top of page

คำอำนวยพร 11 กันยายน 2564



** "สมบูรณ์เลิศคล้ายบกพร่อง  มีบทบาทไม่รู้สิ้น" จากมุมมองของจักรวาลลงมาถึงมุมมองของชีวิตคนเราและมุมมองการบริหารจัดการ  คือวงโคจรคงที่ของการไม่เรียกร้องความสมบูรณ์แบบในการทำสิ่งต่างๆ  ซึ่งต้องใส่ใจอุปสรรคและข้อบกพร่องใหม่ที่เกิดขึ้น  ตัดขาดวงโคจรเก่า  เข้าสู่วงโคจรของพลังงานในระดับใหม่ที่สูงขึ้น  ธุรกิจและครอบครัวล้วนเป็นเช่นนี้  "สมบูรณ์เลิศคล้ายบกพร่อง  มีบทบาทไม่รู้สิ้น" ประโยชน์ของข้อบกพร่องไม่มีวันหมดสิ้น  นี่คือการกล่าวจากมุมมองของระบบธรรมชาติ


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 44 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งพลัง


[ชีวิตสำคัญกว่าชื่อเสียงผลประโยชน์]


2.2 ชีวิตสำคัญกว่าชื่อเสียงผลประโยชน์


เมื่อกล่าวจากมุมมองเชิงวิภาษ การที่เราทุกคนถือกำเนิดมายังโลกใบนี้ ล้วนไม่อาจหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับ 3 คำถามที่ทั้งแหลมคมและเป็นจริงนี้ได้ดังนี้คือ


ข้อที่ 1 การแสวงหาชื่อเสียงและผลประโยชน์เป็นเป้าหมายทั้งหมดของชีวิตหรือไม่


ในใจของคนส่วนมาก คำถามนี้มักตอบกันว่าแน่นอน ดังนั้น พวกเขาจึงทำเพื่อชื่อเสียงผลประโยชน์ได้โดยไม่สนใจร่างกายหรือกระทั่งชีวิต ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นได้ว่า คำว่า “ชื่อเสียงผลประโยชน์” ร้ายกว่าลูกศรอันแหลมคม ลูกศรสามารถหลบได้โดยง่าย แต่ชื่อเสียงผลประโยชน์ป้องกันยาก


ท่านเหลาจื่อคัดค้านการแสวงชื่อเสียงผลประโยชน์ แต่มิได้คัดค้านความเจริญทางวัตถุและอารยธรรม สิ่งที่ท่านคัดค้านคือความโลภละโมบ คัดค้านแนวความคิดที่ใช้เงินทองมาวัดคุณค่าของคน เราทุกคนได้แต่ใช้ชีวิตที่คู่ควรกับคุณธรรมของตนเท่านั้น มิเช่นนั้น หากมีสิ่งของที่กุมไว้ยิ่งมากเท่าใด พื้นที่ที่พลังงานเคลื่อนไหวได้ในชีวิตจะยิ่งคับแคบ สุดท้ายท่อส่งพลังงานทั้งหลายถูกอุดตัน แล้วคนเราจะไม่ดับสูญได้อย่างไรเล่า


ข้อที่ 2 ชีวิตคนเราต้องการชื่อเสียงผลประโยชน์หรือสติมากกว่ากัน


แม้ชื่อเสียงผลประโยชน์จะดี แต่ก็ไม่น่ารักไปกว่าชีวิต ระหว่างสองสิ่งนี้ ชื่อเสียงผลประโยชน์คือปลาย แต่ชีวิตคือมูลราก ชีวิตเปรียบเสมือนภาชนะใบหนึ่ง หากไม่ขยายจิตให้กว้างด้วยการสั่งสมคุณงามความดี ปริมาณการบรรจุของชีวิตจะขยายออกไม่ได้ ดังนั้น หากเรายังฝืนเอาชื่อเสียงและผลประโยชน์บรรจุลงในชีวิตได้ให้ จะต้องเสียสละพื้นที่บรรจุสุขภาพ ความผาสุก ตลอดจนอายุขัย


แต่ในทางกลับกัน หากเราใช้กำลังวังชาจดจ่อไว้ที่การปฏิบัติดีต่อชีวิตและฝึกฝนคุณสมบัติ นี่กลับจะเป็นโครงการอันยิ่งใหญ่ที่ลงแรงเพียงครั้งเดียว เพราะเมื่อคนเรามีจิตใจที่กว้างขวางและมีอานุภาพที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรแล้ว แน่นอนว่าย่อมสามารถสื่อเชื่อมกับต้นธาร และทำให้ชีวิตเบ่งบานต่อไปได้ เมื่อถึงเวลานั้นเราไม่เพียงจะได้เก็บเกี่ยวผลจากโปรแกรมชีวิตที่กำหนดไว้แล้ว ทั้งยังสามารถสร้างสรรค์เส้นทางชีวิตสัญจรที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย


