top of page

คำอำนวยพร 11 พฤศจิกายน 2564


** ความผาสุกกับความทุกข์ทรมาน และความสำเร็จกับความล้มเหลวในชีวิตคนเรา ล้วนดำรงอยู่อย่างมีคู่ตรงข้าม ทั้งยังมีจุดเด่นคือสามารถแปรเปลี่ยนซึ่งกันและกันได้  ประสบการณ์ทั้งหลายล้วนเป็นการนำทางของภูมิปัญญาแห่งชีวิต เราต้องอาศัยประสบการณ์มากำจัดความดื้อรั้นในจิตใจ สั่งสมคุณธรรมล้ำลึก  ขัดเกลาอุปนิสัยของเต๋าในตนเองตามคัมภีร์เต้าเต๋อจิงบทที่ 81 ที่ว่า "ให้คุณไม่เป็นพิษเป็นภัย มอบอุทิศไม่คิดชิงดีกับใคร" ปฏิบัติตามกฎเต๋าในการทำสิ่งต่างๆ ความผาสุกและสุขนิรันดร์จะตามมา เหตุใดความปรารถนาที่ดีงามจึงมักไม่เป็นไปตามที่หวัง? สิ่งดีงามในชีวิตล้วนไม่อาจได้มาด้วยวิธีทางตรง เพราะเมื่อสรรพสิ่งพัฒนาถึงที่สุดย่อมย้อนกลับ มีเพียงความ "โค้งงอ" จึงจะรักษาไว้ได้  หากเราสามารถลดความเห็นแก่ตัวไม่ทำตามอำเภอใจ สามารถ "ไม่คิดว่าตนรู้  ม่คิดว่าตนถูกต้อง  ไม่อวดตน  และไม่ผยอง" ได้  เท่ากับเรากำลังฝึกฝนการแสดงออกถึงคุณธรรมของ"ภายในดั่งอริยบุคคล" และพลังของ "ภายนอกดั่งราชา"นี่คือผลลัพธ์ที่ไม่กระทำแต่ไม่มีสิ่งใดไม่ถูกกระทำ ซึ่ง "คนทำฟ้าดู" ได้แปรเปลี่ยนเป็น "ฟ้าทำคนดู" เมื่อมีเต๋าจะมีความผาสุก หากไร้เต๋าจะไร้ความผาสุก!


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[ระหว่างมีเต๋ากับไร้เต๋า กั้นกลางด้วยความทะยานอยาก]


ประเด็นที่ 2 ระหว่างมีเต๋ากับไร้เต๋า กั้นกลางด้วยความทะยานอยาก


2.1 ความทะยานอยากธรรมดา คือเงื่อนไขการโคจรของเต๋าเช่นกัน


เต๋าคือต้นธารของจักรวาล รากฐานของสรรพสิ่ง แม้ว่าจะลี้ลับอัศจรรย์และไร้รูป ทำให้คนธรรมดาไม่อาจเข้าใจได้ แต่ดำรงอยู่รอบตัวเราจริงๆ ทั้งยังคอยหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งอย่างไม่หยุดยั้งแม้เสี้ยววินาทีเดียว


เนื่องจากสรรพสิ่งมีความบกพร่องตามธรรมชาติ ดังนั้น จึงต้องแสวงหาการเติมเต็มจากภายนอกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความสมบูรณ์ชั่วคราว ในความเป็นจริง การเคลื่อนไหวของเต๋าเป็นไปโดยอาศัยความบกพร่องของสรรพสิ่ง เพราะเมื่อชีวิตมีความบกพร่อง ย่อมต้องการการเติมเต็ม เมื่อมีความต้องการจึงเกิดความทะยานอยาก เมื่อมีความทะยานอยากจึงแสวงหาจากวัตถุภายนอก และใช้วัตถุภายนอกให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ดังนั้น ความทะยานอยากจึงเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของการโคจรของเต๋าเช่นกัน


แต่ความทะยานอยากแบ่งออกเป็น “ความทะยานอยากที่ดี” และ “ความทะยานอยากที่เลวร้าย”


ความต้องการทางกายภาพตามปกติเป็นความทะยานอยากธรรมดา เราขอเรียกความทะยานอยากนี้ชั่วคราวว่า “ความทะยานอยากที่ดี” มันคือพลังขับเคลื่อนที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ขณะเดียวกัน ยังเป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราวต่าง ๆ ด้วย การดำรงอยู่ของความทะยานอยากธรรมดา ทำให้ชีวิตมีโอกาสเปลี่ยนจากอัตตาของส่วนบุคคลกลายเป็นเพื่อส่วนรวมของส่วนทั้งหมด เพราะความทะยานอยากธรรมดาสามารถทำให้ทั่วทั้งระบบก่อเกิดเป็นวัฏจักรการเชื่อมโยงที่แน่นแฟ้นและใหญ่ยิ่งขึ้นได้ ซึ่งวัฏจักรใหญ่นี้มีความบกพร่องในด้านส่วนทั้งหมดและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า ทางด้านคุณสมบัติใกล้เคียงกับ “ไม่มี” ดังนั้น จึงยิ่งใกล้เคียงกับเต๋าซึ่งเป็นต้นธาร


