top of page

คำอำนวยพร 12 กันยายน 2564

Updated: Oct 11, 2021


** หากประยุกต์ใช้ "สมบูรณ์เลิศคล้ายบกพร่อง  มีบทบาทไม่รู้สิ้น" ในการทำงาน  การปฏิบัติต่อตนเอง  และตระหนักรู้ข้อบกพร่องของตน  เราจึงจะรู้ว่าต้องการให้ผู้อื่นช่วยเติมเต็ม  จากนั้นจึงสามารถดึงดูดผู้มีความสามารถและพลังงานใหม่เข้ามาได้  การปฏิบัติต่อผู้อื่น  ไม่เรียกร้องความสมบูรณ์แบบหรือกล่าวโทษเขา  มองแต่พลังสร้างสรรค์ที่ทะลุออกจากวงโคจรเดิม  กล่าวคือ  ในการแสวงหา "ฟ้าคนเป็นหนึ่ง" แบบดั้งเดิม  จุดเด่นของคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" คือการกล่าวถึงมุมมองของจักรวาลก่อน  จากนั้นจึงปลูกถ่ายมุมมองการบริหารจัดการ  การทำงาน  และการปฏิบัติตน  กล่าวถึงฟ้าก่อนแล้วจึงกล่าวถึงมนุษย์  จากฟ้าไปสู่มนุษย์


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 44 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งพลัง


[ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตล้วนแลกมาด้วยคุณธรรม]


2.3 เมื่อมองจากมุมมองของกฎแห่งกรรม ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตล้วนแลกมาด้วยคุณธรรม


ประการที่ 1 การมีหรือไม่มีคุณธรรมชี้ขาดการได้รับหรือไม่ ส่วนคุณธรรมสูงหรือต่ำ ย่อมชี้ขาดปริมาณที่ได้


เมื่อมองจากมุมมองของกฎแห่งกรรม เบื้องหลังของคำว่า “โชคดี” ในชีวิตคนเรา คือการสั่งสมคุณงามความดีจากทุกภพชาติ ภายใน “โชคร้าย” ที่เราประสบพบเจอ ล้วนมีสาเหตุมาจากการทำผิดทำนองคลองธรรมในทุก ๆ ชาติ กฎมูลฐานของจักรวาลคือความสมดุล กฎแห่งกรรมคือการแสดงให้เห็นถึงความสมดุลได้เด่นชัดที่สุด ดังนั้น ทุกสิ่งที่ได้เพราะเคยมีการให้ แต่ว่ามิใช่การให้ทุกสิ่งทุกอย่างจะได้รับผลตอบแทนที่ดี เพราะมีเพียงการให้ที่สั่งสมเป็นคุณธรรมได้เท่านั้นที่สามารถแลกการตอบแทนที่ดีได้


อะไรคือ “การให้ที่สั่งสมเป็นคุณธรรมได้” เล่า เต๋าคือมูลรากของคุณธรรม จุดเด่นของเต๋าคือ “ให้เกิดโดยไม่ถือครอง เกื้อกูลโดยไม่หวังผล ให้เติบโตโดยไม่ครอบงำ มีผลงานแต่ไม่อวดตน” ดังนั้น จึงมีเพียงการทำโดยไม่หวังชื่อเสียงผลประโยชน์ ไม่รวบอำนาจ ไม่โอ้อวดผลงาน หรือในใจไม่มีแม้กระทั่งความคิดที่ว่า “ฉันทำดี ฉันทุ่มเทให้” แต่สิ่งที่เราทำกลับสร้างคุณประโยชน์ให้ส่วนทั้งหมดอย่างยั่งยืน ดังที่ท่านเหลาจื่อกล่าวไว้ในบทที่ 38 ว่า “เลิศคุณธรรมไม่ถือตนมีคุณธรรม จึงมีคุณธรรม ด้อยคุณธรรมแต่ถือว่าตนมีคุณธรรม จึงไม่มีคุณธรรม” เช่นนี้ คนเราจึงจะสั่งสมคุณธรรมได้ จากนั้น การมีหรือไม่มีคุณธรรมชี้ขาดที่เราจะได้รับหรือไม่ ส่วนคุณธรรมสูงหรือต่ำ ย่อมชี้ขาดที่เราได้รับมากน้อยเท่าไร


ประการที่ 2 การได้หรือสูญเสียวัตถุภายนอก การได้อาจมิใช่เรื่องดีและการสูญเสียอาจมิใช่เรื่องไม่ดีเสมอไป


