top of page

คำอำนวยพร 10 มกราคม 2565



** สิ่งที่โลกสืบทอดได้ เป็นเพียงด้านความรู้หรือเทคโนโลยีเท่านั้น ภูมิปัญญาและความสามารถในการเข้าใจและวิเคราะห์สืบทอดได้ยาก  สิ่งที่มีค่าที่สุดและต้องการสืบทอดที่สุด  กลับเป็นสิ่งที่สืบทอดได้ยากเหล่านี้  ซึ่งเป็นแหล่งที่มีพลังชีวิตและสัจธรรมความเป็นจริง  ดังเช่น  การแพทย์แผนจีน  สูตรยาและอาการของโรคเรียนรู้ได้ง่าย  แต่ความสมดุลส่วนทั้งหมดของหยินและหยางกลับกุมได้ยาก  ดังเช่น  การวาดภาพ  การประกอบภาพให้ได้สัดส่วนและงดงามสมบูรณ์รวมทั้งการระบายสีนั้นเรียนรู้ง่าย  แต่พลังชีวิตที่มีเสน่ห์น่าพิสมัยนอกเหนือพู่กันไม่อาจอธิบายด้วยคำพูดได้  เต๋าจืดชืดไร้รสชาติ  หลักแหลมมากคล้ายโง่งม  มีเพียงการลดน้อยและลดน้อยลง  และเรียบง่ายจนถึงที่สุดแล้ว  จึงจะแสดงบทบาทได้  เส้นทางเข้าสู่เต๋านี้  คือกระบวนการละทิ้งความหรูหรา  หลงเหลือแต่ความเรียบง่าย  และย้อนสู่ความใสเรียบง่ายแบบธรรมชาติ


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 48 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการอำนวยพรปีใหม่


[การศึกษาคือการเข้าใจหลักเหตุผล การฝึกธรรมะคือการทำได้จริง]


ประเด็นที่ 2 การศึกษาคือการเข้าใจหลักเหตุผล การฝึกธรรมะคือการทำได้จริง สองสิ่งนี้จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปมิได้


2.1 เมื่อยกขึ้นและปล่อยวางได้ เข้าออกได้อย่างอิสรเสรี เรียกได้ว่าสอดคล้องกับเต๋านิรันดร์แล้ว


ปรัชญาดั้งเดิมสร้างขึ้นอย่างเรียบง่ายบนพื้นฐานการวิเคราะห์และวิจัยแนวคิด ส่วนการ “ฝึกธรรมะ” ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” จะใช้การฝึกปฏิบัติอย่างเงียบ ๆ และพิสูจน์ได้จริงเป็นพื้นฐานเท่านั้น นี่คือการออกนอกกรอบจากโลกที่มีรูปซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เข้าสู่สภาวะไร้รูปที่เป็นจริงทางภววิสัย


การศึกษาหาความรู้ต้องใช้หลักการเพิ่ม ยิ่งเข้าใจมากยิ่งดี แต่การรังสรรค์จิตวิญญาณต้องใช้หลักการลด มีความปรารถนาส่วนตนยิ่งน้อยเท่าไรยิ่งดี ขจัดความปรารถนาส่วนตนออกส่วนหนึ่ง จะรักษาหลักการของธรรมชาติไว้ได้ส่วนหนึ่ง ลดอัตตาลงส่วนหนึ่ง จะเป็นส่วนรวมส่วนหนึ่ง ระงับความโลภ สลายความไม่รู้ (อวิชชา) ลดความคิดด้านลบลง ความคิดเพื่อส่วนรวมจะค่อย ๆ ถูกปลุกให้ตื่นขึ้น สภาวะสูงสุดของการ “ฝึกธรรมะ” คือการหวนคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นธรรมชาติดั้งเดิมที่แท้จริงหลังจากละทิ้งความปรารถนาส่วนตนแล้ว


