top of page

คำอำนวยพร 15 พฤศจิกายน 2564


**  ร่างกายของคนเราคือชีวิต ครอบครัวคือชีวิต ธุรกิจการงานคือชีวิต ประเทศชาติคือชีวิต โลกคือชีวิต  สรรพสิ่งทั่วหล้าในจักรวาลก็คือชีวิต ความคิดแบบปีศาจจะสร้างสภาวะที่วุ่นวายให้ชีวิต บางครั้งที่ความคิดแบบปีศาจกำเริบเสิบสานขึ้น วิธีจัดการที่ดีที่สุด มิใช่การกดไว้ แต่เราต้องทำงาน ทำความดี และทำความดีต่อไปเรื่อยๆ สาเหตุที่เราควบคุมความคิดปีศาจไม่ได้ เป็นเพราะคุณธรรมของเราไม่เพียงพอ  คุณธรรมหนาแน่นสามารถรักษาและแปรเปลี่ยนความคิดแบบปีศาจได้ วิธีการแก้ไขความคิดแบบปีศาจอยู่ในคัมภีร์เต้าเต๋อจิงบทที่ 60 ที่กล่าวว่า "การปกครองชาติใหญ่ เหมือนทอดปลาตัวน้อยๆ ใช้ 'เต๋า' ปกครองแผ่นดิน ปีศาจไม่สำแดงฤทธิ์ ใช่ว่าเขาไม่มีฤทธิ์ แม้เทพก็ไม่ทำร้ายคน มิเพียงผีและเทพไม่ทำร้ายคน อริยบุคคลปฏิบัติตามเต๋าไม่ทำร้ายคน ทั้งสองไม่ทำร้ายกัน คุณธรรมทั้งปวงหวนสู่ประชา" หมายความว่า เต๋าคือธรรมะที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติตนเอง ดูแลครอบครัว ปกครองประเทศ และทำให้ทั่วหล้าสงบสุขที่มีความศักดิ์สิทธิ์และดีงามที่สุด เมื่อใช้เต๋าปกครองทั่วหล้า สิ่งชั่วร้ายทั้งหลายจะไม่แสดงบทบาท เมื่อมีความเที่ยงธรรมอยู่ภายใน ความชั่วร้ายจะไม่อาจแผ้วพาน ทุกคนต่างเดินบนวิถีทางของตน ทั่วหล้าสงบสุขเองตามธรรมชาติ


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[หากสลัดความทะยานอยากออกไปไม่ได้ จะมองไม่เห็นความจริง]


3.2 หากสลัดความทะยานอยากออกไปไม่ได้ จะมองไม่เห็นความเป็นจริง


ชีวิตเป็นเพียงกระบวนการเดิน แม้กระบวนการนี้จะมีความสำคัญ แต่ความหมายของทุกประสบการณ์กลับต้องขัดเกลาดวงจิตแห่งเต๋าที่สว่างไสวของเรา เมื่อถึงเวลาที่จะออกเดินทาง ทุกคนจะได้นำพาจิตวิญญาณที่ผ่านการยกระดับขึ้นแล้วไปด้วย


ระหว่างกระบวนการนี้ ไม่ว่าจะเป็นจักรพรรดิ แม่ทัพ เสนาบดี หรือชาวบ้านธรรมดา ร่างกายที่มีรูปนี้ล้วนต้องผ่านการเกิด แก่ เจ็บ และตายที่ควบคุมไม่ได้ หากรวบรวมกำลังวังชาทั้งหมดไว้ที่ร่างกาย สุดท้ายจะไม่ได้อะไรเลย สิ่งที่มนุษย์ต้องขบคิดคือ ความทะยานอยากและความรู้สึกนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เดี๋ยวเกิดเดี๋ยวดับ ส่วนชื่อเสียง ผลประโยชน์ และทรัพย์สินเงินทอง จะมารวมกันและแยกย้ายตามแต่วาสนา ไม่อาจรักษาไว้ได้นาน หากดึงดันที่จะรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ เราจะได้รับอะไรบ้าง และหากสลัดทิ้งสิ่งเหล่านี้ไป เราจะยังเหลืออะไรบ้าง สุดท้ายสิ่งที่เรานำไปด้วยได้คืออะไร และอะไรมีความหมายต่อชีวิต...


