top of page

คำอำนวยพร 9 กันยายน 2564

Updated: Oct 11, 2021


** สมบูรณ์เลิศคล้ายบกพร่องคือการสาธยายถึงระบบระเบียบของจักรวาลอย่างหนึ่ง  เพราะมีความบกพร่อง  สรรพสิ่งจึงสามารถรวมตัวกันเป็นจักรวาลที่ปรองดองได้  และเป็นเพราะสรรพสิ่งล้วนมีข้อบกพร่องเป็นของตน  จักรวาลนี้จึงยังมีชีวิตอยู่ไม่สูญสลายหายไป  มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ "เพราะมีจุดบกพร่อง  ดังนั้นจึงสมบูรณ์"  บนโลกใบนี้ไม่มีใครไม่มีข้อบกพร่อง  ส่วนมากแล้วความสมบูรณ์แบบเกินไปก็เป็นข้อบกพร่องในตัวเอง


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 44 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งพลัง


[การมีจักรวาลทัศน์ โลกทัศน์ และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเรา]


ชีวิตคนเรามี 3 ปัญหาใหญ่ที่จำเป็นต้องจัดการให้ชัดเจน


1.3 การได้กับการสูญเสีย สิ่งใดเป็นภัยมากกว่า


“สูญเสียชีวิตกับลาภยศอะไรให้โทษ”


คำว่า “ลาภยศ” ในที่นี้ หมายถึง การได้ “สูญเสียชีวิต” หมายถึง การหนีจาก การหนีออกจากบ้าน และการสูญเสีย ส่วนคำว่า “ให้โทษ” หมายถึง จุดอ่อนข้อบกพร่อง และการสูญเสีย


ประโยคที่ว่า “สูญเสียชีวิตกับลาภยศอะไรให้โทษ” หมายถึง ระหว่างการได้ลาภยศกับการสูญเสียชีวิต สิ่งใดจะก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่ดีหรือให้โทษมากกว่า เมื่อแรกมองคำถามนี้ อาจมีคนสงสัยว่า “การสูญเสีย” ย่อมมิใช่เรื่องดีอยู่แล้ว แต่เหตุใด “การได้” จึงเป็นอันตรายด้วยเล่า


ยกตัวอย่าง การทำเงินหายจำนวนหนึ่งคนเราจะเป็นทุกข์ หากสูญเสียงานไปหนึ่งงานคนเราจะเสียดาย เมื่อสูญเสียเกียรติยศและชื่อเสียงจะประสบอุปสรรค ดังนั้น จิตใต้สำนึกของเราจึงคาดหวังการได้ และไม่อยากสูญเสีย แต่การได้มีแต่ประโยชน์และไร้โทษจริงหรือ อย่าลืมว่า พลังงานของโลกใบนี้คือการรักษาปริมาณคงที่ ขณะที่ได้ย่อมต้องมีความหมายแสดงถึงการสูญเสียแน่นอน ในทางกลับกันก็เช่นเดียวกัน ขณะที่สูญเสีย การได้จะตามเข้ามาแทนที่ นี่คือกฎนิรันดร์ มิเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือจักรวาล หากมีแต่ได้ไม่หยุด สุดท้ายต้องระเบิดออกแน่นอน


ไม่ว่ากระทำการใด ล้วนต้องการ “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” คำว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” หมายถึง ทุกครั้งที่เราเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะต้องจ่ายค่าทดแทน ซึ่งค่าทดแทนนี้คือมูลค่าของอีกสิ่งที่เราไม่ได้เลือก ขอยกตัวอย่าง เราสามารถเลือกการศึกษา หรือเลือกความบันเทิงก็ได้ เช่นนั้น ต้นทุนค่าเสียโอกาสของการศึกษาคือมูลค่าที่ความบันเทิงนำพามาให้ ในทางกลับกัน ต้นทุนค่าเสียโอกาสของความบันเทิงก็เป็นมูลค่าที่การศึกษานำพามาให้ ระยะนี้มีคำพูดประโยคหนึ่งกำลังเป็นที่นิยมคือ “บรรดาเด็กที่ ‘ไม่เอาถ่าน’ ทั้งหลาย ล้วนกำลังตอบแทนบุญคุณของบิดามารดา” สิ่งที่เรียกว่าเด็ก “ไม่เอาถ่าน” เหล่านี้ ไม่มีความรู้ดีถึงขั้นไปเรียนต่อหรือทำงานยังต่างประเทศ ซึ่งในสายตาของพ่อแม่อาจเป็น “ความไม่เพียงพอ” แต่พวกเขากลับสามารถอยู่เป็นเพื่อนคอยดูแล และกตัญญูต่อพ่อแม่ได้ กล่าวสำหรับพ่อแม่แล้ว สิ่งเหล่านี้มิใช่การได้หรอกหรือ


