top of page

คำอำนวยพร 12 พฤศจิกายน 2564


** ชีวิตคนเรายาวนาน ระหว่างก้าวเดินไปข้างหน้าบนเส้นทางนี้ มีใครบ้างที่ไม่ต้องล้มลุกคลุกคลาน ชีวิตมีทั้งความสุขและเศร้าโศก แทนที่จะกลัดกลุ้มอยู่กับเรื่องเล็กน้อยมากมาย มิสู้เชิดหน้าขึ้น ก้าวเท้าออกเดิน ปล่อยวางความเหนื่อยล้าลง ทำตนให้อิสระและสงบนิ่ง ชีวิตคนเราต้องมีการละทิ้ง จึงจะได้รับ มีการปล่อยวาง จึงจะได้เก็บเกี่ยว นับแต่นี้ไปในชีวิตเรา ขอให้เราเรียนรู้การปล่อยวางในเวลาที่เหมาะได้ และได้รับความผาสุกมากยิ่งขึ้น


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[ความทะยานอยากที่เกินเลย ย่อมทำลายร่างกายและชีวิต]


2.2 ความทะยานอยากที่เกินเลย ย่อมทำลายร่างกายและชีวิต


แม้ว่าความทะยานอยากธรรมดาจะเป็นแรงขับเคลื่อนของการดำรงชีวิตและทำให้สังคมก้าวหน้า แต่ความทะยานอยากที่เกินเลยกลับจะทำลายร่างกายและชีวิตแน่นอน นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “ความทะยานอยากที่เลวร้าย”


กล่าวอย่างง่ายๆ ความทะยานอยากที่เลวร้ายคือ การเรียกร้องที่นอกเหนือความต้องการตามปกติ ความต้องการสามารถเติมเต็มได้ แต่ความทะยานอยากไม่มีวันเติมเต็มได้ ดังนั้น ความต้องการนั้นมีขีดจำกัด แต่ความทะยานอยากนั้นไร้ขีดจำกัด หากต้องการใช้สิ่งที่มีจำกัดไปปรับให้เข้ากับสิ่งที่ไร้ขีดจำกัด นี่คือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย เช่นนี้ ไม่เพียงแต่จะก่อเกิดความสิ้นเปลืองมหาศาล แต่ยังก่อให้เกิด “ปฏิวัฒนาการ (Involution)” อันมีสาเหตุมาจากความขาดแคลนทรัพยากร เพราะความทะยานอยากไม่ได้ทำให้ชีวิตเพิ่มคุณค่า มีแต่ทำให้ตกต่ำ ยิ่งมีความทะยานอยากมาก การเสาะหาจะยิ่งมากและมีความพอใจยิ่งน้อย สุดท้ายยิ่งมีความต้องการมากยิ่งยากจะเติมเต็ม มีความโลภไม่มีที่สิ้นสุด จะไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกลแล้ว...


สภาพเช่นนี้ จะทำให้ทรัพยากรของสังคมถูกคนกลุ่มเล็ก ๆ ควบคุมไว้ จุดมุ่งหมายในการดำรงชีวิตของคนกลุ่มนี้มีเพียงอย่างเดียว คือการครอบครองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การดำรงอยู่ของพวกเขาทำให้ผู้อื่นต้องเพิ่มการแก่งแย่งเพื่อประคองให้อยู่รอด เมื่อเป็นเช่นนี้ ความทะยานอยากสุดขีดของคนเหล่านี้ผลักดันให้บรรดาผู้คนมีความทะยานอยากเพิ่มมากขึ้น ทำให้การแก่งแย่งในสังคมรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ความพยายามปกติมีภาวะคล้าย “เงินเฟ้อ” กล่าวคือ “อัตราผลตอบแทนที่ได้จากความพยายาม” ของแต่ละบุคคลลดลงอย่างต่อเนื่อง นี่คือ “ปฏิวัฒนาการ”


ปฏิวัฒนาการที่เกิดจากความทะยานอยากเช่นนี้ สุดท้ายจะวิวัฒนาการไปจนถึงจุดที่ต้องอาศัยสงครามและการหลั่งเลือดมาจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดกันใหม่ เพราะก้อนเค้กไม่อาจขยายให้ใหญ่ขึ้นได้ จึงทำได้เพียงลดจำนวนคนที่จะมาแบ่งเค้กกันเท่านั้น ดังนั้น ความทะยานอยากที่มากเกินไปนั้นน่ากลัวมาก


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1377)

* * *


** 人生漫漫,这一路上谁不是跌跌撞撞地前行,有欢喜也有哀伤。与其对许多小事都耿耿于怀,不如抬起头,迈开脚,放下负累,让自己自在坦然。人生,有所舍,才有所得;有所放下,才有所收获。愿我们都能在今后的人生中,学会适时地放下,收获更多的幸福。

早安!* * *


12过度的欲望,必然损身害命

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载12


五、过度的欲望,必然损身害命。


虽然,正常的欲望是生命存在和社会进步的推动力,但过度的欲望却必然会损身害命,这就是所谓的“欲望之恶”。


简单说,欲望之恶就是超越正常需要的额外所求——需要能被满足,但欲望永远满足不了。因此,需求是有限的,但欲望却是无限的。若想以有限适配无限,是绝不可能实现的!这样,不但会产生极大的浪费;而且还会由于资源不足,而引发“内卷”。因为,欲望不会让生命增值,而只会让生命堕落。往往欲望越大,索取就越多,满足却越少,到最后就越是欲壑难填、贪得无厌、不择手段了……


这种情况,会令社会资源被牢牢控制在一小撮人手中——这部分人生存的目的只有一个:就是永无止境地占有。而他们的存在将使其他人不得不加大竞争,以维持生计。这样一来,这些人的极度欲望又推动了所有人欲望的增强,令社会竞争愈加激烈。而正常的努力就会被“通货膨胀”,个体的“收益努力比”将不断下降,这就是“内卷”。


这种由于欲望引起的内卷,最终必将演变为只能通过战争和流血来重新分配有限的资源。因为,既然蛋糕没法扩大,那就只能减少来分蛋糕的人了。所以,过度的欲望是极其可怕的!


赵妙果,2021年11月12日,第1377天

4 views0 comments
bottom of page