การมองเรื่องราวของคนเรา มักแยกแยะการได้เสียจากมุมมองของอวัยวะสัมผัส ดังนั้น จึงมักรู้สึกว่า ยิ่งมีสิ่งที่สัมผัสรับรู้ได้ เช่น มองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รสชาติ หรือผิวสัมผัสมากเท่าไร ชีวิตยิ่งมีสีสัน แต่ความรู้สึกเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นบนพื้นฐานของร่างกาย และจะเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลาตามสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ร่างกายสัมผัส ดังนั้น วัตถุภายนอกที่มีรูป แท้ที่จริงแล้วคือรูปสมมติ ส่วนพลังงานที่ไร้รูปกลับเป็นรูปจริง ผู้ที่ไม่เข้าใจหลักเหตุผลนี้ จะหลงมัวเมาอยู่กับผลได้เสียของวัตถุภายนอกและถูกกระตุ้นโดยอวัยวะสัมผัส ผลที่สุดคือได้เผาผลาญพลังงานของชีวิตที่เป็นแก่นสารและจิตใจไปอย่างสิ้นเปลือง


อันที่จริง พลังงานของชีวิตคือ “คุณธรรม” ดังนั้น เมื่อกล่าวจากมุมมองของพลังงาน การเก็บเกี่ยววัตถุภายนอกมักหมายความถึงมีคุณธรรมลดลง ส่วนการสูญเสียวัตถุภายนอกกลับหมายความถึงมีคุณธรรมเพิ่มขึ้น ดังนั้น อย่าเสียดายวัตถุภายนอกมากเกินไปโดยไม่ยอมละทิ้ง มิเช่นนั้น แม้จะรักษาวัตถุภายนอกไว้ได้ กลับไม่อาจเรียกคืนคุณธรรมที่สูญเสียไปได้ นั่นจะเป็นการสิ้นเปลืองมากขึ้นไปอีก


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 12 กันยายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1317)

* * *


** 如果把“大成若缺”的原则,用到人事中,对待自己,认知自己的残缺之处,才知道需要他人来弥补,也才能引入人才和新能量。对待他人,不求全责备,只看那点突破常规循环的创造力量。也就是说,在传统的“天人合一”的追求中,《道德经》的特点是先讲宇宙观,再植治理观,人事观,即先讲天再讲人,由天入人。

早安!* * *


12人生的一切都是以德交换

《道德经第44章分享暨能量月祝福》连载12


再次,从因果角度看,人生的一切都是以德交换的。


第一,德的有无决定能否得到,而德的高低则决定得到多少。


从因果角度来说,人生中所谓的“幸运”,背后都有生生世世积功累德的沉淀;人生中所遇的“不幸”,内在也都有生生世世倒行逆施的原因。宇宙的根本律是平衡,因果就是平衡最明显的表现。所以,一切所得都是因为曾经有过付出;不过,并非一切付出都能得到善报——因为,只有那些能积德的付出才能换来善报。


什么是“能积德的付出”呢?道是德的根,道的特性是“生而不有、为而不恃、长而不宰、功成而弗居”。所以,只有做事不图名、不图利、不抓权,不显功,甚至心里连“做好事、我付出”这些概念都没有时,但您所做的事却能令整体长久的受益,就像老子在第三十八章中所说的“上德不德,是以有德;下德不失德,是以无德”一样,一个人才能积下德来。然后,德的有无将决定您能否得到,而德的高低则决定您能得到多少。


第二,在外物的得与失上,获得未见得是好,丢失也未见得不好。


我们看事情往往是从感官的角度来分辨得失,所以总觉得能被视、听、嗅、味、触觉所感知到的东西来得越多,人生越精彩。但这些感受都是基于身体而产生的,也会随着身体所处的内外环境的变化而随时变化。因此,有形的外物实际上是虚相,而无形的能量反倒是实相——一个人若不懂这个道理,就会沉湎于外物的得失中和感官的刺激里,结果严重地消耗了精气神、挥霍了生命能量。


实际上,生命的能量就是“德”。所以,从能量的角度而言,获取外物往往意味着德的减损;而失去外物反倒意味着德的增加。因此,对于外物,不要过分吝惜而不肯舍弃。否则,就算保住了外物,却收不回丢失的德,那将是更大的浪费!


赵妙果,2021年09月12日,第1317天

4 views0 comments
bottom of page