การเลือกสรรระหว่างการได้กับการสูญเสียเหล่านี้ คนนอกไม่อาจแสดงความคิดเห็นว่าถูกผิดได้ สิ่งสำคัญต้องดูว่าเราอยู่ในขั้นตอนใด และให้คุณค่ากับสิ่งใดมากกว่ากัน หรือเมื่อมองในระยะยาวแล้ว เราเข้าใจว่าเลือกสิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับชีวิตตนมากกว่า ดังนั้น ระหว่างการได้กับการสูญเสีย ที่จริงแล้วคือการทดสอบการให้คุณค่าของคน ดังนั้น การมีจักรวาลทัศน์ โลกทัศน์ และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเรา เพราะหากบรรทัดฐานผิดแล้ว ผลการประเมินย่อมผิดอย่างแน่นอน


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 9 กันยายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1314)

* * *


** 大成若缺是对宇宙秩序的一种表述,因为有缺陷的万物才能共同构成和谐的宇宙整体。正是因为万物各自都有残缺,宇宙才生生不息。许多东西往往是“因为缺口,所以完美”。这个世界上,没有缺点的人是不存在的,往往过分完美本身就是一个缺陷。

早安!* * *


09拥有正确的三观、对人生至关重要

《道德经第44章分享暨能量月祝福》连载09

人生有三大问题,必须厘清。


再次,得到和失去,谁更有害?


“得与亡孰病”


这里的“得”是指得到;“亡”就是“亡羊补牢”的“亡”,指逃离、出走、失去;“病”就是弊病、损害的意思。


“得与亡孰病”这句话就是指:得到和失去这两者,哪个会产生不良影响?哪个更有害?这个问题乍一看,可能会让人有些疑惑:“失去”肯定是不好的,但为什么“得到”也会是一种危害呢?


比如,丢掉了一笔钱,人会痛苦;失去了一个工作,人会惋惜;丧失了一个荣誉,人会受挫。所以,我们下意识都希望得到,而不希望失去。但得到真是有百利而无一害吗?要知道,这个世界的能量是守恒的,得到的同时也必然意味着要失去;反过来也一样,失去的同时,得到也将随之补位——这是永恒的规律。否则,人也好、宇宙也罢,最终一定会因为不停的得到而被撑爆的。


做任何事,都需要“机会成本”——所谓“机会成本”就是你选择的每样东西都需要付出代价,而这个代价就是被你放弃的另一样东西的价值。举个例子:你可以选择学习,也可以选择娱乐。那么,你学习的机会成本就是娱乐所带来的价值;反之,娱乐的机会成本也是学习所带来的价值。最近流行一句话:“所有‘不成器’的孩子,都是来报父母恩的。”这些所谓“不成器”的孩子没有优秀到能出国深造和工作,这在很多父母眼里也许是一种“不足”;但他们却能留在父母身边陪伴尽孝,这对父母而言,又何尝不是一种得到呢?


这些选择与得失,外人无法评说对错,关键要看你处于什么阶段?把哪些价值看得更重?或者,从长远来看,你认为哪个选择对自己的生命更有益?因此,得失之间,考验的其实是人的价值取向。所以,拥有一个正确的宇宙观、世界观和生命观,对我们而言,就至关重要了——因为,如果准绳错了,那衡量的结果必然出错!


赵妙果,2021年09月9日,第1314天

3 views0 comments
bottom of page