กล่าวสำหรับส่วนบุคคล หากหลุดพ้นจากการควบคุมของความทะยานอยากไม่ได้ คนเราจะนับวันยิ่งมีความโลภโดยครอบครองอย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งการครอบครองเหล่านี้เกินความต้องการสำหรับชีวิตของส่วนบุคคลไปนานแล้ว ไม่เพียงแต่จะมีสิ่งเหลือใช้จำนวนมาก แต่ยังต้องใช้เงินทองและกำลังวังชาไปจัดการเก็บและดูแลรักษาไว้อีก ขณะเดียวกันยังต้องคอยป้องกันมิให้ผู้อื่นซึ่งอยากได้และแย่งชิงไป พฤติกรรมที่โง่เขลาสิ้นเปลืองแรงกายเพื่อปกป้องวัตถุภายนอกเช่นนี้ คือความเสียหายของชีวิตที่มาจากมีความทะยานอยากมากเกินไป


กล่าวสำหรับส่วนรวม เดิมทีฟ้าดินได้จัดสรรทรัพยากรเพื่อการอยู่รอดไว้อย่างเพียงพอสำหรับบรรดาสิ่งมีชีวิตแล้ว แต่เนื่องจากแหล่งทรัพยากรถูกส่วนบุคคลครอบครอง ทำให้ไม่อาจใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันทีที่แหล่งทรัพยากรสูญเสียคุณสมบัติในการหมุนเวียนและการบริการ จึงค่อย ๆ สูญเสียคุณค่าไป นี่คือความสิ้นเปลืองต่อแหล่งทรัพยากรอย่างใหญ่หลวง ซึ่งความสิ้นเปลืองนี้จะย้อนกลับมาก่อเกิดเป็นความกังวลและเพิ่มแรงกดดัน เป็นเหตุให้ผู้อื่นจำเป็นต้องใช้ความพยายามมากยิ่งขึ้นในการแย่งชิงแหล่งทรัพยากรส่วนที่เหลือ


ตลอดทั้งกระบวนการเปรียบเสมือนการล้มโดมิโน เพียงแค่ผลักแผ่นแรกให้ล้มลง คนทั้งหมดจะไม่อาจหนีจากวงจรอุบาทว์นี้ไปได้ ความทะยานอยากระดับสุดขีดจะผลาญทำลายทุกชีวิต ทำให้ความหลากหลายของชีวิตและความสมบูรณ์แบบของการปลดปล่อยความเป็นมนุษย์กลายเป็นความฝันที่ห่างไกล ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่ต้องลาจาก สิ่งที่คนส่วนมากได้รับมิใช่ความสงบสุขในจิตใจ แต่เป็นความเสียใจและเศร้าโศกเต็มหัวอก...


ชีวิตคนเรา หากไม่มีเป้าหมายที่สูงกว่าความทะยานอยาก ย่อมจะลุ่มหลงอยู่กับการชักจูงของความทะยานอยาก ก่อให้เกิดการขายผ้าเอาหน้ารอดเฉพาะหน้า ตลอดชีวิตกลับมองไม่เห็นความจริงของชีวิต ไม่เคยสัมผัสถึงความพอใจที่แท้จริง


เช่นนี้ ความพอใจสูงสุดของชีวิตคืออะไร คนส่วนมากมักตอบว่า ได้เห็นลูก ๆ ประสบความสำเร็จ เห็นคนที่เรารักมีความสุข อันที่จริง การคาดหวังให้คนใกล้ตัวที่สุดมีความสุขเป็นอารมณ์ปกติของมนุษย์ และเป็นแรงผลักดันให้เราดิ้นรนต่อสู้ แต่เมื่อมองจากมูลราก การหวังดีเฉพาะคนกลุ่มเล็ก ๆ ของตน ท้ายที่สุดอาจไม่ได้ดีจริงเสมอไป แต่การเพียรพยายามบนวิถีทางที่ถูกต้อง อุทิศทุกสิ่งเพื่อส่วนทั้งหมด ความรักที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ มองระยะสั้นดูเหมือนการเสียสละตนเอง แต่หากมองจากมุมที่สูงและไกลขึ้น นี่คือการหล่อเลี้ยงชีวิตอย่างแท้จริง และเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเมตตาต่อเครือญาติ


