top of page

คำอำนวยพร 7 มกราคม 2565



**  ก้นบึ้งจิตใจของทุกคนล้วนมีกระจกเงาอยู่บานหนึ่ง  บรรดาปัญหาในโลกนี้ล้วนหาคำตอบได้จากกระจกเงาบานนี้ การที่มองเห็นไม่ชัดเจนเพียงเพราะเราไม่ได้เช็ดทำความสะอาดมันนานเกินไป ทำให้ถูกอวิชชาบดบัง  เพราะฉะนั้น  เราจึงต้องใช้ “ลดน้อยและลดน้อยลง” มา “สำรวจตนเองวันละสามครั้ง” และ “หมั่นเช็ดถูทุกวัน”  นี่คือการลงลึกสู่ระดับจิตวิญญาณ  เพื่อรักษาความสะอาดบริสุทธิ์ของจิตวิญญาณ จากนั้นก้าวข้ามตนเองและปลดปล่อยจิตวิญญาณ มีเพียงการทำเช่นนี้เท่านั้น จึงจะสื่อเชื่อมกับภูมิปัญญารวมหมู่ของจักรวาลได้  และให้ชีวิตบรรลุถึงสภาวะที่สูงขึ้น


คำอำนวยพรอรุณสวัสดิ์

จากอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 48 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งการอำนวยพรปีใหม่


[การศึกษาคือการแสวงหา “มี” การฝึกธรรมะคือการค้นหาสิ่งที่ “ไม่มี”]


ประเด็นที่ 1 การศึกษาคือการแสวงหา “มี” การฝึกธรรมะคือการค้นหาสิ่งที่ “ไม่มี”


1.1 การศึกษาและการฝึกธรรมะล้วนเป็นวิถีทางของการทำความเข้าใจโลกที่มีประสิทธิผล


“รู้เพิ่มเมื่อศึกษา ฝึกธรรมะบกพร่องลดน้อย”


ตอนต้นของบทนี้อธิบายถึงเคล็ดลับสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ 2 ประการ หนึ่งคือการศึกษา สองคือการฝึกธรรมะ สองประการนี้เป็นเรื่องที่ไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง


การ “ศึกษา” อยู่บนพื้นฐานของ “มี” ซึ่งอาศัยการจำแนกประเภท เปรียบเทียบ และจัดลำดับ มาสั่งสมความรู้และประสบการณ์หลังกำเนิด มีการค้นหาแนวคิดใหม่ สิ่งใหม่ และการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่การ “ศึกษา” อธิบายคือ สมรรถภาพทางด้านสมอง เป็นกระบวนการในแนวราบ และขยายออกสู่นอก เพราะ “มี” เปลี่ยนแปลงได้ไม่สิ้นสุด ดังนั้นการ “ศึกษา” จึงมีประโยชน์มากมาย


ส่วนการ “ฝึกธรรมะ” มีแนวโน้มไปทาง “ไม่มี” ซึ่งอาศัยการปรับลดความทะยานอยาก กำจัดอคติ เข้าสู่จิตภายใน ก่อเกิดความเข้าใจชัดแจ้ง สิ่งที่การ “ฝึกธรรมะ” อธิบายคือสมรรถภาพทางด้านจิตวิญญาณ เป็นกระบวนการที่ลงลึกในแนวดิ่ง เพื่อแสวงหาต้นตอแหล่งที่มา เพราะการย้อนสู่แหล่งกำเนิดเรียกว่าสงบนิ่ง บรรลุเต๋ามีความเป็นหนึ่ง ดังนั้น การ “ฝึกธรรมะ” จะนับวันยิ่งง่ายขึ้น แต่ความง่ายประเภทนี้ยังเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตอีกด้วย


การ “ศึกษา” และ “ฝึกธรรมะ” ล้วนเป็นวิถีทางของการทำความเข้าใจโลกที่มีประสิทธิผล การ “ศึกษา” คือการวิจัยค้นคว้าเฉพาะส่วนที่แตกต่างกันโดด ๆ ภายในขอบเขตที่แน่นอนซึ่งยิ่งมีความชัดเจน ยิ่งเป็นรูปธรรม และกุมได้ง่ายกว่า ส่วนการ “ฝึกธรรมะ” เป็นการทำความเข้าใจสรรพสิ่งในลักษณะของส่วนทั้งหมดและแหล่งกำเนิด เป็นการประยุกต์ใช้กฎพื้นฐานของจักรวาลโดยตรง ดังนั้น จึงยิ่งเป็นนามธรรม และกุมได้ยากยิ่งกว่า

อันที่จริง การ “ฝึกธรรมะ” ในคัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” เป็นเนื้อหาที่การศึกษาในยุคปัจจุบันไม่มีความเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงเลย ซึ่ง “ธรรมะ” (เต๋า) นี้คือกฎแห่งชีวิต กฎธรรมชาติ และกฎของจักรวาล ทั้งยังหมายถึงกฎที่ชอบทั้งมวลของโลก และเป็นศาสตร์สูงสุด แน่นอนว่ามีความไร้ขีดจำกัด กุมได้ยาก และไม่อาจถ่ายทอดได้


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 7 มกราคม 2565

(เผยแพร่วันที่ 1432)

* * *


** 每个人心底都有一面明镜,世间所有问题都可以在其中找到答案。看不清只是因为我们太久没去擦拭它,让它被无明遮盖了,所以才需要用“损之又损”来“吾日三省吾身”和“朝朝勤拂拭”。这是一种心灵层面的深入,是为了保持心灵的纯洁,然后超越自我、解放心灵。只有这样,才能联接宇宙集体智慧,让生命达到更高境界。

早安!* * *


07为学是追求“有”,为道是探寻“无”

《道德经》第48章分享暨元旦月祝福》连载07


第一层面,为学是追求“有”,为道是探寻“无”。


一、为学与为道都是了解世界的有效途径。


原文:“为学日益,为道日损”


本章开篇就讲了大成功的两个奥秘:一是为学,二是为道,这是两个完全不同层面的事。


“为学”基于“有”:即通过分类、比较、排序来累积后天的知识和经验,不断发现新概念、新事物、新变化。“为学”讲的是头脑层面的功能,是一个横向、外扩的过程。因为,“有”变化无穷,所以“为学”也多多益善。


“为道”则趋向“无”:即通过调服欲望、去除偏执,走进内心,产生明悟。“为道”讲的是心灵层面的功能,是一个纵向深入、追本溯源的过程。因为,归根曰静,得道抱一,所以“为道”会越来越简单,但这种简单也是生命最高的到达。


“为学”与“为道”都是了解世界的有效途径。“为学”是孤立地研究不同的个体,在一定范围内更明确、更具体、更容易被掌握;而“为道”则是整体性、本源性的了解万物,它直接运用宇宙的根本法则,因此更抽象,也更难以把握。


实际上,《道德经》中的“为道”是现代教育中没有真正涉及的内容。这个“道”是指生命规律、自然规律、宇宙规律;也指世间一切正法、至高学问,确实具有无限性、难以把握性和不可传授性。


赵妙果,2022年1月7日,第1432天

3 views0 comments
bottom of page