top of page

คำอำนวยพร 12 มกราคม 2565



** ชีวิตคนเราคือองค์ประกอบของได้กับเสีย  โชคกับภัย  ความเป็นกับความตาย  ไม่ว่าใครก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงจุดตกต่ำ สิ่งสำคัญที่สุดท่ามกลางอุปสรรคคือการคล้อยตามสภาพแวดล้อม สะสมกำลังเงียบๆ เพื่อการลุกขึ้น การสะสมกำลังหมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่ควรลดน้อยต้องยอมลดน้อย มิใช่ถูกบังคับให้ลดน้อย  ลดน้อยอย่างเสียมิได้หรือหลับหูหลับตา แต่เป็นการตั้งใจลดน้อย ลดอย่างกระตือรือร้นและด้วยความยินดี เช่นนี้จึงจะเป็นผลดีต่อชีวิต สำหรับชีวิตแล้ว การแบกของหนักย่อมเดินได้ยาก ทำตัวให้เบาสบายจะก้าวไปข้างหน้าได้ง่าย ช่วงเวลาที่คนเราแข็งแกร่งที่สุด มิใช่ตอนที่ยืนหยัด แต่เป็นตอนที่ปล่อยวาง เมื่อเราเลือกที่จะปล่อยมือทั้งสองข้างให้ว่างเปล่า ใครจะมาแย่งอะไรไปจากมือเราได้อีก การสูญเสียประเภทนี้มิเป็นผลดีต่อชีวิตมากกว่าหรือ


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 48 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการอำนวยพรปีใหม่


[ต้องมีความเป็นเอกภาพของการศึกษาและการฝึกธรรมะ จึงจะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์]

2.3 ต้องมีความเป็นเอกภาพของการศึกษาและการฝึกธรรมะ จึงจะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์


การ “ศึกษา” หมายถึง การดำรงชีวิตต้องศึกษาศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งให้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญต้องวิจัยค้นคว้าความรู้เฉพาะทาง ดังนั้น จำเป็นต้องมีความมุมานะบากบั่น หาความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ทำความเข้าใจกับสิ่งที่ตนวิจัยค้นคว้าให้ชัดเจน ส่วนการ “ฝึกธรรมะ” คือการรักษาเจตนารมณ์ไว้ให้มั่น เข้าใจเต๋า ปฏิบัติตามเต๋า แต่การเข้าใกล้เต๋าไม่มีทางลัด มีแต่ภายในต้องอาศัยการตื่นรู้ ลดความคิดเพ้อฝัน ภายนอกต้องมอบอุทิศความรัก สั่งสมคุณงามความดี แม้การ “ฝึกธรรมะ” จะยาก แต่การเสียเวลาเตรียมการแผนงานย่อมไม่พลาด นี่คือการมองธาตุแท้ผ่านภาพภายนอก กุมพื้นฐานจากท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ทันทีที่กุมเต๋าได้ กฎที่เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว ไม่ว่าจะใช้ในปริมณฑลใดก็ล้วนจะเกิดบทบาทอันอัศจรรย์ไม่หมดสิ้นได้


การ “ศึกษา” คือความรู้ในการเลี้ยงชีพ สิ่งที่จะได้รับจากการเลี้ยงชีพ มากสุดคือได้ชื่อเสียง ผลประโยชน์ และทรัพย์สินเงินทอง แต่สิ่งที่ชีวิตเราต้องการคือวัตถุและจิต อันเป็นการเดินด้วยสองขา หากขาที่เป็นวัตถุเดินเร็วเกินไป ขาที่เป็นจิตเดินตามไม่ทัน ชีวิตย่อมขาดความสมดุล ดังนั้น หากครึ่งแรกของชีวิตเป็นการแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง เช่นนั้นครึ่งหลังของชีวิตควรแสวงหาสภาวธรรม การเพิ่มขึ้นของการรู้เพิ่มเมื่อศึกษาจำเป็นต้องคู่ควรกับการลดลงของการฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย เพราะทุกสิ่งที่ชีวิตคนเราได้รับ ล้วนตรงกันกับความประพฤติที่มีคุณธรรมของตน การฝึกฝนคุณธรรมคือแหล่งที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เรียกว่า “ฝึกธรรมะ” คือข้อพิสูจน์ความจริงในการฝึกฝนคุณธรรมหนาแน่น เพราะมีเพียงคุณธรรมหนาแน่นเท่านั้นที่ช่วยให้หลุดพ้นจากการควบคุมของกฎแห่งกรรมได้ จากนั้นแก้ไขข้อมูลรหัสชะตาชีวิตใหม่


