top of page

คำอำนวยพร 8 พฤศจิกายน 2564


**  มีหลายเรื่องในชีวิตที่มิใช่เรื่องคอขาดบาดตาย ยอมถอยสักก้าวก็ไม่มีอะไรเสียหาย ผู้ที่รู้จักพอจึงจะพอใจในชีวิต พอใจผู้อื่น พอใจสังคม และรักษาท่าทีที่มีความสุขสมปรารถนาไว้ได้อยู่เสมอ มีเพียงผู้ที่มีสภาวะจิตที่รู้จักพอเท่านั้น ที่จะสามารถรวบรวมความคิดและกำลังวังชามาสร้างสรรค์ความมั่งคั่งและความสุขได้  ดังนั้น "รู้จักพอย่อมสมบูรณ์ยั่งยืน จะมีพอเพียงนิรันดร์"


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งเก็บเกี่ยว


[หากทั่วหล้าสงบสุขแสดงว่ามีเต๋า หากไฟสงครามไม่จบสิ้นคือไร้เต๋า]


ประเด็นที่ 1 ประเด็นหลักของบทนี้อธิบายความคิดที่ต่อต้านสงครามของท่านเหลาจื่อ


1.1 อะไรคือ “ใช้ธรรมะ (มีเต๋า) ” และ “ไร้ธรรมะ (ไร้เต๋า) ”


ตอนต้นของบทนี้ ท่านเหลาจื่อแสดงให้เราเห็นการเปรียบเทียบสองภาพที่รุนแรง ภาพหนึ่งคือ “ใช้ธรรมะปกครองทั่วหล้า ใช้ม้าทำนาใส่ปุ๋ย” อีกภาพหนึ่งคือ “ไร้ธรรมะปกครองทั่วหล้า แม้ลูกม้ายังเกิดในสมรภูมิ” ในทั้งสองภาพนี้ล้วนมีม้า แต่ความรู้สึกที่เราสัมผัสได้กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง


ในภาพแรก ม้าศึกยังลงสู่ท้องไร่ท้องนา บรรทุกน้ำ ขนปุ๋ย ทำไร่ไถนา ท่านเหลาจื่อใช้อักษรเพียงไม่กี่คำพรรณนาทิวทัศน์ของท้องทุ่งลงบนกระดาษอย่างมีชีวิตชีวา ให้เราเห็นความสงบสุขของทั่วหล้า ชาวประชาใช้ชีวิตอย่างสงบ ผู้คนและสรรพสิ่งอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง ความสงบร่มเย็นของทั่วหล้าเป็นที่อิ่มเอมใจภาพนี้ทำให้ผู้คนรู้สึกซาบซึ้งและตื้นตันใจ ส่วนในภาพที่สอง ม้าที่ตั้งท้องต้องออกรบ ให้กำเนิดลูกม้าระหว่างทาง ไฟสงครามติดต่อกันหลายวัน ท่านเหลาจื่อใช้อักษรเพียงไม่กี่คำเช่นกัน ทำให้เราเห็นภาพการรบราฆ่าฟันกันไม่ขาดสาย ผู้คนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า บ้านแตกสาแหรกขาด ใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมาน ยากลำบาก เต็มไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว และเศร้าโศก... นี่คือความแตกต่างระหว่าง “มีเต๋า (มีธรรมะ) ” กับ “ไร้เต๋า (ไร้ธรรมะ) ”


ประเด็นสำคัญของบทนี้คือ “เต๋า” ระหว่างมีเต๋ากับไร้เต๋า หลักสำคัญหมายถึงระดับการกุมและปฏิบัติตามกฎของมนุษย์ คำว่า “เต๋า” นี้ยังหมายถึง วัฒนธรรมของมนุษย์ เมื่อวัฒนธรรมเสื่อมลง สังคมจะวุ่นวาย ความคิดที่ผิดย่อมแสดงให้เห็นถึงโลกที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น วัฒนธรรมจึงเป็นสมบัติของชาติ เมื่อใช้ธรรมะ (เต๋า) ปกครองทั่วหล้า ท่วงทำนองที่เป็นหลักของสังคมย่อมมีความรักเมตตาทำความดี จิตผ่องใสลดกิเลส ถ่อมตนอ่อนโยน คนทั่วโลกเพื่อส่วนรวม สร้างนาบุญให้มากหลาย และปกครองด้วยอู๋เหวย ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนย่อมต้อง “กินดีอยู่ดีอาภรณ์งามวัฒนธรรมประเพณีดีงาม” อย่างแน่นอน


