช้กันทุกวันนี้ ตัวเครื่องโทรศัพท์คือร่าง  ส่วนการที่เราใช้โทรคุยหรือเล่นเกมได้ คือบทบาทของโทรศัพท์ สำหรับเต๋าแล้ว ร่างของเต๋าคือความว่างเปล่า ที่มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ เลือนราง และขมุกขมัว บทบาทของเต๋าคือการถือกำเนิดได้อย่างไม่หมดสิ้น และให้กำเนิดสรรพสิ่ง เมื่อบทบาทของเต๋าคือการให้กำเนิดสรรพสิ่งและถือกำเนิดได้ไม่หมดสิ้น  เช่นนั้น การปฏิบัติตนและการกระทำต่างๆ ของเรา จึงต้องสอดคล้องกับการกำเนิดได้ไม่หมดสิ้น และราบรื่นไร้อุปสรรค นี่คือหลักการพื้นฐานของเต๋า!


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[ “สงบนิ่งเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า” จึงจะ “รู้จักพอจะมีพอเพียงนิรันดร์” ]


3.3 รักษาสภาวะ “สงบนิ่งเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า” จึงจะ “รู้จักพอจะมีพอเพียงนิรันดร์”


อันที่จริง การที่คนเราไม่รู้จักพอ ส่วนมากเป็นเพราะมีความทะยานมากเกินความสามารถ ด้วยเหตุนี้ ประโยคที่ว่า “พอเพียงนิรันดร์” ที่ท่านเหลาจื่อกล่าวยังเป็นการบอกเราว่า ต้องศึกษาจากเต๋าที่ยิ่งใหญ่ วิริยะก้าวหน้าและอุตสาหะอย่างไม่หยุดยั้ง ประหยัดเวลาที่จะสิ้นเปลืองไปกับการ “ไม่รู้จักพอ” ไปยกระดับความสามารถในการสร้างสรรค์และรักของตน นี่คือวิถีที่ถูกต้อง เมื่อความทะยานอยากภายในส่วนลึกของจิตใจเป็นหนึ่งเดียวกับความต้องการทางภววิสัยแล้ว เมื่อสิ่งที่ได้มามีคุณค่าสอดคล้องกับตนแล้ว

คนเราจึงจะพอใจได้อย่างแท้จริง


สำหรับเรื่องนี้ ประโยคที่ว่า “สงบนิ่งเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า” ที่ท่านเหลาจื่อกล่าวไว้ในบทก่อนหน้า คือยาขนานเอกที่รักษาถูกโรค กล่าวคือ หากคนเราสามารถรักษาสภาวะสงบนิ่งไว้ได้เสมอ จะรักษาสภาวะรู้จักพอจะมีพอเพียงนิรันดร์ได้เองตามธรรมชาติ


อันที่จริง สรรพสิ่งทั่วหล้าสามารถทำตนให้ชอบ (正) ได้ เส้นแนวนอนด้านบนของตัวอักษร “正” (อ่านว่า เจิ้ง) คือ “เต๋า” ส่วนด้านล่างคือ “止” (อ่านว่า จื่อ) แปลว่าหยุด กล่าวคือ สรรพกิจสรรพสิ่งหยุดด้วยเต๋า ย่อมเป็นสิ่งที่ชอบ หากพยายามก้าวล่วงเต๋า ย่อมเป็นสิ่งมิชอบ ผู้คนรับรู้ต่อ “ความชอบ” แตกต่างกัน การรับรู้ต่อความมั่งคั่งก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น วิธีการและกลยุทธ์ที่ได้มาซึ่งความมั่งคั่งจึงแตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้น การตีความเรื่องความดีความชั่วจึงมีหลากหลายแตกต่างกัน


แล้วจะทำให้ “ถูกต้อง” ได้อย่างไร มีเพียงเส้นทางแห่งความสงบนิ่งเท่านั้น ความสงบนิ่งที่ว่านี้ คือไม่มีความคิดฟุ้งซ่านและความทะยานอยากรบกวน เมื่อสงบนิ่งแล้ว เราทุกคนจะสามารถเข้าใจสภาพของตนได้ชัดเจน มองเห็นกฎการพัฒนาของสรรพสิ่ง รับภาวะปัจจุบันได้ดี จากนั้นจัดการเส้นทางการพัฒนาในอนาคต เช่นนี้แล้ว คนเราจะไม่เสียเวลาไปกับความคิดเพ้อฝันเรื่องวัตถุ แต่จะพากเพียรในการยกระดับคุณค่าในตนเอง เช่นนี้ตนจะยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น


ความสงบนิ่ง คือความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกับเต๋า และเต๋าจึงเป็นต้นธารแห่งพลังชีวิตของเรา ภายใต้สภาพเช่นนี้ คนเราจะสัมผัสได้อย่างชัดเจนว่า ภายในตัวเรามีแสงสว่างและความเพียบพร้อม พลังและคำตอบทั้งปวงอยู่ในใจของฉันเอง


