top of page

คำอำนวยพร 16 มิถุนายน 2565 (ไม่มีอรุณสวัสดิ์)



ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 53 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งอู๋เหวย


[กล้าที่จะสละ กายใจจึงได้รับอิสระ]


ผู้มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติอยู่บ้างล้วนแต่ทราบว่า การให้คือประเด็นพื้นฐานของการฝึกฝนเต๋า และยังเป็นวิธีการฝึกปฏิบัติที่ผู้บรรลุเต๋ามากมายให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกมาตั้งแต่สมัยโบราณ หากไม่มีจิตใจแห่งการให้ การปฏิบัติเต๋าจะเป็นเพียงคำพูดลอย ๆ จะไม่มีวันสำเร็จได้แน่นอน การให้มี 3 ประเภท


1. การให้ทรัพย์สิน คือการมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่น ตนก็จะได้รับทรัพย์สินตอบแทน เช่นเดียวกับนักธุรกิจที่ยินดีให้เงินเดือนสูง ๆ แก่พนักงาน และยินดีคืนกำไรให้แก่ลูกค้า กิจการเจริญรุ่งเรืองมากตามปกติ การปฏิบัติเต๋าต้องมีอานิสงส์เป็นพื้นฐาน หากคนเราตระหนี่ถี่เหนียวจึงขาดแคลนทุนเสบียงสนับสนุนการฝึกปฏิบัติ


2. การให้ธรรมะ คือการมอบภูมิปัญญาให้แก่ผู้อื่น ตนก็ได้รับภูมิปัญญาตอบแทนด้วย การให้ปลาแก่ผู้อื่นมิสู้สอนให้เขาตกปลา สามารถใช้ความรู้ที่ตนเข้าใจลึกซึ้งไปช่วยเหลือผู้อื่นทำลายความหลงแล้วเกิดปัญญา เมื่อผู้อื่นเกิดภูมิปัญญา ตนก็จะได้รับผลตอบแทนอย่างเดียวกันไปด้วย โดยเฉพาะผู้ที่แบ่งปันประสบการณ์ ในระหว่างที่แบ่งปันประสบการณ์ ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดมิใช่ผู้ฟัง แต่เป็นตัวผู้แบ่งปันประสบการณ์เอง หัวใจของการศึกษาประยุกต์ใช้คัมภีร์เต้าเต๋อจิงคือการถ่ายทอดความรักไปทั่ว กล่าวอย่างง่าย ๆ คือ การบอกเล่าเรื่องราวการศึกษาและประยุกต์ใช้จริงของตนให้ดี เมื่อผู้อื่นได้ประโยชน์แล้ว ตนเองได้ประโยชน์มากยิ่งกว่า


3. การให้เพื่อขจัดความกลัว คือการให้ผู้อื่นสุขกายสบายใจ ตนเองก็พลอยสุขกายสบายใจทั้งยังอายุยืนอีกด้วย ในขณะที่ผู้อื่นมีความทุกข์ทรมาน และกำลังเผชิญกับภัยพิบัติ เราขอขอบคุณแทนผู้อื่นที่ทุ่มกำลังเข้าช่วย ให้อีกฝ่ายสามารถสุขกายสบายใจ และผ่านความยากลำบากไปได้ เมื่อนั้นความสุขภายในใจของเราจะไม่มีการเสพสุขทางวัตถุใดๆ ในโลกมาเปรียบปานได้เลย การอุทิศความรักคือสภาวะสูงสุดของการบำรุงรักษาสุขภาพ