การ “ฝึกธรรมะ” คือทักษะในการปฏิบัติตนซึ่งต้องอยู่บนความเป็นจริง เรียบง่ายไม่หรูหรา ละทิ้งความซับซ้อนและใช้วิธีการที่ง่าย ๆ ต้องถนอมรักความสามารถในการรับใช้ของตน สำนึกบุญคุณโอกาสที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เคารพยำเกรงเรื่องเล็กเรื่องน้อยทุกเรื่องที่ผ่านมือตน ชำระล้างความทะยานอยากที่โลภในผลงานและชื่อเสียง จากนั้น “ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย” จนลุถึงภาวะ “อู๋เหวย กลับประสบความสำเร็จทุกประการ” สิ่งเหล่านี้มิอาจหยุดอยู่ในสมอง คิดมากเกินไปแต่ไม่ลงมือทำ จะเป็นเพียงความคิดฟุ้งซ่านเหลวไหล ต้องมีทิศทางที่ชัดแจ้งและแน่นอน รีบลงมือทำทันที จึงจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง


หากชีวิตสามารถยกขึ้นและปล่อยวางได้ เข้าออกได้อย่างอิสรเสรี เรียกได้ว่าสอดคล้องกับเต๋านิรันดร์แล้ว คำว่า “ยกขึ้น” หมายถึง การศึกษาหาความรู้ต้องพากเพียรและฝึกฝนหลอมหล่อ รู้เพิ่มเมื่อศึกษา ส่วนคำว่า “ปล่อยวางได้” หมายถึง การปฏิบัติเต๋าต้องปล่อยวางไปตามบุญวาสนา ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย แต่คนทั่วไปกลับอยู่ในสภาวะที่ศึกษาแต่ไม่รู้เพิ่ม ฝึกธรรมะแต่บกพร่องไม่ลดน้อยลง จะยกก็ยกไม่ขึ้น ปล่อยวางก็ปล่อยไม่ลง ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ทั้งชีวิตไปอย่างเปล่าประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 10 มกราคม 2565

(เผยแพร่วันที่ 1435)

* * *


** 世间能传的,只是知识或技术层面的东西,智慧与悟性是难以传承的。然而最有价值、最需要传承的,恰恰是这些不好传承的东西,这是生命力之所在、真相真谛之所在。比如中医,药方病症容易学,但阴阳的整体平衡却不易掌握。比如作画,构图渲染容易学,而笔墨之外的神韵气场则无法言喻。道,大味若淡、大巧若拙。只有在损之又损、简而再简之后,才能显露出来。这个进道的路径就是去华留朴、返璞归真的过程。

早安!* * *


10为学是明理,为道是做到

《道德经》第48章分享暨元旦月祝福》连载10


第二层面,为学是明理,为道是做到,两者缺一不可。


四、有拿得起、放得下的出入自由,就合乎常道了。


传统哲学是单纯建立在对概念的分析研究基础上的;而《道德经》的“为道”则只能以默修实证为基础。这是跳出不断变化的有形世界,进入客观真实的无形境界。


学习知识要做加法,了解越多越好;建设心灵要做减法,私欲越少越好。去一分私欲,便存一分天理;减一分小我,便成一分大我。调服贪欲,化解无明,减少负面的起心动念,大我就会逐渐被唤醒。“为道”的最高境界就是归于自然,这就是摒弃人我私欲后的本真自然流露。


“为道”是做人的功夫,做人要脚踏实地、朴实无华、去繁从简;要珍惜自己服务的能力,感恩帮助别人的机会,敬畏每件经手的小事,清理贪功贪名的欲望,通过“为道日损”到达“无为而无不为”的境界。这不能停在头脑中,想太多不动手,是妄念横飞;方向明确,立刻行动,才能稳步向前。


人生能有拿得起、放得下的出入自由,就合乎常道了。“拿得起”是指做学问要勤学苦练,为学日益;而“放得下”则是说行道要万缘放下,为道日损。但一般人却是在为学未益、为道也未损的状态下,提也提不起,放又放不下,由此荒废了一生,那就太可惜了!


赵妙果,2022年1月10日,第1435天

2 views0 comments
bottom of page