top of page

คำอำนวยพร 6 มกราคม 2565



**  มีแต่เทพเท่านั้นที่จะมีภูมิปัญญา  เทพคือจิตวิญญาณของคนเรา  กุมจิตใจของตนให้ดี  จึงจะกุมปัจจุบันขณะไว้ได้  ภูมิปัญญาและการเข้าใจเต๋าต้องแสวงหาและพิสูจน์ด้วยตนเอง  พลังของการฝึกธรรมะไม่อาจหยิบยืม แย่งชิง  หรือซื้อได้ แต่สามารถเข้าใจ  สัมผัส และฝึกฝนได้ หากฉันไม่ปิดประตู จักรวาลจะไหลผ่านฉัน  หากฉันไม่ปิดกั้น เต๋าที่ยิ่งใหญ่จะโอบกอดฉัน หากฉันวิริยะก้าวหน้าอย่างกล้าหาญ การเติมเต็มในตนเองจะสร้างความสำเร็จให้ฉัน


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 48 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการอำนวยพรปีใหม่


[สิ่งที่การ “ฝึกธรรมะ” แสวงหาคือภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของชีวิต]


บทที่ 48 ฝึกฝน “เต๋า” ลดกิเลส


[เนื้อความ]


รู้เพิ่มเมื่อศึกษา ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย ลดน้อยและลดน้อยลง ลุถึงภาวะ “อู๋เหวย” กลับประสบความสำเร็จทุกประการ การปกครองทั่วหล้าต้องไม่หยุมหยิม หากบ้านเมืองวุ่นวาย ย่อมไร้คุณสมบัติการปกครอง



สิ่งที่คัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ทั้งห้าพันคำอธิบายคือการ “ฝึกธรรมะ” ประเด็นนี้มิได้เกี่ยวข้องกับประเด็นของการ “ศึกษา” เพราะนั่นเล็กน้อยเกินไป สิ่งที่การ “ศึกษา” อธิบายคือสมรรถภาพทางด้านสมอง แม้การศึกษามีความสำคัญมาก แต่เป็นเรื่องในด้านแนวราบ สิ่งที่การ “ฝึกธรรมะ” แสวงหาคือภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของชีวิต ซึ่งอธิบายถึงสมรรถภาพทางด้านจิตวิญญาณ กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับการแสวงหาจากภายใน ทุกวิถีทางล้วนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันคือเต๋า และวิธีดำเนินชีวิตเชิงลดจากอัตตาไปสู่ส่วนรวม


คัมภีร์บทนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 มีเนื้อความว่า “รู้เพิ่มเมื่อศึกษา ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย ลดน้อยและลดน้อยลง ลุถึงภาวะ ‘อู๋เหวย’ กลับประสบความสำเร็จทุกประการ” ซึ่งจะแบ่งการอธิบายออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้


- ประเด็นที่ 1 การศึกษาคือการแสวงหา “มี” การฝึกธรรมะคือการค้นหาสิ่งที่ “ไม่มี”


- ประเด็นที่ 2 การศึกษาคือการเข้าใจหลักเหตุผล การฝึกธรรมะคือการทำได้จริง สองสิ่งนี้จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปมิได้


- ประเด็นที่ 3 ความหมายของการลดน้อยและลดน้อยลงคือ ให้ “เต๋า” แสดงอานุภาพออกมา


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 6 มกราคม 2565

(เผยแพร่วันที่ 1431)

* * *


** 智慧是神才具有的,神就是人的心灵。把握好自己的心,才能把握住当下。智慧与悟道需要自求自证,为道的力量借不到、抢不到、买不到,但大道的力量,悟得到、觉得到、修得到。我若不关门,宇宙流经我;我若不封闭,大道拥抱我;我若勇猛精进,自性圆满必将成就我。

早安!* * *


06“为道”追求的是生命的大智慧

《道德经》第48章分享暨元旦月祝福》连载06


第四十八章 为道日损


【原文】为学日益,为道日损。损之又损,以至于无为,无为而无不为。取天下常以无事,及其有事,不足以取天下。


【译文】求学问,知识会一天天增多;修道,妄想会一天天减少。减少再减少,一直达到无为境界,无为就没什么是做不成的了。治理天下必须无为无事,如经常生事,就不足以治理天下了。


为学日益,为道日损。损之又损,以至于无为,无为而无不为。


《道德经》五千言只讲了两个字,就是“为道”。这涉及的不是“为学”的问题,这个命题太小了。“为学”讲的是头脑层面的功能,虽然学习很重要,但那是横向层面的事。“为道”追求的是生命的大智慧,讲的是心灵层面的功能——也就是重视内求法,重视万法归宗,重视从小我走向大我的减法人生。


本章分为两段,第一段共二十三个字,从三个层面来阐述:


第一层面,为学是追求“有”,为道是探寻“无”;


第二层面,为学是明理,为道是做到,两者缺一不可;


第三层面,损之又损的意义是让“道”的威力显露出来。


赵妙果,2022年1月6日,第1431天

4 views0 comments
bottom of page