top of page

คำอำนวยพร 16 พฤศจิกายน 2564


**  ใจความสำคัญของ "ใช้ 'เต๋า' ปกครองแผ่นดิน ปีศาจไม่สำแดงฤทธิ์" มิได้อยู่ที่มีปีศาจและเทพหรือไม่ แต่อยู่ที่ปฏิบัติตามเต๋าได้หรือไม่! หากสามารถใช้คุณสมบัติเต๋าในการปฏิบัติตน และใช้จุดเด่นของจักรวาลในการแสดงตนได้ ขอเพียงไม่ทำร้ายมหาชน ไม่ฉกฉวยผลประโยชน์ ก็จะได้รับพลังความช่วยเหลือและการดูแลจากกาลเทศะที่แตกต่างกันของจักรวาล ผู้ที่มีเต๋าทุกคนล้วนไม่เรียกร้องที่จะได้รับอะไรจากโลก ซึ่งการไม่เรียกร้องมิได้เท่ากับไม่มี สิ่งที่ได้จากคุณธรรมหนาแน่นและชีวิตที่ฟ้าลิขิต ไม่ต้องเรียกหาแต่กลับได้รับเอง ดังคัมภีร์เต้าเต๋อจิงบทที่ 7 ที่กล่าวว่า เพราะไม่เห็นแก่ตัว จึงประสบความสำเร็จ


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 46 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว


[ระหว่างมีเต๋ากับไร้เต๋า เป็นเรื่องของ “ระดับ”]


3.3 ระหว่างมีเต๋ากับไร้เต๋า เป็นเรื่องของ “ระดับ”


ในเวลาปกติ หากเรากล่าวว่าใคร “มีเต๋า” นั่นมักเป็นการประเมินค่าต่อใครคนหนึ่งในระดับสูงสุดแล้ว การที่เรียกว่าผู้มีเต๋า หมายถึง คนที่กุม “ระดับ” ได้ ส่วนผู้ที่ไร้เต๋า คือคนที่ไม่อาจกุม “ระดับ” ได้ แต่เราจะตัดสินชี้ขาด “ระดับ” อย่างไร นี่ต้องอาศัยภูมิปัญญาแล้ว


ยกตัวอย่าง รูปร่างและจิตใจของคนเรา ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เพราะในขณะที่ยังไม่ได้ก่อเกิดเป็นโลกทางจิตภายในที่มั่นคงของตน มนุษย์จะ “ควบคุม” ตนเองได้ยาก มักอดที่จะซึมซับความคิด พฤติกรรม และข้อมูลต่าง ๆ จากโลกภายนอกไม่ได้ แต่ชั่วชีวิตนี้ของคนเรา การมองผู้อื่นมิใช่เป้าหมาย แต่การรู้จักตนเองจึงจะมีความหมาย อันที่จริง วิสัยทัศน์คือโลกของคนคนหนึ่ง มนุษย์จำเป็นต้องยกระดับจิตวิญญาณให้มีมิติที่สูงขึ้น จึงจะมองเห็นภาพรวมทั้งหมด และกุม “ระดับ” ที่ไม่เอนไม่เอียงนั้นได้


วิธีหนึ่งเดียวในการขยายขอบเขตจิตใจและยกระดับภูมิปัญญา คือการฝึกฝนเต๋าและสร้างคุณธรรมดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” มีเพียงการยกระดับเต้าเต๋อจนถึงมาตรฐานหนึ่งแล้ว จิตใจผ่องใสสงบนิ่งเพียงพอแล้ว มนุษย์จึงจะมีความสามารถในการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองได้ แต่คนทั่วไปมักสงบนิ่งไม่ได้ ดังนั้น สายตาจึงมองสู่ภายนอกและจิตใจจึงมักเตลิดออกไปข้างนอก สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังคือ ยังมีคุณธรรมไม่เพียงพอ


ความต่างระหว่างคนแต่ละคน มองภายนอกเป็นความต่างทางฐานะการเงินหรือรูปร่างหน้าตา แต่อันที่จริงคือ ความต่างของพลังงานกับอานิสงส์ และพื้นฐานทางจิตใจกับเต้าเต๋อ เราควรฝึกฝนคุณธรรมของตนอย่างไร สำหรับเรื่องนี้ วิธีการที่ท่านเหลาจื่อมอบให้ไว้คือ “รู้เพิ่มเมื่อศึกษา ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย” มีเพียงบนพื้นฐานของการไม่หยุดการศึกษา และลดความทะยานอยากของตนอย่างต่อเนื่องเท่านั้น จึงจะขจัดจุดบอด เข้าใจความเป็นจริง พบจุดเชื่อมโยง และกุมความพอดีได้ นี่แหละคือ “ระดับ”