การให้คือการฝึกปฏิบัติครั้งใหญ่ หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นการทำลายกรอบของตัวตน ก้าวข้ามตนเอง ยกระดับและสร้างความสำเร็จให้ตนเอง ล้วนแต่ต้องการการให้ หากไร้ซึ่งการให้ การพูดคุยถึงเต้าเต๋อจะเป็นเรื่องน่าขัน การให้มิใช่การฝึกฝนให้มีบุญวาสนา แต่เป็นการฝึกฝนเต๋า เมื่อมีเต๋าย่อมมีบุญวาสนาเอง แต่การมีบุญวาสนาใช่ว่าจะบรรลุเต๋าได้เสมอไป การให้มิได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบ แต่ขึ้นอยู่กับการชำระล้างความละโมบ


เส้นทางแห่งการฝึกปฏิบัติมีความชัดเจนมาก ก่อนอื่นต้องกุมจิตใจของตนในเรื่องเล็กๆ ก่อน ละทิ้งพฤติกรรมที่ทำลายผู้อื่นเพื่อผลประโยชน์ของตน ขอเพียงอยากทำ เราจะทำได้แน่นอน ส่วนการปฏิบัติเต๋าคือการทำเรื่องง่ายให้ดีซ้ำแล้วซ้ำอีก ตั้งใจทำงานที่จำเจให้ดี การยืนหยัดทำงานทุกเรื่องคือการเติมเชื้อไฟให้ชีวิต เมื่อไฟไม่ดับ ข้าวดิบจึงจะหุงเป็นข้าวสุกได้ หากมีความร้อนเพียงไม่กี่นาที เดี๋ยวเปิดเดี๋ยวปิด ข้าวจะไม่มีวันหุงสุกได้เลย


การเดินทางบนโลก หากไหลไปตามกระแสมักจะทำงานใหญ่ไม่สำเร็จ หากรักษาหลักการไว้ได้ เดินบนวิถีทางที่ถูกต้อง จึงจะได้รับความเคารพ เดินได้มั่นคงและยาวไกล กล้าที่จะสละ กายและใจจึงจะได้รับอิสรเสรี


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 16 มิถุนายน 2565

(เผยแพร่วันที่ 1593)

* * *


16敢于舍去,才能获得身心自在

《道德经》第53章暨无为月16

稍有修行常识的人都知道,布施是修道的基本主题,也是自古以来诸多成道者摆在首位的修行方法。没有施舍精神,行道就是一句空话,绝不可能成功。布施有三种:


第一是财布施。施人以财物,自己也得财物回报,就像企业家舍得给员工高薪,愿意给客户返利,生意通常很兴隆。行道需要福报作基础,人若吝啬,往往就缺少资粮支撑修行。


第二是法布施。施人以智慧,自己也得智慧回报。授人以鱼,不如授人以渔,能用自己领悟的道理帮别人破迷开悟,别人智慧增长了,我们也得同样的回报。尤其是分享的人,分享中受益最大的不是听众,而是分享者本人。道德经学用的核心是把爱传出去,简单说,就是讲好自己实学实用的真实故事。别人得益了,自己更受益。


第三是无畏布施。施人以身心安康,自己也得身心安康、福寿延绵的回报。在别人痛苦、危难之际,自己感同身受,奋力相助,让对方能身心俱安,渡过难关,这时我们内心的快乐是世上任何物质享受都无法比拟的。奉爱,是养生的最高境界。


布施是大修行——突破自我,超越自我,升华自我,成就自我,都需要布施。离开布施,谈德论道,是贻笑大方。布施不是为了修福,而是为了修道,有道自有福,但有福未必能成道。布施不在形式,而在于清理贪欲。


修行之路很清晰,首先要在小事中把握自心,摈弃损人利已的行为,这一点只要想做,我们都能做到。而行道在于把简单的事重复做好,重复的事用心做好。每一份坚持都将为生命添柴加火。火不灭,生米才能煮成熟饭;若只有三分钟热度,一会开一会关,饭就永远煮不熟了。


行走人间,随波逐流,往往成不了大事。若能守住原则,行于正道,才能赢得尊重,行稳致远。敢于舍去,才能获得身心自在。


赵妙果,2022年6月16日,第1593天

3 views0 comments
bottom of page