เช่นเดียวกับในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าใครก็ไม่อาจมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ เมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตจะปลูกหว่าน หยั่งรากและแตกหน่อได้เพียงท่ามกลางการรับใช้ประชาชนเท่านั้น ทุกคนล้วนมายังโลกใบนี้พร้อมกับภารกิจเฉพาะของตน และต่างก็เป็น “ส่วนประกอบ” ที่ขาดเสียไม่ได้ จำเป็นต้องแสดงบทบาทของตน โลกเปรียบเสมือนอุปกรณ์ที่มีความละเอียดแม่นยำ หากสกรูตัวเล็กที่สุดหลุดหายไปเพียงตัวเดียวก็อาจค่อย ๆ ก่อเกิดอุบัติเหตุใหญ่โต เป็นเหตุให้เกิดปฏิกิริยาเป็นลูกโซ่และทำให้ส่วนทั้งหมดพังทลายทั้งกระดานได้...


ดังนั้น ใครอยากมีชีวิตที่รู้สึกว่าได้และมีความผาสุก จำเป็นต้องโถมตัวเข้าสู่การรับใช้ด้วย “สี่ปรองดอง” อันได้แก่ “ปรองดองสังคม ธุรกิจการงาน ครอบครัว และกายใจเป็นหน้าที่ของฉัน” “สี่ปรองดอง” คือดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยของต้นไม้แห่งชีวิตเราทุกคน ดินมิได้ต้องการต้นไม้ แต่ต้นไม้ต่างหากที่ไม่อาจห่างจากดินได้เด็ดขาด หากใครแบกรับ “สี่ปรองดอง” เป็นหน้าที่สูงสุด ความสำเร็จสูงสุดในชีวิตจะย้อนสู่เขาเช่นเดียวกัน และชีวิตของเขาจึงจะมีคุณค่าอย่างแท้จริง


หากทุกคนสามารถแบกรับภารกิจเป็นหน้าที่และทำพรหมลิขิตให้สมบูรณ์ได้ กรรมของโลกจะลดลง และมิติของส่วนทั้งหมดย่อมจะสูงขึ้น


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1376)

* * *


** 人生的幸福与痛苦,失败与成功,都具有相对而存在,又是可以相互转化的特征,所有的经历都是生活智慧在引领,我们要借用经历来破除心执,累积玄德,磨亮自己关于道德经第八十一章所说“利而不害,为而不争”的道体本性,顺应道的规律去做到,幸福和常乐就在您身后相随。为什么美好的愿望往往都是事与愿违?生命中所有美好的东西都不能用直接的方式得到”。因为物极必反,只有“曲”才能保全。如果我们能去私除妄,做到“不自见、不自是、不是伐、不自矜”,那我们就是在修养自身“内圣”之德彰显“外王”之气。这是“人在做天在看”,转化为“天在做,人在看”的无为而无不为的结果!有道就是幸福,无道就是不幸福!

早安!* * *


11有道与无道之间,只隔着一个欲望

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载11


第二层次,有道与无道之间,只隔着一个欲望。


四、正常的欲望,也是大道运行的条件。


道是宇宙之源、万物之本,虽然玄妙无形,让常人无法理解,但却真实存在于我们周边,并一刻不停地滋润着万物。


由于万物天生有缺,所以需要不断从外界寻找补充,以达到暂时的圆满。实际上,道的运动正是依赖于事物的缺损而进行的。因为,生命有缺损就需要补充,有需要就产生欲望,有欲望就会有求于外物、并摄取外物转化为自身之用。所以,欲望也是大道运行的必要条件。


但欲望有“欲望之善”与“欲望之恶”之分。


我们姑且将这种正常的生理需要,称之为“欲望之善”——它们既是生命存在的动力;同时,也是建立各种事物之间联系的桥梁。正常欲望的存在,将使生命由个体的小我转变为整体的大我成为一种可能。因为,它们可以让整个系统形成一个联系紧密的、更大的循环,这个大循环在整体上缺损更少、能耗更小,在性质上更接近于“无”,因此也更接近本源的道。


就像生活中,任何人都不能将自己活成一座孤岛,生命的种子只能在为人民服务的播种中生根发芽一样,每个人来到世上,都有自己独特的使命,都是这个世界不可或缺的一个“组件”,必须发挥自己的作用。世界如同一台精密仪器,哪怕一颗最小的螺丝钉掉了,都可能酿成重大事故,导致连锁反应,引发整体崩盘……


所以,任何人想要活得有获得感、幸福感,都必须把自己投入到“和谐社会我的责任,和谐企业我的责任,和谐家庭我的责任,和谐身心我的责任”的“四和”服务中去——“四和”是孕育每个人生命之树的沃土。不是土壤需要树,而是树绝对不能离开土壤。如果一个人对“四和”给予最高的担当,回向他的也将是人生最高的成功,他的生命价值也才能因而实现!


如果人人都能担当使命、圆满天命,那么世界业力就会下降,整体维度必将上升!


赵妙果,2021年11月11日,第1376天

6 views0 comments
bottom of page