top of page

คำอำนวยพร 18 มกราคม 2565



** คนทั่วไปล้วนใช้ความดีปฏิบัติต่อความดี และใช้ความชั่วรับมือกับความชั่ว นี่คือท่าทีที่มีความแตกต่าง เพราะตำแหน่งที่เขาอยู่ในจักรวาลแตกต่างกัน ดังนั้นจุดยืน มุมมอง และมาตรฐานจึงแตกต่าง ท้ายที่สุดการรับรู้จึงต่างกัน นี่คือจุดเริ่มต้นของข้อพิพาท เปรียบเสมือนในช่วงเวลาเดียวกัน ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน หากทั้งสองฝ่ายมิได้รู้จักโลกทั้งใบ ย่อมไม่อาจเห็นพ้องต้องกันได้ (คัมภีร์เต้าเต๋อจิงบทที่ 49)


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 48 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการอำนวยพรปีใหม่


[ทั่วหล้าของเราจะใหญ่เพียงใด ขึ้นอยู่กับขนาดจิตใจของแต่ละคน]


1.2 ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อยคือวิธี “ปกครองทั่วหล้า” ที่เป็นรูปธรรม


เหตุใดเราจึงไม่อาจ “ปกครองทั่วหล้า” เพราะเราได้สร้างกำแพงหนา ๆ ที่แยกเรากับทั่วหล้าออกจากกันด้วยตนเอง การฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อยสามารถทำลายอุปสรรค และหลอมรวมเป็นร่างเดียวกับทั่วหล้าได้


คำว่า “ลดน้อย” คือเส้นทางที่ฝึกธรรมะต้องผ่าน ต้องให้การรับรู้กับการปฏิบัติมีความเป็นเอกภาพ กระบวนการ “ลดน้อยและลดน้อยลง” คือกระบวนการกำจัดวัชพืชออกเพื่อรักษาต้นไม้ไว้ ขจัดของปลอมออกเพื่อรักษาของแท้ ปรับจิตสำนึกให้ถูกต้อง และยอมรับสัจธรรม ต้องการให้เราสามารถรู้ถึงความเบี่ยงเบน ยุติความผิดพลาด และหลีกเลี่ยงการทำผิดซ้ำ กล่าวอย่างง่าย ๆ คือต้องแก้ไขความผิด คนโบราณกล่าวว่า “คนเราใช้ชีวิตในโลก ใครไม่เคยทำผิดบ้าง เมื่อรู้ว่าผิดแล้วแก้ไขได้ คือสิ่งที่ดีงามมาก” บนเส้นทางแห่งการฝึกปฏิบัติ การแก้ไขความผิดพลาดของตนคือความดีสูงสุด การไม่ทำผิดซ้ำอีกเด็ดขาด คือภูมิปัญญาสูงสุด


หากในอดีตมีความผิด ขอเพียงยอมก้มศีรษะ กล้าพูดว่า “ฉันผิดไปแล้ว” ขอเพียงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง เราจะทำให้ตนเองและผู้อื่นซาบซึ้งใจได้ ความซาบซึ้งใจนี้จะกระตุ้นการปฏิบัติ และการปฏิบัติจะก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ พลังอันร้อนแรงนี้สามารถสลายปมแค้นทั้งหลาย หลอมละลายจุดอุดตันในอดีต กล่อมเกลาศัตรูในอดีต ขจัดอุปสรรคในจิตใจตน ให้แสงอาทิตย์สาดส่องมายังจิตใจ กล้ายอมรับผิดและแก้ไข เป็นแบบฉบับพื้นฐานของผู้ฝึกปฏิบัติ เมื่อมีสิ่งนี้เราจึงจะสัมผัสถึงประตูใหญ่แห่งการฝึกปฏิบัติได้

เดิมทีทั่วหล้าเป็นของทุกคน เมื่อเรามีแรงทำลายขีดจำกัดในใจ จะเปรียบเสมือนการทลายขอบเขตของขวดน้ำ ให้หยดน้ำโถมตัวลงสู่ท้องมหาสมุทร เมื่อนั้นเราจึงจะสัมผัสถึงพลังที่แท้จริงและความกว้างใหญ่อันไร้ขอบเขตได้ ทั่วหล้าในเวลานี้ไม่จำเป็นต้อง “ปกครอง” แล้ว ทั่วหล้าคือฉัน ฉันก็คือทั่วหล้า ทั่วหล้าของเราจะใหญ่เพียงใด ขึ้นอยู่กับขนาดจิตใจของแต่ละคน


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 18 มกราคม 2565

(เผยแพร่วันที่ 1443)

* * *


** 一般人对于善恶,都是以善对善,以恶治恶,这是有差别的态度。因为,他们所处的宇宙位置不同,所以,立场不同,角度不同,标准不同,最后的认识也不同,这就是纷争的源头。这就好像同一时间,北半球是冬季,南半球是夏季,双方若对地球没有整体认识,就无法相互认同一样(道德经第49章)。

早安!* * *


18我们的天下有多大,取决于每个人的心胸格局

《道德经》第48章分享暨元旦月祝福》连载18


十一、为道日损是“取天下”的具体方法。


我们为什么不能“取天下”?因为,自己亲手建了一道厚厚的围墙,把自我和天下割裂开了。为道日损可以打破壁垒,与天下融为一体。


“损”是为道的必经之路,需要将认识与实践统一。“损之又损”的过程是去芜存菁、去伪存真、端正意识、肯定真理的过程,需要我们能觉察偏差、停止错误、避免再犯。简单一句话,就是要改错。古人说:“人生在世,孰能无过?知错能改,善莫大焉。”修行路上,更正自己的过失,就是至诚大善;绝不再犯,就是金刚智慧。


过去有错,只要肯低头,只要敢说“我错了”,只要有勇气改变,我们就能感动自己,也能感动他人。这份心动将激发行动,行动将产生互动。这股炙热的能量可以化解一切怨结,融化过去的卡点,感化以前的敌人,拆除自己心头的壁垒,让阳光遍洒心房。敢于认错、勇于改错,这是修行人的基本风范。有了这一点,我们才触碰到了修行的大门。


天下原本就是所有人的。当我们有力量打破心中的壁垒,就像打破的水瓶的局限,让水滴投身于大海一样,那一刻,我们才能感受到真正的力量与无限的广大。此时的天下不用“取”,天下就是我,我就是天下。我们的天下有多大,取决于每个人的心胸格局。


赵妙果,2022年1月18日,第1443天

3 views0 comments
bottom of page