top of page

คำอำนวยพร 27 พฤศจิกายน 2564


**  สำหรับการปฏิบัติเต๋า  การเข้าใจเต๋าคล้ายประสบการณ์ในการรู้แจ้งอย่างฉับพลัน  ส่วนการปฏิบัติกล่าวสำหรับการเข้าใจเต๋า ถือเป็นกระบวนการฝึกฝนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ว่าจะเป็นการรู้แจ้งอย่างฉับพลันหรือฝึกฝนอย่างค่อยเป็นค่อยไป  ขอเพียงไม่หยุดเดินไปข้างหน้าบนเส้นทางของเต๋า จึงจะสามารถสร้างเส้นทางของตนที่ไม่เหมือนใคร และบรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้ในที่สุด คัมภีร์เต้าเต๋าจิงห้าพันคำพยายามอธิบายอยู่เรื่องหนึ่งคือ เมื่อคนเรายิ่งแสวงหาเทคนิควิธีการ ความเข้าใจในเต๋าจะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ  หากดื้อดึงที่จะแสวงหาเทคนิควิธีการมากเกินไป  กลับจะทำให้ไม่มีเวลาแสวงหาจิตส่วนลึกภายในตน  และหลงลืมไปว่าแท้ที่จริงแล้วเต๋าคือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[ปลูกฝังการรู้จักพอ สำนึกบุญคุณ และเคารพยำเกรงไว้ เราจะได้เก็บเกี่ยวสุขภาพที่แข็งแรงและความชื่นมื่นผาสุก]


คติธรรมบทที่ 46


1. ในบทนี้ท่านเหลาจื่อพรรณนาให้เห็นเป็นสองภาพ ภาพหนึ่งคือทิวทัศน์ของน้ำใสไหลเย็น ท้องทะเลคลื่นลมสงบ การปกครองที่ราบรื่น ผู้คนปรองดอง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกภาพหนึ่งมองเห็นภาพความสยดสยองที่น่าเวทนาเต็มไปหมดอันเนื่องจากจิตใจผู้คนมีความโลภและไฟสงครามลุกลามไปทั่วทุกที่ ทั้งสองภาพนี้ เรามองเห็นความแตกต่างระหว่าง “มีเต๋า” กับ “ไร้เต๋า” ได้อย่างชัดเจน


2. ระหว่างมีเต๋ากับไร้เต๋า กั้นกลางไว้เพียง “ความทะยานอยาก” หากควบคุมความทะยานอยากได้ เรียกว่ามีเต๋า ถูกความทะยานอยากควบคุม เรียกว่าไร้เต๋า หากอยากจะต่อต้านความทะยานอยาก ต้องเผชิญหน้ากับตนเอง ประเมินตนเองว่าได้ก้าวข้ามเส้นสีแดงไปหรือยัง ผู้ที่ปล่อยให้ตนออกนอกเส้นทาง ไม่มีวันเป็นราชาแห่งชีวิตได้


3. ชีวิตคนเราต้องตัดสินใจต่าง ๆ นานาอยู่ทุกที่ทุกเวลา การตัดสินใจระหว่างความทะยานอยากกับสติสัมปชัญญะ สุดท้ายสิ่งใดล้ำเส้นได้ แต่ส่วนลึกของจิตใจเราคือ “ผู้ปกปักรักษา” ที่ดีที่สุดของชีวิต เพราะทุกครั้งที่เกิดความทะยานอยากขึ้นล้วนต้องมีความรู้สึกผิดควบคู่มาด้วย “ความรู้สึกผิด” ไม่ต้องมีใครเตือน ทุกคนล้วนสัมผัสได้ทันทีในแวบความคิดนั้นว่า นี่คือคำเตือนจากส่วนลึกของจิตใจเรา หากเราสงบนิ่งลงสักหน่อย สติสัมปชัญญะจะเพิ่มขึ้นเอง และภัยพิบัติจะไม่มากล้ำกราย


4. การรู้จักพอคือพลังที่เกรียงไกรที่สุด ความทะยานอยากและความโลภคือเนื้อร้ายในจิตวิญญาณของคนเรา และเป็นต้นเหตุของภัยพิบัติทั้งปวง สูตรยาที่ใช้รักษาความทะยานอยากคือ มีความเรียบง่ายบริสุทธิ์ ลดความเห็นแก่ตัว ละความทะยานอยาก หากสรุปด้วยคำสั้น ๆ ก็คือ “รู้จักพอ” การรู้จักพอคือพลังในการควบคุมตนเอง มีความรู้จักพอจึงจะสงบสุขและมั่งคั่งได้ ซึ่งคนเราจะรู้จักพอและควบคุมตนเองได้หรือไม่ มีเพียงตนเองเท่านั้นที่รู้ชัดเจนที่สุด


