top of page

คำอำนวยพร 23 มกราคม 2565



** ความดีงามคือสัญชาตญาณที่มีมาก่อนกำเนิด ถือเป็นสิ่งที่นิ่ง ความชั่วคืออุปนิสัยที่บ่มเพาะขึ้นหลังกำเนิด  ถือเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหว  เมื่อประสบวาสนาดี  ความดีงามในจิตส่วนลึกภายในจะตื่นขึ้น ความดีงามจึงพร้อมที่จะปรากฏออกมา  เมื่อประสบวาสนาไม่ดี  ความชั่วที่แฝงอยู่ในจิตส่วนลึกจะถูกกระตุ้น  นิสัยที่ไม่ดีจึงปรากฏขึ้นทันที  การที่อริยบุคคลต้อง “เปลี่ยนความปรารถนาตามความต้องการของมวลชน” เป็นการสร้างบรรยากาศให้แก่จิตใจคน ทำให้จิตที่ดีงามได้รับการบำรุงรักษา การที่ต้อง “มีจิตหนึ่งใจเดียวกับทั่วหล้า” เพื่อมิให้หล่อเลี้ยงนิสัยที่เลว  ทำให้นิสัยเลวๆ ค่อยๆ สลายไป


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 48 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการอำนวยพรปีใหม่


[“อู๋เหวยกลับประสบความสำเร็จทุกประการ” คือสภาวะสูงสุดของการคิดสิ่งใดสมความปรารถนา]


ประเด็นที่ 3 สรุป กุมจิตใจของตนให้ดี จึงจะสามารถกุมปัจจุบันขณะได้


3.1 สภาวจิต วาจา และการกระทำต้องเป็นเอกภาพกันในเต๋า จึงจะเป็นสภาวะที่ดีที่สุดของชีวิต


กระบวนการของการ “ศึกษา” คือการสะสมความรู้ มีเป้าหมายเพื่อเข้าสู่เต๋า เนื้อหาของการศึกษาในปัจจุบันอยู่ในปริมณฑลของการ “ศึกษา” ซึ่งเปรียบเสมือนการให้มนุษย์โดยสารบนรถด่วน สามารถนำพาผลประโยชน์ที่มองเห็นได้ง่ายมาให้เรา แต่การฝึกธรรมะเป็นการแสวงหาความจริง และยกระดับจิต ทำให้เราไปถึงสภาวะที่สูงขึ้น เพราะมีเพียงการยืนบนที่สูง จึงสามารถมองได้ไกล และมั่นใจว่าทิศทางถูกต้อง มิฉะนั้น รถแล่นยิ่งเร็วเท่าใด จะยิ่งออกนอกรางได้ง่าย


เต๋านั้นรับรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีทางลัดที่ทำให้สำเร็จได้โดยง่าย เคล็ดลับประการเดียวคือการพากเพียรฝึกปฏิบัติอย่างยากลำบาก การจะเข้าสู่สภาวะเต๋า หากมัวแต่คลำอยู่ในโลกปรากฏการณ์ จะไม่อาจรู้จักตนเองและค้นหาความจริงได้ การฝึกธรรมะต้องสั่งสมพลังชีวิต วิธีการคือลดน้อยและลดน้อยลง ประสิทธิผลคืออู๋เหวยแต่กลับประสบความสำเร็จทุกประการ


คำที่ว่า “อู๋เหวย” หมายถึงการให้ความสำคัญกับความ “ไม่มี” ในโลกแห่งจิต แต่กระตือรือร้น “กระทำ” ในโลกที่เป็นจริง ความ “ไม่มี” ในจิต คือการปล่อยวางแนวคิด การยึดติด และการได้เสีย ส่วนการ “กระทำ” ในโลกที่เป็นจริง คือการทำดีเสมอต้นเสมอปลาย รับผิดชอบหน้าที่อย่างสุดความสามารถ และดีงามสมบูรณ์แบบ ทั้งสองสิ่งนี้ หนึ่งคือภาวจิต อีกหนึ่งคือคำพูดและการกระทำ ทั้งภาวจิต คำพูด และการกระทำจำเป็นต้องเป็นเอกภาพกันในเต๋า จึงจะเป็นสภาวะที่ดีที่สุดของชีวิต


การที่ “อู๋เหวยกลับประสบความสำเร็จทุกประการ” คือสภาวะสูงสุดของการคิดสิ่งใดสมความปรารถนาในสิ่งนั้น ทุกครั้งที่ทักษะ “อู๋เหวย” ก้าวหน้าไปอีกขั้น จะมีการ “ประสบความสำเร็จทุกประการ” ที่สอดคล้องตรงกันมาให้เราใช้งาน และทุกครั้งที่ทักษะ “อู๋เหวย” ถดถอยลงไปหนึ่งขั้น เราจะสูญเสียคุณงามความดีขั้นที่ “ประสบความสำเร็จทุกประการ” ไป ผู้ฝึกปฏิบัติที่มีจิตแห่งเต๋ามั่นคงแท้จริงจะไม่ลุ่มหลงกับอำนาจและคุณธรรมเล็กน้อยระหว่างทาง แต่จะวิริยะก้าวหน้าดังแต่ก่อน มุ่งไปสู่เต๋าอย่างหาญกล้า โดยไม่เปลี่ยนความตั้งใจ


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 23 มกราคม 2565

(เผยแพร่วันที่ 1448)

* * *


** 善是先天具有的本性,属静;恶是后天养成的习性,属动。遇到善缘,人内心深处的善就会苏醒,善良呼之欲出;遇到恶缘,人潜藏心底的恶就被激发,恶习立即活现。圣人之所以要“以百姓心为心”,就是要给人心营造氛围,让善心得到调养;之所以要“为天下浑其心”,就是为了不给恶习施肥浇水,让恶性慢慢泯灭。

早安!* * *


23“无为而无不为” 是心想事成的最高境界

《道德经》第48章分享暨元旦月祝福》连载23


第六层面,综上:把握好自己的心,才能把握住当下。


十六、心态与言行必须统一在道中,才是生命最好的状态。


“为学”的过程是累积知识,目标是坐进此道。现代教育的内容属于为学的范畴,这就像让人类坐上了一辆快车,能给我们带来显而易见的利益。而为道则是追求真相、提升心性,让自我达到更高的境界。因为,只有站得高,才能看得远,确保方向对。否则,车开得越快,越容易出轨。


认识道是永无止境的,也没有什么一蹴而就的捷径,唯一的窍门就是勤修苦练。想进入道的境界,只在现象世界中摸索,是无法认识自我、探寻真相的。为道需要积蓄生命能量,方法是损之又损,效力是无为而无不为。


所谓“无为”就是在心灵世界中重视“无”,而在现实世界中积极“为”。心灵中的“无”是放下概念、放下执著、放下得失;现实中的“为”是善始善终、尽职尽责、尽善尽美。这两者,一个是心态,一个是言行,心态与言行必须统一在大道中,才是生命最好的状态。


“无为而无不为” 是心想事成的最高境界。“无为”的功夫每精进一层,就会有对应的“无不为”来给我们受用;而“无为”的功夫每跌下去一层,就会失去那一层“无不为”的功德。真正道心坚固的修行者不会沉迷于沿途的小威小德,只会一如既往、不改初衷地向着道奋勇精进。


赵妙果,2022年1月23日,第1448天

2 views0 comments
bottom of page