ข้อที่ 3 การได้หรือสูญเสียดีกว่ากัน


คนส่วนมากเข้าใจว่าการได้คือสิ่งที่ดี การสูญเสียนั้นไม่ดี ดังนั้น เมื่อได้รับการสรรเสริญและได้เสพสุขกับลาภยศจึงมักเคลิบเคลิ้ม แต่เมื่อประสบการเหน็บแนม เยาะเย้ย ใส่ร้ายป้ายสี พ่ายแพ้สูญเสียชีวิต เจ็บป่วย และความทุกข์ ย่อมเกิดความทุกข์ระทมในจิตใจ นี่คืออารมณ์ทั่วไปของคนเรา แต่เราสังเกตหรือไม่ว่า สังคมปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งนับวันมากยิ่งขึ้นแล้ว อันที่จริง สาเหตุหลักคือความเครียด และอารมณ์ไม่สงบนิ่ง ซึ่งความไม่สมดุลของจิตใจและการเกิดอารมณ์ที่ไม่ดีจากสาเหตุนี้ มีอันตรายมากยิ่งกว่าอันตรายที่เกิดจากตัว “ผลได้เสีย” เองเสียอีก ดังนั้น อารมณ์ไม่ดีคือ “เชื้อไวรัส” ที่แท้จริง


สูตรยาที่มีอานุภาพมากที่สุดต่อการบำบัดรักษาอารมณ์ไม่ดี คือ “ 5 อยู่เสมอ” ได้แก่ ยิ้มแย้มอยู่เสมอ สำนึกบุญคุณอยู่เสมอ เคารพยำเกรงอยู่เสมอ ชำระล้างอยู่เสมอ และยึดมั่นในคุณธรรมอยู่เสมอ เพราะสาเหตุที่ก่อให้เกิดอารมณ์ไม่ดีคือ ส่วนหนึ่งมาจากแรงกดดันจากภายนอก อีกส่วนหนึ่งมาจากรูปแบบการคิดและค่านิยมของตนเอง เมื่อเปรียบเทียบสองสิ่งนี้ สิ่งหลังคือเหตุภายในและสาเหตุหลักอย่างแน่นอน


ในที่นี้ท่านเหลาจื่อได้แสดงทัศนะของท่านให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่า คนเราควรเคารพและถนอมรักชีวิตของตน แต่ท่าทีต่อชื่อเสียงผลประโยชน์และทรัพย์สินเงินทองต้องวางเฉย อย่าเรียกร้องอย่างไม่มีขีดจำกัด ต้องรู้จักพอ และอย่าโลภจนเป็นนิสัย


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 11 กันยายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1316)

* * *


** “大成若缺,其用不弊”,从宇宙观落到人生观和治理观,就是要求做事不求圆满的静态循环,而要在乎有新的突破口,出现新的缺口,打断旧的循环,进入能量极更高的新循环。企业如此,家庭也如此。“大成若缺,其用不弊”,缺口的用处永无穷尽,是从自然秩序角度说的。

早安!* * *


11生命重于名利

《道德经第44章分享暨能量月祝福》连载11

其次,生命重于名利。


从辩证角度来说,每个人来到世间,都不可避免地要面对这三个既尖锐又现实的问题:


第一,追求名利到底是不是人生的全部目的?


在大多数人心中,这个问题的答案是肯定的。所以,他们可以为了名利,不顾及身体甚至生命。由此可见,“名利”二字甚于利箭——利箭易躲,名利难防。


但老子反对追名逐利,并不是反对物质文明的发展;而是反对贪得无厌,反对以金钱来衡量人生价值的思想观念。每个人只能过与自己的德相匹配的生活;否则,把持的东西越多,生命中能量运转的空间就越狭窄,到最后能量通道全部被堵塞了,人怎么可能不灭亡呢?


第二,人生最需要的是名利?还是清醒?


名利虽好,却都不及生命可爱——这两者,名利是末,而生命才是本。生命就像一个容器,如果不扩大心量、累积功德,生命的容载量是不会扩大的。因此,这时你若非要往生命中装名利财富,就只能牺牲承载健康、幸福、甚至寿命的空间。


但反过来,如果你把精力聚焦在善待生命、修持品性上,这反倒是一项一劳永逸的伟大工程。因为,当一个人有了气吞山河的胸怀,当然就能连接本源,继而绽放生命了。到那时,你不但能收获生命程序中原定的内容,而且还能创造出更加宏伟的人生旅程!


第三,到底是得到好?还是失去好?


大多数人都认为得到好、失去不好。所以,遇到称颂赞美、利禄享乐,就会陶醉;而遇到讥嘲诋毁、败亡病苦,则忧戚于心,这也是人之常情。但有没有发现:现代社会的癌症患者越来越多了?其实,这里面的主要原因还是由于情绪压抑、心绪不宁所致。这种心理上的不平衡以及由此产生的不良情绪,其危害往往比“得失”本身所产生的危害还大。因此,不良情绪才是真正的“病毒”!


对治不良情绪最有威力的药方是“五个总是”——即总是微笑、总是感恩、总是敬畏、总是清理、总是立德!因为,导致它们的原因:一个是由于外界带来的压力;而另一个则是来源于自己的思维方式和价值观念。这两者比较而言,后者肯定是内因和主因。


老子在这里向我们亮明了自己的观点:人应该尊重和珍惜自己的生命,但对待名利财货却要淡然处之——不可无限制地追求,要知足常乐,不要贪婪成性。


赵妙果,2021年09月11日,第1316天

2 views0 comments
bottom of page