top of page

คำอำนวยพร 24 กุมภาพันธ์ 2565



** ประเด็นสำคัญของการรักษาชีวิตคือการสงบจิตใจของตน จิตมิใช่วัตถุจริง ไม่อาจหยิบจับได้ การสงบจิตคือการอยู่กับปัจจุบัน  จงรักษาความสะอาดอันปราศจากอคติไว้ตลอดเวลา  มีความสงบนิ่ง  ใจเย็น  เคารพนบนอบ  วางตนอยู่ต่ำและไม่ยื้อแย่งก็เพียงพอแล้ว  ผู้ที่มีจิตสงบนิ่ง  จะไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งแวดล้อม  เพราะเขามีพลังอันสงบนิ่งอยู่ภายใน  จิตของคนเราอยู่ในสภาวะใด  ชีวิตความเป็นอยู่จะเป็นเช่นนั้น  ไม่ปล่อยให้จิตใจล่องลอยไร้ที่พักพิง  กายใจหวนคืนสู่ตำแหน่งของตน  ชีวิตจะอิสรเสรีตามธรรมชาติ


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 49 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์


[การเป็นอริยบุคคลคือเป้าหมายและหน้าที่ ทั้งยังเป็นการฝึกฝนหลอมหล่อตลอดชีวิตด้วย]

3.2 การเป็นอริยบุคคลคือเป้าหมายและหน้าที่ ทั้งยังเป็นการฝึกฝนหลอมหล่อตลอดชีวิตด้วย


หากท่องคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” ได้อย่างคล่องแคล่ว แต่อ่อนน้อมและสงบนิ่งไม่ได้ ยังมองผู้อื่นด้วยจิตอันหยิ่งทะนง ทำงานด้วยจิตที่แบ่งแยก และไม่สามารถกลมกลืนกับทุกคนได้ เมื่อทำงานได้ไม่ดี การศึกษาคัมภีร์จะมีความหมายอันใดเล่า เป้าหมายของการศึกษาคือการตื่นรู้และเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญมิใช่การ “รู้” แต่อยู่ที่การ “ทำได้”


“อริยบุคคลเปลี่ยนความปรารถนาตามความต้องการของมวลชน” ความคิดของท่านเหลาจื่อที่มีประชาชนเป็นพื้นฐาน นี่คือเสียงเรียกร้องความเป็นธรรมจากใจของท่าน สะท้อนให้เห็นถึงผลประโยชน์และความปรารถนาของมวลมหาชน กฎเกณฑ์ที่เปิดเผยคือ “มีเพียงการทำตามความปรารถนาของประชาชน ทั่วหล้าจึงสงบสุขได้” นี่คือสัจธรรมที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่จิตใจของประชาชนไม่เปลี่ยน นี่คือรากฐานของการปกครองประเทศที่ทำให้สังคมปรองดองตลอดกาล


“คนดีข้าดีต่อเขา คนไม่ดีข้าก็ดีด้วย เรียกว่า ความดีงาม ผู้มีสัจจะข้าให้ความเชื่อถือ ผู้ไร้สัจจะข้าก็จริงใจ เรียกว่า เชื่อถือความมีคุณธรรม” นี่คือแนวคิดเรื่องความเสมอภาคของท่านเหลาจื่อ ความดี ความชั่ว ข้อดี และข้อเสียเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แกนหลักอยู่ที่ความต้องการของประชาชน ไม่ว่าปฏิบัติต่อใคร หากใช้ความปรารถนาดีต่อเขาอยู่เสมอ บางครั้งอาจดูคล้ายเสียเปรียบ แต่จิตใจที่กว้างขวางและปลอดโปร่งนี้ แม้ในโลกที่มีรูปจะใช้เงินทองมาแลกก็แลกไม่ได้ แต่ในโลกที่ไร้รูปกลับมีค่าแลกได้ทุกสิ่ง การศึกษาเต๋าต้องมีความเชื่อ กฎเกณฑ์ต้องพิสูจน์ มีเพียงการฝึกฝนคุณธรรมจนเป็นอัตลักษณ์ของชีวิต ธุรกิจการค้า และการดำเนินชีวิต คนเราจึงจะสัมผัสถึงพลังกลุ่มนั้นได้


