top of page

คำอำนวยพร 24 พฤศจิกายน 2564


**  "เต๋า" สร้างสรรค์จักรวาลและสรรพชีวิตขึ้นท่ามกลางความว่างเปล่า มนุษย์ปฏิบัติตนและทำงานตามภูมิปัญญาและพลังอันว่างเปล่าของเต๋า  ใช้คุณสมบัติของอริยบุคคลมาสำรวจภายในตนเอง  ยกระดับตนเอง  วิริยะก้าวหน้าอย่างกล้าหาญอยู่ตลอดเวลา ทำแล้วปล่อยวางได้  รักษาความไร้อัตตาที่ว่างเปล่าไว้ตลอด  นี่คือมูลรากของเต๋า  มนุษย์เราต้องปฏิบัติตามคุณสมบัติว่างเปล่าสงบนิ่งของเต๋าที่สร้างสรรค์  กว้างใหญ่  สมดุล และรักษาสภาวะที่ว่างเปล่าไว้  มีเพียงผู้ที่ขยันหมั่นเพียร จึงจะคู่ควรกับการไหลเวียนของพลังงานและสื่อข้อมูลสูงสุดของเต๋า


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[ปฏิบัติตามกฎเต๋าจึงจะเป็นการรู้จักพอและอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง]


ประเด็นที่ 3 ปฏิบัติตามกฎเต๋าจึงจะเป็นการรู้จักพอและอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง


3.1 ความ “มั่งมี” ที่แท้จริง ดูได้จากมีเต๋าหรือไร้เต๋า


การจะดูว่าใครหรือประเทศใดมีความมั่งมีหรือไม่ สิ่งสำคัญที่สุดมิใช่ดูจากศักยภาพทางเศรษฐกิจ แต่ต้องดูว่าเขา “มีเต๋า” หรือว่า “ไร้เต๋า”


เพราะกล่าวสำหรับส่วนบุคคลแล้ว ความต้องการที่พื้นฐานที่สุดของคนเราคือ มีสุขภาพที่แข็งแรง อยู่เย็นเป็นสุข และมีอายุยืนยาว มิใช่การครอบครองชื่อเสียง ผลประโยชน์ และทรัพย์สินเงินทองอย่างบ้าคลั่ง งานสำคัญที่สุดของคนเราคือการอยู่ดีและไปดี มิใช่แสวงหาการเสพสุขตามความทะยานอยากอย่างไร้ขีดจำกัด กล่าวสำหรับส่วนทั้งหมด สิ่งยิ่งใหญ่ที่สุดที่สังคมมอบให้แก่ประชาชน คือ “สันติภาพ” ซึ่งเบื้องหลังของสันติภาพ คือระบบจิตใจที่สูงส่งและโครงสร้างสังคมที่สมบูรณ์ ทุกคนมีบ้านให้อยู่อาศัย เด็ก ๆ ได้รับการเลี้ยงดู นักเรียนได้รับการศึกษา ทำงานแล้วได้รับผลตอบแทน เมื่อเจ็บป่วยมีที่รักษา ผู้สูงอายุได้รับการดูแล และคนที่อ่อนแอได้รับการอุปถัมภ์ อันที่จริง ทั่วหล้าสงบสุขคือความมั่งคั่ง คือเต๋า และเป็นคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา


ประเทศที่มีเต๋าและคนที่มีเต๋าอยู่บนหลักเหตุผลเดียวกัน คือเขาต้องวางจิตที่เห็นแก่ส่วนตนลง และแบกรับจิตสาธารณะได้ “จิตสาธารณะ” คือจิตแห่งเต๋า ผู้มีเต๋าเท่านั้นที่ทำถึงขั้น “ข้าอู๋เหวยปวงชนจึงเปลี่ยนแปลงเอง ข้าไม่ก่อปัญหาประชาจะมั่งคั่ง ข้าสงบนิ่ง ปวงชนจึงสุภาพเรียบร้อย ข้าไร้ทะยานอยาก ปวงชนจะเรียบง่าย” ได้


คำว่า “ข้า” ทั้งสี่คำที่ท่านเหลาจื่อกล่าวนี้ ต้องสื่อเชื่อมกับเต๋าที่ถูกต้อง และได้รับการสนับสนุน จึงจะ “การปกครองทั่วหล้าต้องไม่หยุมหยิม” ได้ คำว่า “ไม่หยุมหยิม” ที่ท่านเหลาจื่อ เสนอนี้ มิใช่ไม่ทำงาน แต่เป็นการยึดถือจิตแห่งเต๋าที่ “อู๋เหวย ไร้อัตตา ไร้ความทะยานอยาก และไม่ร้องขอ” เป็นการทำงานในสังคมที่สามารถให้ประชาชน “เปลี่ยนแปลง สุภาพเรียบร้อย มั่งคั่ง และเรียบง่ายเอง” ซึ่งใช้การสอนโดยไร้วาจา และทำตนให้ดี เมื่อตนเองดีแล้ว โลกรอบตัวจะดีด้วย