เพราะ “การสะสมเงินทองไว้ให้ลูกหลาน ไม่แน่ว่าว่าลูกหลานจะรักษาไว้ได้ สะสมหนังสือไว้ให้ลูกหลาน ไม่แน่ว่าลูกหลานจะอ่านได้ มิสู้สั่งสมคุณงามความดีแบบไม่เปิดเผย ลูกหลานต้องได้รับผลตอบแทนแน่นอน” นี่คือคำเตือนที่วงศ์ตระกูลนับไม่ถ้วนพิสูจน์มาแต่โบราณแล้ว


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1380)

* * *


** 我们的身体是生命,家庭是生命,企业是生命,国家是生命,地球是生命,宇宙天下万物是生命。魔思维会造就生命的混乱状态。有时魔思维作崇,最好的处理方法,不是压抑,而是去做事,做好事,一直做好事,我们不能克服魔思维的原因,是我们的德不够,厚德可以疗愈、转化魔思维。解决魔思维的方法就在道德经第六十章即:“治大国,若烹小鲜。以道莅天下,其鬼不神。非其鬼不神,其神不伤人。非其神不伤人,圣人亦不伤人。夫两不相伤,故德交归焉。” 意思是说,道才是至灵至善的修身、齐家、治国、平天下的法宝。道行天下,各种妖异的存在都不会显得变化莫测。正气存内,邪不干正。大家都各行其道,天下也自然安定。

早安!* * *


15抛不开欲望,就看不到真相

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载15


八、抛不开欲望,就看不到真相。


生命只是一个走过程——这个过程虽然重要,但所有经历的意义却是要磨炼我们那颗光光明明的大道之心,让每个人临行时,都能带走一个比来时更高级的灵魂。


在这个过程中,不管你是帝王将相,还是寻常百姓,这副有形的躯壳(qiào)都会不受控制地经历生老病死。如果把全部精力都放在身体上,那么人最终会一无所得。人类要思考的是:欲望、感受是变化无常、忽生忽灭的,名利、财货是缘聚缘散、不可常保的,如果执意守着这些,我们能得到什么?若抛去这些,我们还剩下什么?什么是最终能带走的?什么是对生命有意义的……


对于个体而言,摆脱不了欲望的控制,人就会越来越贪婪地无限占有。而这些占有早就超过了个体生命所需,不但会被大量闲置,需要拿出财力和精力来安置和照护;同时,又要提防被他人觊觎和抢夺——这种消耗自身去保护外物的愚蠢行为,就是过度欲望对生命的损害。


对于集体而言,天地本来为所有生命配备了足够的生存资粮,但由于资源被个体占有而不能被有效利用,一旦资源失去了流通性与服务性,就会逐渐失去价值,这是对资源最大的浪费。而这种浪费又会反过来,造成焦虑、增加压力——导致其他人为了争夺剩余的资源,也必须付出更多的努力!


整个过程,就像多米诺骨牌一样,只要推倒了第一块,所有人就都逃不开这个恶性循环了——极度的欲望将耗费所有生命,使得生命的多姿多彩和人性的完美释放成了一种遥远的梦想。因此,到该告别时,大多数人收获的不是内心的安详,而是满腔的懊悔与无尽的悲凉……


人生,如果没有比欲望更高的目标,必将沉迷于欲望的牵引,造成眼前的苟且,终其一生也看不到生命的真相,感受不到真正的满足。

那么,人生最大的满足是什么?大多数人都会说:看到孩子有出息,看到我们爱的人快乐。诚然,希望最亲近的人幸福快乐是人之常情,也是我们奋斗的原动力。但从根本上来看,只希望自己的小团体好,最后反而不一定能真的好;而在正道上精进努力,在整体上奉献一切,这种长情大爱短时间来看好像是牺牲了自己;但从更高、更远的角度上看,那才是真正滋养生命、泽被亲人的最好方法。


因为,“积金以遗子孙,子孙未必能守;积书以遗子孙,子孙未必能读;不如积阴德于冥冥之中,子孙必有受其报者”——这是已被无数家族验证过的千古明训。


赵妙果,2021年11月15日,第1380天

2 views0 comments
bottom of page