“อริยบุคคลวางตนมีจิตหนึ่งใจเดียวกับคนทั่วหล้า” คือจิตใจที่ไร้อัตตาของท่านเหลาจื่อ การปกครองทั่วหล้าจะมีอัตตาไม่ได้ ผู้ใดไร้อัตตา ผู้นั้นจึงสามารถสร้างความสำเร็จให้ส่วนรวมได้ หากเราปกครองตนเองโดยมีจิตหนึ่งใจเดียวกับเต๋า ปกครองครอบครัวโดยมีจิตหนึ่งใจเดียวกับคุณธรรม ปกครองประเทศโดยมีจิตหนึ่งใจเดียวกับประชาชน ขอเพียงมีใจประสานใจกับประชาชนได้ ทุกคนล้วนสามารถเป็น “นักปกครองผู้ชาญฉลาด” ที่ภายในดั่งอริยบุคคล ภายนอกดั่งราชา เพราะผู้ใดไม่เห็นแก่ตัว เขาผู้นั้นจึงสร้างความสำเร็จให้แก่ส่วนรวมได้


“ปวงชนต่างมองและฟังซึ่งกันและกัน อริยบุคคลถือปวงชนเป็นลูกหลานของตน” คือความรักอันกว้างใหญ่ของท่านเหลาจื่อ การศึกษาที่ดีที่สุดมักเกิดขึ้นจากการรอคอย ขอเพียงยอมเปล่งแสงออกมา ความมืดจะหายไปในที่สุด ชีวิตย่อมจะเติบโต พ่อแม่และครูบาอาจารย์ที่ดีจะไม่ให้เราพึ่งพา แต่จะสอนให้เรายืนด้วยลำแข้งตนเอง ชีวิตต้องเติบโตด้วยตนเอง ขนาดจิตใจต้องขยายด้วยตนเอง เช่นนี้พลังจึงจะเป็นของเราเอง มิใช่ไปหยิบยืมจากผู้อื่น


เราทุกคนถือกำเนิดมาล้วนมีเพียงภารกิจเดียว คือต้องเป็นอริยบุคคลที่มีความผาสุก อิสระ และสมบูรณ์ ในสังคมหนึ่งยิ่งมีอริยบุคคลมากเท่าไร ระดับความมั่นคงและสงบสุขของสังคมนั้นจะสูงยิ่งขึ้น การเป็นอริยบุคคลเป็นทั้งเป้าหมายและหน้าที่ และยิ่งเป็นการฝึกฝนหลอมหล่อตลอดชีวิตอีกด้วย


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565

(เผยแพร่วันที่ 1480)

* * *


** 摄生之道重点是安住好自己的心。心不是实物,无法拿来;安心是安住在当下,保持不带成见的干(gān)净(jìng),淡定自若的宁静,处下不争的恭敬,就好了。心安神闲的人,环境无法动摇他,因为他内在有安定的力量。人的心在什么境界,生活就是什么样子。不让精神流离失所,身心归位,生命自然自在。

早安!* * *


24成为圣人,是目标,是责任,更是一生的修炼

《道德经》第49章分享暨播种月祝福》连载24

十七、成为圣人,是目标,也是责任,更是一生的修炼。


如果把《道德经》背得滚瓜烂熟,但做不到谦虚宁静,还是以傲慢心看人,以分别心对事,不能融入大家,做不好事情,那学经典的意义何在呢?读书的目的是觉醒和改变,其关键不在于“知道”,而在于“做到”。


“圣人无常心,以百姓之心为心”是老子的民本思想。这是老子发自肺腑的正义呼唤;体现的是大众的利益和意志;揭示的是“只有顺民心,才能安天下”的规律。这是千古不变的真理,即使时代在变,但百姓之心不变,这永远是和谐社会的治国根柢。


“善者吾善之,不善者吾亦善之,德善;信者吾信之,不信者吾亦信之,德信”是老子的平等观念。善恶优劣不断转化,核心在人心所向。无论对谁,若永远拿出善意,有时看似会吃亏,但心中这份坦荡与通畅,在有形世界里是万金不换,在无形世界中却可换万有。学道要信,规律要证,只有把德亮化在生命、生意、生活里,人才能感受到那份力量。


“圣人在天下,歙歙焉为天下浑其心”是老子的无我精神。治理天下,不能有我,谁无我,谁能成就大我。若治身浑心于道,治家浑心于德,治国浑心于民,只要能与百姓心连心,每个人都能成为内圣外王的“明君”。因为,谁无私,谁能成就大私。


“百姓皆注其耳目,圣人皆孩之”是老子的博大之爱。最好的教育往往成于等待,只要肯给出光明,黑暗终将消散,生命必会成长。好的父母、好的老师,不会让我们依靠,而是教我们自立。生命要自己成长,心量要自己壮大,那样力量是自己的,而不是向别人借的。


每个人生下来,都只有一个使命,就是要做一个幸福、自在、圆满的圣人。一个社会圣人越多,其稳定和安宁的水平就越高。成为圣人,既是目标,也是责任,更是一生的修炼。


赵妙果,2022年2月24日,第1480天

6 views0 comments
bottom of page