5. เดิมทีเต๋าธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมนุษย์ขัดเกลาคุณสมบัติขั้นเทพจนเป็นอัตลักษณ์ หน้าที่ของเต๋าคือการมอบและเติมเต็มความเรียกร้องต้องการของมนุษย์ให้ชีวิตอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น หากการร้องขอจากภายนอกไม่ได้อะไร จะทนทุกข์ต่อไปทำไม


6. ความรักที่ดีที่สุดที่บิดามีต่อบุตร คือการถนอมรักภรรยาและบุตร ความรักที่ดีที่สุดที่มารดามีต่อบุตร คือการชื่นชมสามี การอบรมสั่งสอนที่ดีที่สุดของครอบครัวคือความรักของสามีภรรยา มิใช่การสอนด้วยวาจา การตามใจ หรือการลงโทษ เมื่อในใจมีความรัก จะไม่รู้สึกว่าตนกำลังเสียสละเพื่ออีกฝ่ายแล้วมีอารมณ์ไม่พอใจ เพราะนี่คือบททดสอบชีวิตว่าเราอยากสร้างสรรค์ด้วยความจริงใจ ความไม่พอใจคือเพชฌฆาตที่ร้ายกาจที่สุดต่อมนุษยสัมพันธ์และสุขภาพกายใจ


7. หากเราเสียเวลาไปกับการคิดเล็กคิดน้อยเรื่องถูกผิดดีเลวของผู้อื่น พร่ำบ่น อาฆาตแค้น และวิตกกังวลอยู่ตลอด เราจะไม่มีเวลาไปรับหรือสัมผัสกับพรที่สวรรค์ประทานให้แก่ชีวิตเรา หากชีวิตมีแต่ความทะยานอยาก เมื่อไม่ได้รับการเติมเต็มตามที่ร้องขอจะยิ่งทุกข์ทรมาน แต่เมื่อยุติความทะยานอยาก ความผาสุกจะหลั่งไหลลงมาจากฟ้าเอง บางครั้ง การกลับตัวอาจทำให้รู้สึกดีมาก ปลูกฝังการรู้จักพอ สำนึกบุญคุณ และเคารพยำเกรงไว้ เราจะได้เก็บเกี่ยวสุขภาพที่แข็งแรงและความชื่นมื่นผาสุก


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1392)

* * *


** 明道对于行道来说是一个相对顿悟的过程;而行道对于明道来说则是一个相对渐修过程。不管是行道还是明道,只有在道上不断行走,行自己独一无二的道,才能到达目的地。道德经五千言试图说明一件事:当人类越追求术的时候,对于道的领悟就越来越少,过于偏执的追求术,反而却没有了自己内求的时间,忘记了道才是最重要的。

早安!* * *


27种下知足、感恩、敬畏,收获健康、快乐、幸福

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载27


第四十六章 悟道心得


一、老子在本章描述了两幅画面:一幅是政通人和、百姓安居的河清海晏之景;另一幅是人心贪婪、战火纷飞的满目疮痍之相。这两个画面中,我们能清楚地看到“有道”与“无道”的区别。


二、在有道与无道之间,只隔着“贪欲”——能控制贪欲,就是有道;被贪欲所控,便是无道。若想与欲望对治,就要直面自己,评估自己是否跨越了红线?放任自己越轨的人,根本无法做生命的王者。


三、人生随时随地都在做决定:决定欲望和理智,最终哪一个能出线?而内心是生命最好的“守护者”。因为,每一个浮出的欲望都会伴生一份罪恶感——“罪恶感”不需要别人提醒,每个人都能在它出现的瞬间,立刻感受到内心的警示!如果稍微冷静一下,理智就会升起,灾祸就会远离。


四、知足是最强大的力量,贪念和可欲则是人类心灵的癌症,而祸患的根源也全部来源于此。治疗贪欲的药方就是:见素抱朴、少私寡欲;如用两个字来概括,就是“知足”——知足是一种自控力,知足才能平安富贵。而一个人是否知足、能否自控?只有自己最清楚。


五、自然大道原本富足,当人类亮化神性品质之时,道的职责就是赋予和满足人类生命丰盛的需求。所以说,一心向外求不得, 苦又何奈?


六、爸爸对孩子最好的爱,是珍爱妻子;妈妈对孩子最好的爱,是欣赏丈夫——最好的家教是夫妻恩爱,而不是说教、溺爱和惩罚。当心中有爱时,不会觉得自己是在为对方牺牲而发出怨气,因为这是我们真心想创造的生命体验。怨气往往是人际关系和身心健康最厉害的杀手。


七、花时间去计较别人的是非、对错、好坏,不停地去埋怨、仇恨、焦虑,我们就少了时间去获取和体验生命中那些上天给我们的恩典。生命如果是一团欲望,欲求不满便会痛苦;而停止欲望,幸福就会从天而降。有时,转一下身的感觉真好!种下知足、感恩、敬畏,我们就会收获健康、快乐、幸福!


赵妙果,2021年11月27日,第1392天

1 view0 comments
bottom of page