อันที่จริง การที่จะตัดสินว่าทั่วหล้ามีเต๋าหรือไร้เต๋านั้นง่ายมาก เพียงแค่ดูว่าเราอยู่ในภาวะสงครามหรือความสงบสุขก็ทราบแล้ว หากทั่วหล้าสงบสุขแสดงว่ามีเต๋า หากไฟสงครามไม่จบสิ้นคือไร้เต๋า


การที่กล่าวว่า “ไร้เต๋า” คือ ในใจของมนุษย์สูญเสียรูปแบบการคิดอย่าง “คนทั่วโลกเพื่อส่วนรวม” ไป การป้องกันไม่ให้มีภาวะไร้เต๋า คนทุกคนต้องเริ่มจากการควบคุมและตรวจสอบพฤติกรรมของตน โดยยึดถือการเคารพกฎหมายเป็นพื้นฐาน และส่งเสริมให้มีจิตสาธารณะเป็นเกียรติ คนทุกระดับทั่วทั้งสังคมต้องฝึกฝนกายและใจให้มีความเที่ยงตรงและกลับสู่วิถีการฝึกฝนคุณธรรมล้ำลึกที่ถูกต้อง เพราะ “ไม่ยกย่องแต่ผู้ปรีชา” ประชาชนจึงจะไม่ยื้อแย่ง “ไม่สนใจสิ่งหายาก” ผู้คนจึงจะไม่เป็นโจร “ไม่มีสิ่งยั่วยุ” จิตใจผู้คนจึงจะไม่ว้าวุ่น มิฉะนั้น สังคมจะวุ่นวายไม่สงบสุขอย่างแน่นอน


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564

* * *


** 生活中很多事情并不关系到生死存亡,礼让一分又有何妨。能知足的人,才能常满意于生活,满意于别人,满意于社会,才能总保持心满意足的快乐心态。只有持知足这种心态的人,才会把心思和精力用到创造财富和创造快乐上。所以说“知足之足,常足矣”。

早安!* * *


08天下和平就是有道,战火不绝就是无道

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载08


第一层次,本章重点阐述了老子的反战思想。


一、什么是“有道”、什么是“无道”?


本章一开篇,老子就在我们面前展现了两幅对比强烈的画面——一幅是“天下有道,却走马以粪”;另一幅则是“天下无道,戎马生于郊”,这两幅画面中都有马,但给人的感觉却截然不同。


第一幅画面里,战马还耕,担水车肥,灌溉农田——老子仅用了九个字,就让那种天下太平、百姓安居、人与万物和谐相处的田园之风跃然纸上,天地间这一派怡然自得的清静祥和简直让人感同身受。而第二幅画面里,孕马出征,郊野产子,烽火连天——老子同样用了九个字,却让一股刀兵不断、生灵涂炭、满目疮痍的痛苦哀愁扑面而来……这就是“有道”与“无道”的区别。


本章的核心就是“道”——有道与无道,主要是指人类掌握与遵循规律的水平。这个“道”也指人文文化,当文化衰弱了,社会就会变乱,错误的思想必将呈现错位的世界,所以文化也是国土。当大道行世时,社会的主旋律一定是慈爱行善、清心寡欲、谦虚柔和、天下为公、广种福田、无为而治的;人民的生活也一定是“甘其食,美其服,安其居,乐其俗”的。


其实,要判断天下有道还是无道,很简单:只要看我们是处于战争还是和平之中就行了——天下和平,就是有道;战火不绝,就是无道。


所谓“无道”就是人类心中丧失了“天下为公”的思维模式。要防止无道的出现,所有人都要从约束和检点自己的行为开始,以遵守法律为本,以崇尚公德为荣——全社会都必须自上而下地回到正心修身、修养玄德的正道上来。因为,“不尚贤”才能使民不争,“不贵难得之货”才能使民不为盗,“不见可欲”才能使民心不乱,否则,社会必将动荡不安。


赵妙果,2021年11月8日,第1373天





4 views0 comments
bottom of page