บนโลกนี้มีผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ได้มากมาย แต่ผู้ที่พิสูจน์และเผยแพร่เต๋าได้กลับมีน้อย ผู้พิสูจน์เต๋ามิใช่เพียงมองเห็นรูปร่างหน้าตาของผลสาลี่ แต่เป็นผู้ที่ชิมรสชาติด้วยปากของตน ผู้เผยแพร่เต๋ามิใช่ผู้ที่พูดจามีหลักการ แต่การกระทำต้องย้อนคืนสู่ความเรียบง่าย พวกเขาก้าวเดินจากการศึกษาในระดับสมองเข้าสู่โลกของการฝึกธรรมะในจิตส่วนลึกแล้ว นั่นจึงจะเป็นแหล่งภูมิปัญญาที่แท้จริงของมนุษย์


สำหรับการศึกษาประยุกต์ใช้คัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” การ “ศึกษา” คือการเข้าใจหลักเหตุผล การ “ฝึกธรรมะ” คือการทำได้จริง ทั้งสองต้องประสานกันอย่างสนิทแน่นแฟ้น ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปมิได้ เพราะการศึกษาคือการตรวจสอบทิศทางให้ถูกต้อง เมื่อทิศทางถูกต้อง การขับเคลื่อนจึงราบเรียบไร้อุปสรรค การฝึกธรรมะคือการลงมือปฏิบัติจริง เมื่อทำได้แล้ว คนเราจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง ความราบเรียบไร้อุปสรรคและสอดคล้องกับความเป็นจริงคือการสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ เมื่อปฏิบัติตามเต๋าชีวิตย่อมได้ผลเก็บเกี่ยว


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 12 มกราคม 2565

(เผยแพร่วันที่ 1437)

* * *


** 人生就是得与失、福与祸、生与死的组合体。谁都难免遇到低谷,在逆境中,最关键的就是顺应环境,默默为崛起积蓄力量。积蓄力量是指有些东西当损则损,但不是被动地损、消极地损、盲目地损;而是主动地损、积极地损、乐观地损,这样才对生命有所增益。对于生命而言,负重往往难行,轻装却易前进。人最强大的时候,不是坚持的时候,而是放下的时候。当我们选择腾空双手,还有谁能从我们手中夺走什么呢?这种失去是不是对生命更有益呢?

早安!* * *


12为学与为道统一,才是完整的人生

《道德经》第48章分享暨元旦月祝福》连载12


六、只有为学与为道统一,才是完整的人生。


“为学”是为谋生要学会一技之长,为一技之长就要去研究专业知识。所以,必须发愤图强、不断进取,把自己研究的个体弄明白。而“为道”则是抱定决心,明道行道。但近道没有捷径,只有内靠觉知,减少妄想;外靠奉爱,累积功德。“为道”虽难,但磨刀不误砍柴工,这是透过表相看本质,于千变万化中抓住根本。一旦掌握了道,我们所领悟的规律,无论用在哪个领域都会生出无穷妙用。


“为学”是谋生计的学问,但谋生计最多能获得名利财货。可人生需要的是物质与精神两条腿走路,如果物质走的太快,精神跟不上,人生就会失衡。所以,人生的上半场若去追求财富,下半场就应该追求境界,为学日益的增加必须与为道日损的减少相互匹配。因为,人生的所有得到,都与自己的德行一致,修德是一切的源头。所谓“为道”就是修厚德的实证,因为只有厚德才能摆脱因果律的制约,重新修改生命程序的数据。


世上能传授知识者居多,能证道弘道者为寡。证道者不是看到了梨子的模样,而是亲口尝到了它的味道;弘道者不是说得头头是道,而要做得复归于朴。他们已经从大脑的为学层面走进了内心的为道世界,那才是人类真正的智慧所在。


对于《道德经》学用而言,“为学”是明理,“为道”是做到,两者要紧密结合,缺一不可。因为,为学是校对方向,方向对路就坦荡;为道是落地践行,做到了人才踏实。坦荡踏实就是合乎规律,顺道而行人生必有收获。


赵妙果,2022年1月12日,第1437

1 view0 comments
bottom of page