top of page

คำอำนวยพร 24 ตุลาคม 2564


** ความทะยานอยากแบ่งออกเป็นความทะยานอยากที่ดีและความทะยานอยากที่เลวร้าย  ความทะยานอยากที่ดีคือมีความเที่ยงตรง  ส่วนความทะยานอยากที่เลวร้ายคือขาดความเที่ยงตรง


ความต้องการทางชีวภาพตามปกติจำเป็นต้องมีความทะยานอยาก  อันเป็นความทะยานอยากที่ดี  ความทะยานอยากก็เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการเคลื่อนที่ของเต๋า  สำหรับความทะยานอยากที่ดี  ความทะยานอยากคือพลังขับเคลื่อนที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้  และเพราะมีความทะยานอยาก  เหตุการณ์และวัตถุต่าง ๆ จึงเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน  พัฒนาจนก่อเกิดเป็นวัฏจักรขนาดใหญ่   วัฏจักรใหญ่นี้มีความบกพร่องในส่วนทั้งหมดน้อย  เผาผลาญน้อย  มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไม่มี  ดังนั้นวัฏจักรใหญ่จึงใกล้เคียงกับเต๋าอันเป็นต้นธาร  และใกล้เคียงกับเต๋าอันเป็นความผาสุก


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 45 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการเกิดใหม่


[จิตใจมีความเคารพยำเกรง การกระทำรู้จักหยุด]


3.2 ชั่วชีวิตคนเรา จิตใจมีความเคารพยำเกรง การกระทำรู้จักหยุด


เมื่อเราเริ่มเคารพยำเกรงกฎ ธรรมชาติ และกฎแห่งกรรมแล้ว ความเคารพจากภายในเช่นนี้จึงจะกระตุ้นให้ภายนอกมีความสงบ ทำให้กายใจเป็นหนึ่ง ร่างกายคนเรามิใช่วัตถุที่ดำรงอยู่อย่างเดียว เมื่อจิตใจของเรามีความเคารพยำเกรง และการกระทำรู้จักหยุด กายและใจจะกลายเป็นร่างของจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยจิตญาณ มีแสงสว่างและสนามพลังชีวิตในตนเอง ซึ่งทั้งเปลี่ยนแปลงตนเองและส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย


สิ่งที่เราต้องสำรวจตนเองตลอดเวลามีดังนี้


หนึ่งคือควบคุมความหยิ่งยโสจากความสำเร็จ ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า “ภัยเอ๋ย โชคลาภได้พึ่งพา โชคเอ๋ย ภัยแฝงเร้นอยู่ด้วย” การที่มนุษย์ไม่อาจหลุดพ้นจากความไม่แน่นอนของโลกได้ เพราะจิตใจมักเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ดังนั้น เมื่อประสบความสำเร็จจะได้ใจจนลืมตัว เมื่อล้มเหลวก็จะโทษปี่โทษกลอง ทั้งชีวิตได้รับความยากลำบากอยู่ในวงจรที่ขจัดออกไปได้ยากนี้ ดังนั้น อย่าพึงพอใจกับสภาพปัจจุบันโดยไม่หาความก้าวหน้าเด็ดขาด ต้องค้นหาจุดเจ็บปวดและจุดอ่อนของตนแล้วพัฒนาให้สมบูรณ์อย่างเอาการเอางาน เชี่ยวชาญอนุรักษ์ของเก่า กลับจะเป็นท่าทีต่อชีวิตที่กระตือรือร้นเสียอีก


สองคือปล่อยวางภาวจิตของการตามหาทางลัด ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า “ทางสายใหญ่แม้จะราบเรียบ ยังมีคนชอบเดินเส้นทางเล็ก” ชีวิตคนเราไม่มีทางลัด หากมัวแต่จะหากลวิธี จิตใจมักร้อนรน สุดท้ายจะไม่ประสบความสำเร็จสักอย่างเพราะรีบร้อนในความสำเร็จและผลประโยชน์เฉพาะหน้า และเป็นเพราะกลัวความเหนื่อยและลำบาก จึงละทิ้งความพยายามได้ง่าย รักษาความโง่และเรียบง่ายไว้กลับจะช่วยเปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เปลี่ยนจากความไม่หลักแหลมเป็นความหลักแหลมที่สุด


สามคือตระหนักรู้ถึงจุดอ่อนของจิตใจโลเลขาดความมุ่งมั่น ท่านเหลาจื่อ กล่าวว่า “การเดินทางไกลพันลี้เริ่มต้นจากก้าวแรก” ไม่ว่าเรื่องใด หากยืนหยัดได้จะเป็นตำนาน หากเลิกล้มจะเป็นเรื่องน่าขัน หลักเหตุผลนี้ฟังดูเหมือนง่าย แต่คนมากมายกลับทำไม่ได้ อันที่จริง ความพยายามใด ๆ ล้วนมีความหมาย บางครั้งมันอาจซ่อนอยู่ในที่ที่เรามองไม่เห็นเท่านั้นเอง ความโชคดีไม่เคยโผล่ขึ้นมาเฉย ๆ หากไม่ซ่อนอยู่ใน “การรักษาความเป็นหนึ่ง” ก็ซ่อนอยู่ใน “การยืนหยัด”