อันที่จริง การค้นพบ “ระดับ” คือการตระหนักรู้ถึงกฎ ในเวลานั้น คนเราจะเกิดจิตเคารพยำเกรงขึ้นเองตามธรรมชาติ เคารพยำเกรงเรื่องราวรอบตัวรวมถึงกฎธรรมชาติ รู้ว่าตนควรและไม่ควรทำอะไร จากนั้นจึงรวบรวมสมาธิทำสิ่งที่ควรทำให้ดี นี่คือการแสดงออกของความ “มีเต๋า”


ชีวิตคนเราเปรียบเสมือนไม้บรรทัด การเดินหน้าถอยหลังมีระดับที่พอดี แต่ละคนล้วนใช้ชีวิตที่คู่ควรกับคุณธรรมของตนได้เท่านั้น อันที่จริง ความดีงามทั้งหลายในโลกนี้ล้วนเกี่ยวพันกัน คนดีไม่เคยได้รับความไม่ยุติธรรม แม้จะเป็นการทำความดีเพียงเล็กน้อยที่เทียบกับเต๋าไม่ได้ หรือกุศลจิตที่ไร้รูปไร้เสียง ล้วนมีแสงสว่างในตัวเองทั้งนั้น ประสบการณ์ที่ผ่านมาของเราในบัดนี้ ล้วนมีที่มาจากความคิดแรกเริ่มของเราเอง สิ่งที่เราจะมีในอนาคต ก็เริ่มจากคำพูดและการกระทำของเราในปัจจุบัน


ผู้มีเต๋า จะเป็นคนดีต่อไปเรื่อย ๆ เขาจะถามหาแต่ความจริงใจ ไม่เคยคิดเล็กคิดน้อย หากท่านเป็นเช่นนั้นได้ ท่านก็เป็นผู้มีเต๋า โชคดีกำลังตามหลังท่านมา



อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564

* * *


** “以道莅天下,其鬼不神”的理解关键:不是是否存在鬼神,而是能否遵行大道!如果能以道的品质做人、以宇宙特性示人,只要不伤害大众、不把持利益,就会得到宇宙中不同空间能量的帮助与维护。所有有道之人,都不求世间所得,然而不求不等于没有。厚德所化,天命所赐,不求反而能自得。这就是道德经第七章所说,无私故成大私。

早安!* * *


16有道与无道之间,就是一个“度”的问题

《道德经第46章分享暨收获月祝福》连载16


九、有道与无道之间,就是一个“度”的问题。


平时,如果我们说谁“有道”,那往往是对一个人最高的评价了!所谓有道者,就是会把握“度”的人;而无道者,则是不会把握“度”的人。但“度”怎么判定?这就需要智慧了。


比如,人的形体与精神大多数时候都是随外境变化而变化的。因为,在没有形成自己稳固的内在精神世界时,人很难做到“自制”,总是禁不住去吸收外界的思想、行为和各种信息。可人这一生,浏览别人不是目的,认识自己才有意义。一个人眼中所能看到的,都是自己的业力允许我们看到的——实际上,眼界就是一个人的世界。人必须让心灵进入更高的维度,才能纵览全局,把握住那个不偏不倚的“度”。


提升自己格局与智慧唯一的方法,就是《道德经》中所说的修道建德。只有道德提升到一定水平了、心足够清静了,人才会有自我筛查、自我纠错的能力。而一般人往往都清静不下来,所以眼睛总是往外看、心总是向外驰,这背后的原因就在于:德还不够。


人和人之间的差距,表面上看是财富、容貌的差距,其实是能量与福报、心地与道德的差距。我们该如何来修自己的德?对此,老子给出的方法就是“为学日益,为道日损”——唯有在不断学习的基础之上,又能不断损掉自己的欲望,才能扫清盲点、了解真相、发现关联、把握分寸,这就是“度”。


找到“度”,其实就是感知到了规律。此时,人便自然升起了敬畏之心——敬畏周边的一切事物,敬畏自然规律;知道自己该做什么、不该做什么,然后就会聚精会神地做好那些该做的事,这就是“有道”的表现。


人生如尺,进退有度,每个人都只能过与自己的德相匹配的生活。其实,世间所有的美好都是环环相扣的,善良的人从来不会被亏待。即便是微不足道的善举、不动声色的善意,也将自带光芒。我们现在所经历的,都源于自己最初的起心动念;我们将来所拥有的,也都始于自己当下的一言一行。


有道的人,会一直善良下去,他只问真心,从不计较。如果您也能这样的话,那您就是有道者,好运已在您的身后相随而至!


赵妙果,2021年11月16日,第1381

2 views0 comments
bottom of page