ความจริงของโลกใบนี้คือ กฎที่ไร้รูป เป็นตัวกำหนดโลกที่มีรูป ในจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนกำลังผ่านกระบวนการ “ ‘เต๋า’ ให้กำเนิดสรรพสิ่ง ‘คุณธรรม’ หล่อเลี้ยงสรรพสิ่ง วัตถุมีรูป เหตุการณ์ประสานให้สำเร็จ” หากคนเราเทิดเต๋าทูนคุณธรรมและวิริยะก้าวหน้า เขาจะได้รับแรงสนับสนุนจากเหตุการณ์ได้ง่าย ทุกการตัดสินใจของเขามักก้าวเดินบนจังหวะเวลาที่ถูกต้อง แม้ในขณะนั้นเขาจะยังอยู่ในจุดตกต่ำ แต่ทิศทางและวิธีการที่ถูกต้องจะช่วยให้เขาเติบโตเป็นเสาหลักที่ขาดเสียมิได้ในสภาพแวดล้อม ในทางกลับกัน หากใครที่มักพยายามวางตนอยู่เหนือเต๋าและคุณธรรม ให้เราดูความบ้าคลั่งและความพาลของเขา ความดีชั่วล้วนมีผลสนองตอบ ใครทำไม่ดีล้วนหนีไม่พ้น กฎก็เป็นเช่นนี้เอง


ดังนั้น การมองประเทศ ครอบครัว และคนล้วนไม่ต่างกัน เรามิได้มองที่ความมั่งคั่งหรือมีอำนาจของเขา แต่มองว่าเขามีเต๋าหรือไม่ เมื่อมีเต๋าจึงจะตระหนักรู้ความต้องการของตนตามความเป็นจริงได้อย่างชัดเจน และมีเพียงเช่นนี้ มนุษย์จึงจะควบคุมความทะยานอยากที่ไม่มีประโยชน์ต่อชีวิตเหล่านั้นได้ เช่นนี้แล้ว ชีวิตกลับจะยิ่งอุดมสมบูรณ์ มีความผาสุก และราบรื่นยิ่งขึ้น นี่คือหลักเหตุผลของ“ผู้รู้จักพอนั้นมั่งมี”


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1389)

* * *


** “道”在虚无空灵中创造宇宙、创造万物生灵。人效法道的虚无空灵的智慧和力量来做人做事,在任何时候,以圣人品质来内观自己,提升自己,勇猛精进,做了就放下,永远保持谦虚无我,这是道的根本。人只有效法道的创造、广大、平衡的虚静品格,保持空灵状态,只有天道酬勤,才能配至圣至极的能量与信息的流经。

早安!* * *


24遵循大道法则才是真正的知足富足

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载24

第六层面,遵循大道法则才是真正的知足富足。


十六、真正的“富有”要看有道,还是无道?


看一个人、一个国家是不是富有,最重要的不是看经济实力,而是要看他“有道”还是“无道”?


因为,对于个体而言,人最基础的需要是健康、平安与长寿,而不是对名利财货的疯狂占有;人生最重要的事业是活好和走好,而不是对享受欲望的无限追逐。对于整体而言,社会对人民最伟大的给与就是“和平”——而和平背后,是高尚的精神体系和完善的社会体制;是每个人都能住有所居、幼有所育、学有所教、劳有所得、病有所医、老有所养、弱有所扶。实际上,天下太平,就是我们最大的富、最大的道、最大的德!


一个有道的国家,和一个有道的人是一个道理,他必须放得下私心、拿得起公心——“公心”就是道心,有道的人才能做到“我无为而民自化,我好静而民自正,我无事而民自富,我无欲而民自朴”。


老子所说的这“四个我”就是要与正道建立联系、得到支持,这样才能“取天下常以无事”。这里,老子主张的“无事”不是不做事,而是以“无为、无我、无欲、无求”的大道心,做能让人民“自化、自正、自富、自朴”的人间事——即行不言之教,做好自己。而好了自己,也就好了周围的一个世界。


这个世界的真相是:无形的规律,决定有形的世界。宇宙中,所有事物都在经历“道生之,德蓄之,物形之,势成之”的走过场。一个人尊道贵德、精进努力,他就容易获得大势所趋,往往他的每个决定都能踩在正确的时间节点上。即使当下的他还处于低谷之中,但正确的方向与正确的方法一定会帮助他成长为环境中不可或缺的栋梁之材。反过来,如果一个人总是试图将自己凌驾于道与德之上,那我们就且看他狂、看他横,但善恶到头终有报,作恶的一个都跑不掉!这就是规律使然。


所以,看一国与看一家、看一人是一样的,不是看他的财富和权势,而是看他是不是有道?有道,才能对自己的实际需要有一个清醒的认识——也只有这样,人才能去克制那些于生命无益的欲望。那么,人生反而会更丰盛、更幸福、更流畅。这就是“知足者富”的道理所在。


赵妙果,2021年11月24日,第1389天

1 view0 comments
bottom of page