สี่คือควบคุมนิสัยเกียจคร้านให้ได้ ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า “เต๋ากว้างใหญ่ไพศาล มีบทบาทมิรู้สิ้น” สิ่งเดียวในโลกนี้ที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ “การเปลี่ยนแปลง” หากมนุษย์ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง จะทำอะไรไม่ได้เลย อันที่จริง ความรู้สึกปลอดภัยเพียงหนึ่งเดียวในชีวิตคนเรามาจากการสัมผัสกับชีวิตที่ไม่ปลอดภัยอย่างเต็มที่เท่านั้น ต้องยอมให้ชีวิตปฏิบัติต่อเราเหมือนตุ๊กตาดิน ที่ถูกทุบแตกแล้วปั้นขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง แม้การเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่แต่ละครั้งจะเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีความเจ็บปวดเป็นพัก ๆ มาด้วย แต่เมื่อเหตุการณ์และเรื่องราวมากมายผ่านไป ในอนาคตย่อมต้องมีตัวเราที่ดีขึ้นรอคอยอยู่แน่นอน


ห้าคือให้ความสงบนิ่งเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า ความ “สงบนิ่ง” มิใช่การเก็บกดความคิดฟุ้งซ่านไว้ แต่เป็นการทุ่มเททั้งกายใจให้กับการแสวงหาอันยิ่งใหญ่ของตน ความสงบนิ่งคือ การขจัดความคิดเพ้อเจ้อจากในสู่นอก รังสรรค์สภาวจิตที่มีสมาธิให้แก่ตน ส่วนการปิดกั้นคือการกำจัดสิ่งรบกวนจากนอกสู่ใน เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีสมาธิให้ตนเอง ผู้ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ล้วนเป็นผู้ที่ “เอาชนะตนเอง” ซึ่งเงื่อนไขก่อนการ “เอาชนะตนเอง” คือการ “รู้จักตนเอง” เรื่องนี้เราต้องสงบจิตใจเพื่อวิเคราะห์และสำรวจอย่างลึกซึ้ง ดังนั้น ประโยคที่ว่า “การเล่นกีฬาชนะความหนาวเหน็บ นิ่งชนะร้อนแรง สงบนิ่งเป็นวิถีที่ถูกต้องใช้ทั่วหล้า” คือเคล็ดลับพื้นฐานของผู้ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 24 ตุลาคม 2564

(เผยแพร่วันที่ 1358)

* * *


** 欲望有欲望之善,和欲望之恶之分。欲望之善为得正,欲望之恶为失正。


正常生理需要欲望,为欲望之善。欲望也是道运行的必要条件。关于欲望之善,欲望是生命存在的动力,又是因为有欲望的存在,事物之间才能联系起来,进而形成一个大的循环,这个大循环在整体上缺损更小、消耗更少,在性质上接近于无,因此大循环更接近本源的道,接近幸福的道。

早安!* * *


24 心有敬畏,行有所止

《道德经第45章分享暨新生月祝福》连载24

十七,人生一世,心有敬畏,行有所止。


当您开始敬畏规律、敬畏自然、敬畏因果时,这种内敬才能激发外静,让身心合一。我们的身体本就不是单纯的物质存在,当您心有敬畏、行有所止时,身心就变成了一个充满灵性的精神体——自带光明,自带气场,既改变着自己,也影响着环境。


我们需要时刻自省的是:


一是克制成功的骄傲:老子说:“祸兮福之所倚,福兮祸之所伏。”世人之所以摆脱不了世事沉浮,就在于心性总是随境而变。因此,成功时容易得意忘形,失败时又要怨天尤人,于是一生都在受困于这个破除不了的怪圈。所以,千万不可故步自封,要不断寻找自己的痛点、弱点去积极完善——善于抱残守缺,反而是一种积极的人生态度。


二是放下寻找捷径的心态:老子说:“大道甚夷而人好径。”人生没有捷径可走,如果一味求巧,往往心浮气躁,最后不是因为急功近利而一事无成;就是因为畏难怕苦而轻易放弃。守拙守朴反而能化繁为简,由不巧而至巧。


三是觉知见异思迁的毛病:老子说:“千里之行始于足下。”任何事情,坚持了就是神话,放弃了就是笑话。这个道理听起来很简单,但很多人却做不到。其实,任何努力都有意义,有时它不过是藏在你看不到的地方。好运气,从不会凭空而来:要么藏在“抱一”里,要么藏在“坚持”中。


四是克制住怠惰的习气:老子说:“道冲而用之或不盈。”这个世界唯一不变的就是“变化”。人若不能主动适应变化,就会在变化来临时,被无力感淹没。实际上,人生唯一的安全感只能来自于充分体验了人生的不安全。要允许生活把我们当做一个泥人,不断打碎再重塑。虽然,生命每更新一次,都难免会伴随阵痛;但历尽千帆,未来必定有一个更好的自己在等你。


五是让清静为天下正:“清静”不是压制杂念,而是全身心投入到自己的伟大追求中。清净是由内而外的去除妄想,给自己营造一个专注的心境;而闭关则是由外而内的排除干扰,给自己创设的一个专注的环境。大成功者都是“自胜”的人,而“自胜”的前提就是“自知”——这需要我们静下心来分析和探索,所以“躁胜寒,静胜热,清静为天下正”实在是一个大成功的根本秘诀!


赵妙果,2021年10月24日,第1358天

2 views0 comments
bottom of page