เมื่อสัมผัสถึงพลังเช่นนี้ได้ เราจึงตระหนักรู้ว่า “เมื่อก่อนฉันเฝ้ารักษากองสมบัติ กลับมีชีวิตอยู่ด้วยการขอทาน แต่บัดนี้ฉันเพิ่งรู้ว่า อันที่จริง ฉันคือสมบัติที่ไม่มีวันหมดสิ้น” เมื่อนั้นความ “พอ” ที่มาจากการรู้จักพอ มิได้เป็นความรู้สึกเป็นสุขที่ใช้ตรรกะในสมองมาเปรียบเทียบแล้ว แต่เป็นการไหลผ่านของพลังงานอันมหาศาลหลังจากรู้ข้อเท็จจริงแล้ว นั่นคือพลังของความสุขุมเยือกเย็นและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจากส่วนลึกของจิตใจ เป็นความอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริงที่จะไม่รู้สึกขาดแคลนเพราะการเรียกร้องจากภายนอกอีกต่อไป


นับจากนี้เป็นต้นไป เราจะกลายเป็นผู้ที่มอบความอบอุ่นแก่ผู้อื่น ช่วยให้ผู้อื่นประสบความสำเร็จ และนำสีสันมาสู่โลกใบนี้ นี่จึงจะเป็นพลังแห่งการ “รู้จักพอจะมีพอเพียงนิรันดร์” คำว่า “พอเพียงนิรันดร์” คือการเข้าใจลึกซึ้งถึงกฎเกณฑ์ หวนคืนสู่ต้นธาร กระตุ้นชีวิตตนให้มีชีวิตชีวา จากนั้นสัมผัสได้ถึงพลังแห่งความสงบ ปีติสุข และอุดมสมบูรณ์ได้ดั่งแก่นแท้เลยทีเดียว


ดังนั้น “สงบนิ่งเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า” คือมูลรากของการรู้จักพอจะมีพอเพียงนิรันดร์ หากสงบนิ่งไม่ได้ อันที่จริง ยังคงเป็นเพราะมี “คุณธรรม” ไม่พอเป็นสำคัญ แต่อย่าได้ร้อนใจ การฝึกฝนคุณธรรมและรู้แจ้งเต๋า ขอเพียงมีการเริ่มต้น ไม่ว่าเมื่อใดก็ไม่สายเกินไป


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1391)

* * *


** 道就像任何物体一样,也是有体有用的,体就是这个物体的本身,用就是这个物体的作用,如我们每天都要用的手机,手机这个物体的本身就是体,手机能让我们打电话玩游戏就是手机的用。对于道来说,道的体就是无,就是虚无缥缈、恍恍惚惚、寂廖窈冥,道的用就是生生不息、能生万物。既然道的作用是生生不息、能生万物,那我们的所作所为,也必须符合生生不息、通达无碍,这就是道的基本准则!

早安!* * *


26“清静为天下正”,才能“知足常足”

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载26


十八、保持“清静为天下正”的状态,才能“知足常足”。


其实,人不知足,主要是因为欲望超过了能力。因此,老子说的“常足”也是在告诉人们:要向大道学习,永不停歇地精进努力——省下那些浪费在“不知足”上的时间,去提升自己创造的能力与爱的能力,这才是正道。这辈子,当我们内心的欲望与客观的需求一致、当所得与自我价值相符时,人才会真正满足。


对此,老子在上一章中讲的“清静为天下正”就是对症良方。也就是说,人如果能时常保持在清静的状态,就可以自然保持在知足常足的状态中了。


实际上,天下万物均可自正!“正”者,最上面的一横为“道”,下为“止”——也就是说,万事万物止于道,则为正;试图超越道,则为邪。人们对“正”的认识不同,对富足的认识也就不同,所以取得财富的方法和手段也因人而异,由此演绎出了善恶迥异的百态人生。


那如何才能“正”?只有清静这一条路。所谓清静,就是没有杂念贪欲的干扰——清静了,我们每个人都能认清自己的情况、看到事物发展的规律,也都能很好地接受当下的处境,然后理出未来发展的道路。这样,人就不会把时间浪费在对物质的幻想中,而是去努力提升自我价值,那么就更有可能成就自己了。


清静,是一种与道浑然一体的感觉,而道才是我们生命力量的本源所在!在这种状态之下,人会清晰地感通:我内在本自光明、本自具足,一切力量、一切答案尽在我心。


当感受到这种力量时,我们才会意识到:“以前,我是空守宝山,却靠乞讨为生;而现在,我才知道:原来我才是那个无尽宝藏!”这时那个知足的“足”已经不是靠头脑逻辑上比较而来的幸福感了,那是一种得知真相以后的巨大能量流经——那是从心底深处升起的一股笃定的、真实的力量;是再也不会因为外求而感到匮乏的真正富足!


从此以后,我们就将成为那个给人温暖、帮人成功、带给世界色彩的人,这才是“知足常足”的力量——所谓“常足”就是领悟了规律,回归了本源,激活了自己的生命,然后体会到了那种有如实质的平静喜悦、圆满富足的能量。

所以,“清静为天下正”是知足常足的根本。而静不下来,其实主要还是“德”不够——不要急,修德悟道这件事,只要开始,什么时候都不晚!


赵妙果,2021年11月26日,第1391

3 views0 comments
bottom of page